การแปรรูปสัตว์น้ำ
กรมประมงเดินหน้าขับเคลื่อน “โครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง” ตามนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมการแปรรูปสัตว์น้ำ ชู “วิสาหกิจชุมชนปลาสลิดเกษตรพัฒนา จ.สมุทรสาคร” เป็นต้นแบบการต่อยอดอาชีพ ยกระดับรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืน นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้มีการดำเนิน “โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านประมง” อย่างต่อเนื่อง มุ่งสนับสนุนเกษตรกรและชาวประมงในการพัฒนาอาชีพ ควบคู่กับการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นทั่วประเทศ ใน 5 ด้านการทำประมง ประกอบด้วย ด้านประมงทะเลชายฝั่ง ด้านประมงทะเลนอกชายฝั่ง ด้านประมงน้ำจืด ด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และด้านการแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำในพื้นที่ สอดรับกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการยกระดับสินค้าเกษตรท้องถิ่นเป็นสินค้ามูลค่าสูง ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนส่งเสริมการขอรับรองมาตรฐานสำคัญต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของสมาชิกองค์กรชุมช
ปัจจุบันกระแสนิยมบริโภคอาหารญี่ปุ่นมีปริมาณมากขึ้น โดยไข่ปลาแซลมอน หรืออิคุระ (ikura) ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดกลมขนาดเล็ก ด้านในเป็นน้ำเมื่อกัดจะแตกออก สามารถทานดิบซาชิมิ (sashimi) ส่วนใหญ่นำมาทำเป็นหน้าซูชิ (sushi) แบบกุงกังซูชิ หรือโรยหน้าดงบุริต่างๆ แต่ไข่ปลาแซลมอนมีราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันมีการทำไข่ปลาแซลมอนสังเคราะห์ขึ้นโดยใช้โซเดียมแอลจิเนตเป็นตัวที่ทำให้เกิดเจลหุ้มด้านนอก ส่วนด้านในของไข่จะใช้แคลเซียมคลอไรด์ สีผสมอาหาร ปรุงรสชาติ และมีการใช้น้ำมันสลัดเพื่อให้น้ำมันลอยตัวเห็นว่าเป็นไข่แดงแต่ยังขาดคุณค่าทางโภชนาการเมื่อเทียบกับไข่ปลาแซลมอนจริงทางการค้า ดังนั้น ทีมนักวิจัยวิทยาลัยประมงสมุทรสาคร จึงมีแนวคิดศึกษาปริมาณเมทอกซิลของเพคตินจากกระเจี๊ยบเขียวที่มีผลต่อคุณภาพของแอลจิเนตแคปซูลในการผลิตไข่ปลาแซลมอนเทียม เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์จากกระเจี๊ยบเขียวในรูปของสารสกัดเพคตินที่นำมาใช้เป็นสารก่อให้เกิดเจล และประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารแนวใหม่ให้มีคุณค่าทางโภชนาการและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ส่วนผสมการผลิตไข่ปลาแซลมอนเทียม ซุปปลาแซลมอน, เพคติน, โซเดียมแอลจิเนต,
กรมประมง…เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนภาคการประมงของไทยเพื่อทำให้เกิดความมั่นคงของอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ ภายใต้ความยั่งยืนของทรัพยากรประมง ผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอาชีพและฟื้นฟูทรัพยากรประมง รวมถึงการเพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำ โดยมีนโยบายในการจัดตั้ง “ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำ กรมประมง” สำหรับฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ด้านการแปรรูปสัตว์น้ำให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างองค์ความรู้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าประมงและพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันสำหรับพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชาวประมง ตลอดจนผู้ประกอบการต่อเนื่องในอุตสาหกรรมประมง นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่ขนาด 440 ตารางเมตร พร้อมไปด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์การแปรรูปที่ทันสมัย เหมาะสำหรับชาวประมง เกษตรกรรายย่อย วิสาหกิจชุมชนขนาดย่อมและขนาดกลาง และมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอ