การให้ปุ๋ย
ในยุคที่ภาคการเกษตรกำลังปรับตัวเข้าสู่ “เกษตรแม่นยำ” (Precision Agriculture) เทคโนโลยีการให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ (Fertigation) กลายเป็นหนึ่งในแนวทางที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพผลผลิตได้อย่างชัดเจน การให้ปุ๋ยในระบบน้ำ (Fertigation) คือ วิธีการให้ปุ๋ยอีกวิธีหนึ่ง เป็นการให้ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำในระบบเดียวกัน โดยผสมปุ๋ยที่ละลายน้ำได้หมดลงไปในระบบน้ำ ตั้งแต่การให้น้ำในระบบน้ำหยด (Drip Irrigation) หรือ ระบบมินิสปริงเกลอร์ (Mini Sprinkler) เมื่อพืชได้รับน้ำก็จะเป็นตัวนำพาธาตุอาหารไปยังรากพืชโดยตรง จึงทำให้ต้นพืชได้รับทั้งน้ำและธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังสามารถใส่สารเคมีป้องกันศัตรูพืชลงไปในระบบนี้ได้ด้วยเช่นกัน การใหัปุ๋ยในระบบน้ำ (Fertigation) ดียังไง? คำตอบคือระบบนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการให้น้ำและการให้ปุ๋ยในคราวเดียวกัน ผ่านระบบน้ำหยดหรือมินิสปริงเกลอร์ ช่วยให้พืชได้รับน้ำและธาตุอาหารในปริมาณที่แม่นยำ สม่ำเสมอ และสอดคล้องกับช่วงการเจริญเติบโต ซึ่งไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภา
การให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ หรือที่เรียกว่า “การให้ปุ๋ยแบบน้ำ” เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการจัดการธาตุอาหารให้กับพืช โดยเฉพาะในระบบเกษตรที่ใช้การรดน้ำด้วยระบบน้ำหยดหรือระบบน้ำแบบฝอย ซึ่งมีข้อดีหลายอย่าง การให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ เป็นวิธีการให้ปุ๋ยวิธีหนึ่ง โดยจะผสมปุ๋ยที่สามารถละลายน้ำได้หมดลงไปในระบบน้ำ เมื่อพืชดูดน้ำก็จะดูดธาตุอาหารไปพร้อมกัน ช่วยลดแรงงานในการให้ปุ๋ย ลดการชะล้างปุ๋ยออกไปจากเขตรากพืช ช่วยให้การแพร่กระจายปุ๋ยสม่ำเสมอบริเวณรากพืช การเลือกใช้ระบบน้ำ 1. พืชที่เหมาะสมกับระบบให้น้ำ ระบบน้ำหยด : พืชที่ปลูกระหว่างต้นชิดกัน และปลูกเป็นแนวยาว จะเป็นพืชที่มีระบบรากลึกไม่แผ่กว้าง การให้น้ำแบบประหยัด : เหมาะกับไม้ผล เช่น ลำไย มะม่วง เงาะ ทุเรียน มะนาว ส้ม รวมทั้งพืชผักและพืชไร่ที่มีระยะแถวต่อต้นที่ห่างกัน 2. ดินและระบบให้น้ำ ระบบน้ำหยด : เหมาะสำหรับดินที่มีปัญหา เช่น ดินเหนียวจะระบายน้ำได้ช้า อัตราซึมน้ำต่ำ หรือดินทรายที่มีอัตราซึมน้ำสูง ดินเค็มต้องให้ดินชื้นตลอดเวลาทำให้เกลือถูกผลักออก การให้น้ำแบบประหยัด : เลือกหัวจ่ายน้ำที่เหมาะสมกับชนิดดินให้น้ำที่ไม่มากกว่าอัตราการซึมน้ำของดิน 3. ระบบใ