ก้อนเชื้อเห็ด
ปัจจุบันการเพาะเห็ดเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง เพราะได้ผลผลิตเร็วและมีตลาดรองรับ การเพาะเห็ดจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงนัก แต่สร้างรายได้ให้เป็นที่น่าพอใจสามารถทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรองได้ การซื้อเชื้อเห็ดคุณภาพดี ไม่มีจุลินทรีย์อื่นปนเปื้อน ให้ผลผลิตสูง และได้กำไรดีนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เพาะเห็ดที่ต้องจำเองว่าบริษัทหรือห้างร้านใดที่ผลิตเห็ดคุณภาพดี แต่บางครั้งเชื้อเห็ดจากร้านเดียวกันคุณภาพกลับไม่สม่ำเสมอก็มีปัญหาเช่นนี้ทำให้ผู้เพาะดอกเห็ดขายหันมาสนใจที่จะผลิตเชื้อเห็ดเอง แม้จะลงทุนสูงกว่าการซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเปิดดอก หากแต่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการยึดการเพาะเห็ดเป็นอาชีพ ซึ่งต้องทำการสำรวจตลาดและค้นคว้าข้อมูลในการผลิตมาให้ดีเสียก่อน เห็ดมีหลายชนิด อาทิ เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เป็นต้น วัตถุดิบจะมีอะไรกันบ้าง เรามาดูกันเลย 1. วัสดุเพาะ โดยทั่วไปจะใช้เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ขี้เลื้อยไม้ยางพารา ขี้เลื้อยไม้อ่อน 2. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6.75×12.5 นิ้ว หรือ ขนาด 8×12 นิ้ว 3. คอขวดพลาสติกเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 นิ้ว 4. ส
ในสภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจช่วงนี้ ผู้ประกอบการ โรงงานที่ปรับลดพนักงาน หรือปิดตัวลงถาวร หลายคนคงคิดแล้วว่า “ไม่มั่นคง” กับการดำเนินชีวิตแน่นอน คงต้องหาอาชีพเสริมทำควบคู่กับอาชีพหลักเป็นแน่แท้ เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ “สุขใดเล่า จะเท่าบ้านเรา”… คำนี้คงจะโผล่ขึ้นในหัวทันที ยิ่งคนที่ออกไปทำงานต่างจังหวัดด้วยแล้ว ยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่าจะคิดถึงท้องถิ่น ที่เราเคยอยู่มามากขนาดไหน อย่าง คุณณัฐรียา จันทะเสน อาศัยอยู่หมู่ที่ 5 บ้านงามวงศ์วาน ตำบลท่าสวรรค์ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ที่เธอหันมาเพาะเห็ดหูหนูขายเป็นอาชีพเสริม ควบคู่กับการทำสวนยางพารา ไร่อ้อย ฯลฯ ซึ่งก่อนหน้านี้สามีเธอได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ ก่อนจะกลับมาช่วยกันดูแลโรงเห็ดด้วยกัน และยังชวนคนในชุมชนมาร่วมกันด้วย โดยยึดคำว่า “หากเราทำได้ ชุมชนต้องเดินไปกับเราได้” คุณณัฐรียา เล่าว่า การเพาะเห็ดหูหนู เราทำกันเป็นครอบครัว ทุกคนช่วยกัน และดึงคนในชุมชนมาร่วมทำกับเราด้วย ลองผิดลองถูกมาเยอะ แต่ไม่ล้มเลิกความตั้งใจ จนปัจจุบันถือได้ว่ารู้หัวใจสำคัญของการเพาะเห็ดชนิดนี้มากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อากาศ อุณหภูมิ โรคต่างๆ ที่เกิดกับเห็ด
“เห็ด” เป็นผลผลิตทางการเกษตรอีกชนิดที่นิยมนำมาแปรรูปได้หลายรูปแบบ ทางการแพทย์ระบุสรรพคุณสาระสำคัญทางโภชนาการของเห็ดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้มากมาย ด้วยเหตุนี้ผู้เพาะเลี้ยงเห็ดจึงตั้งใจผลิตเห็ดให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพราะไม่เพียงได้ขายดอกเห็ดอร่อย มีคุณภาพ แต่ยังนำมาแปรรูปเป็นอาหารที่ปลอดภัยด้วย คุณวีระชาติ ยืนบุรี เจ้าของฟาร์ม “ยืนบุรีฟาร์มเห็ด” ตั้งอยู่เลขที่ 190/3 หมู่ที่ 5 ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นอีกแห่งที่ผลิตเห็ดคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ด้วยกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยจนได้รับมาตรฐาน “ORGANIC THAILAND” ล่าสุดฟาร์มแห่งนี้ยังนำผลผลิตเห็ดมาแปรรูปเป็นข้าวเกรียบกับน้ำพริกส่งขายผ่านตลาดออนไลน์เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มสุขภาพ แต่เดิมคุณวีระชาติเพาะขายเห็ดอย่างเดียว มีหลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้า นางรม เป๋าฮื้อ เห็ดแครง และหลินจือ เป็นต้น ภายหลังทำการตลาดมาช่วงเวลาหนึ่งพบว่า นางฟ้า ฮังการี และหลินจือเป็นที่นิยมทั้งในรูปเห็ดสดและแปรรูปมากกว่า ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา คุณวีระชาติจำต้องปรับแผนการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงจึงเลือกผลิตเห็ดนางฟ้ากับห
ก้าวเข้าเกษตรยุค 4.0 แล้ว เกษตรกรรุ่นเก่าที่ยังคงใช้ภูมิปัญญาในการบริหารจัดการแปลงเกษตรก็ยังคงมีอยู่ แม้จะค่อยๆ จางลงไป แต่ก็มีเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เรียกกันว่า ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ ก้าวเข้ามาทดแทน สามารถบริหารจัดการด้วยการนำภูมิปัญญาผนวกกับนวัตกรรมใหม่ๆ ในภาคเกษตร สานต่อทำให้แปลงเกษตรได้รับการต่อยอดและมีการพัฒนาไม่ใช่น้อย ที่ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก มีเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่รวมตัวกันก่อตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดบ้านท่าช้างขึ้น จดทะเบียนเมื่อปี 2549 เริ่มจากเกษตรกรจำนวน 14 คน ปัจจุบันเพิ่มจำนวนเป็น 73 คน ในจำนวนนี้ แท้ที่จริงเริ่มต้นจาก คุณวิวัฒน์ ฟักทอง เกษตรกรหนุ่มที่ทำงานประจำ แต่สนใจการทำการเกษตร โดยเฉพาะการเพาะเห็ด เขาใช้เวลาว่างในการศึกษาการเพาะเห็ด ถึงกับสมัครไปเรียนรู้กับกลุ่มเพาะเห็ดหลายแห่งมาก่อนหน้า ในที่สุดจึงตัดสินใจควักเงินเก็บทำโรงเรือนเพาะเห็ดขึ้น 1 โรง ขนาด 4×4 เมตร ซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเพาะ หมดเงินก้อนแรกไปกว่า 50,000 บาท แล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ คุณวิวัฒน์ บอกว่า ก้อนเชื้อเห็ดที่ซื้อมาทั้งหมด ไม่เปิดดอกเห็ดให้ เพราะเชื้อไม่เดิน เมื่อรู้สาเ
ก้าวเข้าเกษตรยุค 4.0 แล้ว เกษตรกรรุ่นเก่าที่ยังคงใช้ภูมิปัญญาในการบริหารจัดการแปลงเกษตรก็ยังคงมีอยู่ แม้จะค่อยๆ จางลงไป แต่ก็มีเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เรียกกันว่า ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ก้าวเข้ามาทดแทน สามารถบริหารจัดการด้วยการนำภูมิปัญญาผนวกกับนวัตกรรมใหม่ๆ ในภาคเกษตร สานต่อ ทำให้แปลงเกษตรได้รับการต่อยอดและมีการพัฒนาไม่ใช่น้อย ที่ ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก มีเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่รวมตัวกันก่อตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเพาะเห็ดบ้านท่าช้างขึ้น จดทะเบียนเมื่อปี 2549 เริ่มจากเกษตรกร จำนวน 14 คน ปัจจุบัน เพิ่มจำนวนเป็น 73 คน ในจำนวนนี้ แท้ที่จริงเริ่มต้นจาก คุณวิวัฒน์ ฟักทอง เกษตรกรหนุ่มที่ทำงานประจำ แต่สนใจการทำการเกษตร โดยเฉพาะการเพาะเห็ด เขาใช้เวลาว่างในการศึกษาการเพาะเห็ด ถึงกับสมัครไปเรียนรู้กับกลุ่มเพาะเห็ดหลายแห่งมาก่อนหน้า ในที่สุดจึงตัดสินใจควักเงินเก็บทำโรงเรือนเพาะเห็ดขึ้น 1 โรง ขนาด 4×4 เมตร ซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเพาะ หมดเงินก้อนแรกไปกว่า 50,000 บาท แล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ คุณวิวัฒน์ บอกว่า ก้อนเชื้อเห็ดที่ซื้อมาทั้งหมด ไม่เปิดดอกเห็ดให้ เพราะเชื้อไม่เดิน เมื่อรู้
ใครชอบทานเห็ดเชิญทางนี้… “ไชโยฟาร์มเห็ด” สถานที่ผลิตเห็ดหลายชนิด แต่ที่แนะนำเป็นอย่างมากคือ เห็ดแครง ซึ่งหาทานได้ไม่ง่าย นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายในภาคใต้ของประเทศไทย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ นำมาปรุงอาหารได้หลายเมนู แต่เพื่อให้สะดวกและง่ายต่อการบริโภค พกพาไปได้ทุกแห่ง ทางฟาร์มเห็ดไชโยจึงแปรรูปเห็ดแครงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามรสนิยม ความพิถีพิถันใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิตเพื่อให้ผู้บริโภคได้ทานเห็ดที่มีคุณภาพ ปลอดภัย จนนำมาสู่การสร้างมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสถาบันหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ แล้วยังสร้างเครือข่ายดึงชาวบ้านเข้าร่วมเป็นกลุ่มผลิตเห็ดคุณภาพ พร้อมเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้อบรมวิธีเพาะ-เลี้ยง แปรรูปเห็ดให้ผู้สนใจเข้าร่วมสร้างอาชีพ คุณปาริชาติ เทพเจริญ เจ้าของ “ไชโยฟาร์มเห็ด” ตั้งอยู่เลขที่ 46/22 ถนนจุลจอมเกล้า ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นผู้บุกเบิกและต่อสู้การเพาะ-เลี้ยงเห็ดแครงเป็นอาชีพในจังหวัดนี้จนประสบความสำเร็จ เดิมคุณปาริชาติ เป็นเกษตรกรทำฟาร์มเห็ดและส่งเห็ดสดขายไปยังสถานที่ต่างๆ แต่ต้องประสบปัญหาความไม่แน่นอนของราคาและตลาดรับซื้อ ทั้งยังต้องเผชิญกับปัญหา
การเลือกเห็ดมาปรุงอาหารแม้จะใช้ความละเอียดถี่ถ้วนและเลือกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ แต่บางแห่งก็มิได้หมายความว่าจะปลอดภัยอย่างแท้จริง ในยุคผู้บริโภค 4 G โดยเฉพาะคนเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร จึงเปลี่ยนพฤติกรรมจากการซื้อดอกเห็ดแล้วหันมาเพาะเลี้ยงดอกไว้เพื่อบริโภคเองเพราะมองว่าปลอดภัยกว่า อีกทั้งวิธีการเพาะ-เลี้ยงก็ง่าย สะดวก เปิดดูได้จากสมาร์ทโฟน แล้วยังเป็นงานอดิเรกไปในตัว หรือบางรายประสบความสำเร็จดีมากเลยถือโอกาสเลี้ยงสร้างรายได้เพิ่มอีกทาง ปกติแหล่งผลิตก้อนเห็ดจะอยู่ตามจังหวัดต่างๆ จึงอาจเป็นปัญหา/อุปสรรคหากต้องออกตระเวนซื้อ แต่แทบไม่น่าเชื่อว่าในเมืองหลวงใหญ่แห่งนี้จะมีแหล่งผลิตก้อนเห็ดจำนวนนับหมื่นก้อนต่อเดือน สามารถรองรับความต้องการคนกรุงที่รักสุขภาพได้อย่างเต็มที่ บนเนื้อที่กว่า 80 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านเลขที่ 100/163 หมู่บ้านอมรพันธ์ 9 ซอยเสนานิคม 42 แยก 14 แขวง/เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ และเป็นสถานที่ตั้งของฟาร์มเห็ดขนาดมินิ ที่ชื่อ “ฟาร์มเห็ดกลางกรุง ครูจัน” แม้จะดูไม่ใหญ่แต่ฟาร์มเห็ดแห่งนี้สามารถผลิตก้อนเห็ดได้เดือนกว่าหลายหมื่นก้อน มีลูกค้าทั้งในเขตกรุงเทพฯ/ปริมณฑล จำนวนมากมา
เกษตรฯออกมาตรฐานบังคับคุมการผลิตเชื้อเห็ดเพื่อการค้า ปลุกผู้ประกอบการเร่งปรับตัวระยะเปลี่ยนผ่าน เริ่มบังคับใช้ต้นปี 61 ชี้สถานการณ์ผลิต-ตลาดเห็ดขยายตัวเติบโตต่อเนื่อง สร้างมูลค่าปีละกว่า 1,000 ล้านบาท นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า เห็ดเป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่งที่ไทยมีศักยภาพการผลิตสูง ปัจจุบันคนไทยนิยมบริโภคเห็ดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ กลุ่มผู้รักสุขภาพ และกลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติ ส่งผลให้ตลาดและธุรกิจเห็ดขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งเห็ดเมืองหนาวและเห็ดเมืองร้อน ส่วนใหญ่เป็นเห็ดฟางและเห็ดเพาะในถุงพลาสติก อาทิ เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดหูหนู เป็นต้น ซึ่งปี 2558 ไทยมีปริมาณผลผลิตเห็ดสูงถึง 15,000 ตัน มีมูลค่ารวมกว่า 1,156 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีการผลิตเชื้อเห็ดปีละ ประมาณ 20 ล้านขวด คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 200 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตเห็ดให้กับกลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเห็ดกว่า 2,000 แห่ง เกษตรกรกว่า 14,000 ราย พร้อมควบ