ก้อนเห็ด
“ขี้เลื่อยไม้ยางพารา” เป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้เพาะเห็ด ทั้งนี้ การเลือกใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่า ไม่ใช่ขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่มาจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ เพราะขี้เลื่อยประเภทนี้ผ่านการอบฆ่าเชื้อ นำมาใช้ในการเพาะเห็ดไม่ได้ หากนำขี้เลื่อยประเภทนี้มาทำก้อนเชื้อเห็ดหยอดเชื้อลงไปแล้วเชื้อไม่เดิน เพราะไม้ยางพาราจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จะผ่านการอบยาฆ่าเชื้อรามาแล้ว หากนำมาใช้เพาะเห็ด เชื้อเห็ดก็จะไม่เดินอย่างแน่นอน เพราะเชื้อเห็ดก็เป็นเชื้อราประเภทหนึ่งนั่นเอง บางคนอยากเพาะเห็ดถุงเป็นอาชีพรอง หรือบริโภคภายในครัวเรือน แต่ “ขี้เลื่อย” ก็ไม่ได้หากันง่ายๆ แล้วจะมีวัสดุอะไรทดแทนได้บ้าง เห็ดที่เพาะในถุงได้ดี มีหลายสายพันธุ์ ตัวอย่าง เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง และเห็ดยานางิ เป็นตัวอย่าง ทั้งนี้ วัสดุเพาะที่นำมาทดแทนขี้เลื่อยได้ คือ ฟางสับ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ได้ทำการวิจัยไว้ มีอยู่หลายสูตร ในที่นี้ขอนำมาเป็นตัวอย่างเพียง 2 สูตร เท่านั้น สูตรที่ 1 ชนิดวัสดุ นํ้าหนัก (กิโลกรัม) ฟางสับ ยาว 4-6 นิ้ว 100 ขี้ว
คุณแสง หรือ คุณแสงประทีป ผิวสำลี เคยทำงานเป็นพนักงานประจำ มีความตั้งใจเกษียณตัวเองก่อนกำหนดเพื่อเข้าสู่วงการเกษตรกรรมตามที่ชื่นชอบ เพราะมองว่าร่างกายยังพร้อมลงแรง จึงปรับพื้นที่ทำนากว่า 5 ไร่ ให้กลายเป็นสวนผสมเดินหน้าทำกิจกรรมเกษตรหลายชนิดเคียงคู่คุณหนึ่ง สามี ในชื่อ “สวนแสงประทีป” ตั้งอยู่เลขที่ 5/4 หมู่ที่ 7 ตำบลแสนตอ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เน้นปลูกพืชผัก ผลไม้แนวอินทรีย์เป็นหลัก เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจในพื้นที่ แล้วยังเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าเยี่ยมชมพร้อมเลือกซื้อผลผลิตต่างๆ ได้อย่างสบาย ก่อนหน้านี้คุณหนึ่งทำเกษตรกรรมหลายอย่างและการเข้ามาดูแลสวนผสมครั้งนี้ จึงเป็นการนำประสบการณ์มาขยายผลอย่างเป็นระบบ แล้วพืชตัวแรกที่ปลูกคือ อินทผลัม ซึ่งมีต้นตัวเมีย จำนวน 100 ต้น เป็นพันธุ์บาฮีเนื้อเยื่อ กับต้นตัวผู้ จำนวน 130 ต้น มาจากการนำเมล็ดอินทผลัมที่จำหน่ายทั่วไปมาเพาะต้น แต่จาก จำนวน 130 ต้น กลับมีต้นตัวผู้เพียง 100 ต้น และตัวเมีย 30 ต้น ก็ดีใจที่ได้ตัวเมียเพิ่ม แต่ผลปรากฏว่าพอมีลูกแล้วขาดคุณภาพ รับประทานไม่ได้ “จากเดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นผืนนา แล้วปรับมาปลูกด้วยการถมดินขุดหลุมปลูกอินท