ขมิ้น
นานแล้วที่คนพื้นบ้านตำนานไทยว่าไว้ ถึงภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับ “ขมิ้นชัน หรือขมิ้นเหลือง” กันอย่างมาก เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณทางยา เรียกว่า เป็นตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน และเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารประจำครัว นานจนดูเหมือนว่าจะเป็นพืชไทยมาแต่โบราณกาลเก่าก่อน แท้จริงเลย เรารู้จักขมิ้นกันมาตั้งแต่สมัยไหนสมัยใดแล้ว ถ้ามีใครสืบค้นต้นตอ และบันทึกไว้ อาจจะเจอเป็นหลักฐานโบราณเลยก็เป็นได้ จนถึงวันนี้สารพัดประโยชน์จากขมิ้น มีมากมายหลายด้าน หลากหลายสรรพคุณ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสมุนไพร ขมิ้นชัน มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว ขมิ้นเหลือง ขมิ้นดี เข้าหมิ้น ภาคใต้เรียก ขี้มิ้น ละมิ้น เป็นพืชในวงศ์เดียวกับ ขิง ข่า คือ ZINGIBERACEAE มีชื่อสามัญ Turmerie ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma domestica (C.longa) ขมิ้นมี 2 อย่าง คือ ขมิ้นชัน กับ ขมิ้นอ้อย มีสรรพคุณเหมือนกัน แต่ขมิ้นอ้อยจะนำมาเป็นยารักษาโรค ขมิ้นชันจะนำมาเป็นยาสมุนไพร และเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารหลายอย่าง ใช้ได้ทั้งหัวแง่ง และใบแก่ ใบอ่อน ทางภาคใต้ แกงเหลือง หรือแกงส้ม ทางเหนือ แกงฮังเล เครื่องหมักไก่ปิ้งสีสวย กลิ่นหอมมาก ใส่ห่อหมกปลา ใบรองหม้อนึ่
ขมิ้นชัน (Turmeric) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa L.จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าสีเหลืองเข้มถึงแสดจัดอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด มีองค์ประกอบหลักสำคัญที่นำมาใช้ประโยชน์ 2 ชนิด คือ น้ำมันหอมระเหย (termeric oil) และสารที่ให้สีเหลือง คือ curcuminoid ในภาคใต้นิยมนำขมิ้นชันมาเป็นส่วนประกอบหลักในเครื่องแกง เช่น แกงเหลือง ช่วยเพิ่มสีสันให้น่ารับประทาน และให้กลิ่นเครื่องเทศที่เป็นเอกลักษณ์ ในด้านเภสัชกรรมถูกจัดอยู่ในตำรายาสมุนไพรของแพทย์แผนไทย มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในลูกประคบ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการจากโรคผิวหนัง คุณเกรียงศักดิ์ นุ้ยสี และ คุณชัสมา นุ้ยสี สองสามีภรรยา Smart farmer และ Young Smart farmer ตำบลนาเมืองเพชร อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 128/2 หมู่ที่ 2 ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เดิมเป็นพนักงานโรงงานปาล์มน้ำมันในพื้นที่ใช้เวลาว่างทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตยางพาราแผ่น ก่อนตัดสินใจออกจากงานประจำ มาทำลานรับซื้อปาล์มน้ำมัน ไม้ยางพารา และมามุ่งทำการเ
“ขมิ้นชัน” เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันดีในทุกภาค มีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยนิยมนำมาปรุงช่วยเพิ่มสีสันแต่งกลิ่นและรสชาติของอาหาร มีตำรับอาหารและตำรับยามากมายเป็นทั้งยาภายนอกและยาภายใน สำหรับยาภายในใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น ส่วนยาภายนอก เชื่อว่าขมิ้นชันช่วยรักษาและสมานแผล ทำให้แผลไม่เป็นหนอง และขมิ้นชันยังเป็นสมุนไพรเครื่องสำอางได้ดีอีกด้วย “ขมิ้นชัน” เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้กันมายาวนานของคนไทย กล่าวได้ว่าคนในตระกูลไตที่กระจายกันอยู่แถบเอเซีย ทั้งในรัฐอัสสัม พม่า ไทย จีน ลาว ต่างรู้จักในชื่อเดียวกันทั้งสิ้น “ขมิ้นชัน” ไม่ใช่ยารักษาโรคแต่ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรเครื่องเทศ ที่ใส่ในอาหารในชีวิตประจำวัน โดยนำมาปรุงแต่งและใช้ประกอบอาหารซึ่งพบมากทางภาคใต้ จะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้มักมีสีออกเหลืองแทบทุกอย่าง สำหรับคนใต้ขมิ้นชันเป็นเครื่องเทศที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะนอกจากช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีแล้ว ยังเป็นสมุนไพรปรุงรส และช่วยสมานแผลได้อีกด้วย คนใต้ส่วนใหญ่จะใช้เหง้าใต้ดินของขมิ้น (หัวขมิ้น) มาผสมในเครื่องแกงต่างๆ ร
นวัตกรรมสุดเจ๋ง จาก นศ. มทร. ศรีวิชัย ส่งมอบกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากสมุนไพรกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพที่มีความปลอดภัยและมาจากธรรมชาติ ทำให้ขณะนี้มีชุมชนหรือผู้ประกอบการจำนวนมากหันมาแปรรูปผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากขมิ้น ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รวมกลุ่มเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอางจากขมิ้นผง พบปัญหาในขั้นตอนการล้างขมิ้นที่มีจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้เวลาในการล้างมาก ส่งผลให้การผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จากปัญหาดังกล่าว คุณอมเรศร์ ชูพงศ์ คุณวิชา บรรดาศักดิ์ และ คุณนันทวัฒน์ แป้นเหลือ นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดยมี อาจารย์ศุภเวทย์ สงคง และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์พันธ์ ราชภักดี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา มีแนวคิดในการพัฒนาเครื่องล้างขัดผิวขมิ้นสำหรับการผลิตระดับชุมชน ล้างขมิ้นได้ครั้งละ 10 กิโลกรัม สามารถล้างขมิ้นได้เฉลี่ย 300 กิโลกรัมต่อชั
หลายคนไม่อยากแก่ ไม่อยากเข้าใกล้วัยชรา ต่างสรรหาวิธีการต่างๆ มากมาย ซึ่งหลายอย่างไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่หลายอย่างก็เสี่ยงอันตราย ช่วงที่ผ่านมาหลายคนจึงหันมาพึ่งพาสมุนไพร โดยเฉพาะอาหารที่มาจากธรรมชาติกันมาก เพราะหวังว่าจะช่วยให้ชีวิตยืนยาว ปลอดโรค แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องบริโภคปริมาณ หรือขนาดเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง เรื่องนี้ ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี อธิบายว่า จริงๆ เราสามารถบริโภคอาหารเพื่อดูแลสุขภาพได้ โดยหลักการแพทย์แผนไทย อย่างโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะเน้น 4 กลไก ในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และช่วยเพิ่มฮอร์โมน เนื่องจากการวิจัยในปัจจุบันพบว่า การที่ร่างกายของคนเราชราลงเกิดจาก 4 กลไกนี้ เราจึงพยายามหาสมุนไพรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ 4 กลไกนี้ ว่าจะเลือกกินเลือกใช้อย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์กับสุขภาพ 1.สมุนไพรต้านอนุมูลอิสระ ก็จะมี หนึ่ง-ขมิ้นชัน ที่รู้จักกันดี ซึ่งสามารถนำมาใช้ทั้งกินทั้งทาได้หมด เพราะปัจจุบันมีงานวิจัยมากมาย ช่วยในเรื่องการป้องกันตั้งแต่ก่อนเป็นม
อาการปวดเข่า เจ็บเข่า เป็นอาการที่พบได้บ่อย บ้างก็เป็นอาการปวดเมื่อยจากการใช้งานหนักทั่ว ๆ ไป แต่บ้างก็อาจจะรุนแรงกว่านั้น คือเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเมื่อเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดหรือกลับมาเป็นปกติได้ แต่สามารถรักษาบรรเทาอาการให้ลดน้อยลงได้ ทั้งโดยการแพทย์แผนปัจจุบัน และการแพทย์ทางเลือกอย่างการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพรต่าง ๆ นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ข้อมูลว่า องค์การอนามัยโลกคาดว่า ปี พ.ศ. 2563 ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อประมาณ 570 ล้านคน สำหรับประเทศไทยจากสถิติกระทรวงสาธารณสุขปี 2558 มีอัตราการเกิดโรคข้อเสื่อม 57.10 ต่อประชาชน 1 แสนคน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า นพ.ปราโมทย์กล่าวว่า ทางการแพทย์แผนไทยเรียกโรคข้อเข่าเสื่อมว่า “โรคลมจับโปงเข่า” แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ โรคลมจับโปงน้ำและจับโปงแห้ง ต่างกันตรงที่จับโปงน้ำจะมีอาการปวดเข่า เข่าบวม อักเสบชัดเจน มีน้ำในข้อเข่า ส่วนจับโปงแห้งจะมีอาการปวดเข่า มีเสียงกรอบแกรบในข้อเข่า ข้อเข่าฝืด สะบ้าติด แพทย์แผนไทยรักษาโรคดังกล่าวด้วยการนวดรักษาเฉพาะจุ
นักวิจัย มศว ชูผลศึกษาทางคลินิก กิน ‘ขมิ้นชัน’ ลดเสี่ยงเบาหวาน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ ผศ.พญ.สมลักษณ์ จึงสมาน อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวในงานเสวนา “สารสกัดขมิ้นชันในผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน” ภายในงานสัมมนา “มหัศจรรย์สมุนไพรขมิ้นชัน” ซึ่งจัดโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ว่า สารสกัดจากขมิ้นชันช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งจากการทดลองทางคลินิกในคนที่ยังไม่ป่วยโรคเบาหวาน แต่มีความเสี่ยงที่จะเป็น คือ มีค่าน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติ จำนวน 240 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่กินยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ซึ่งจะรับประทานครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง ขนาดรวม 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 9 เดือน ควบคู่กับควบคุมไลฟ์สไตล์ คือ การควบคุมอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงต้องการเกิดโรค เช่น อาหารรสหวาน ลดน้ำตาล ลดการกินแป้ง และมีการออกกำลังกาย “โดยการทดลองดังกล่าวให้ทั้งสองกลุ่มเริ่มทำก่อนกินยาเป็นเวลา 3 เดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาหลอก ร้อยละ 16.4 ถูกวินิจฉัยว่า เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ขณะที่กลุ่มที่ได้รับ
คุณกัญญา สุภาพ อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 238 หมู่ที่ 9 ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เกษตรกรปลูกขมิ้น กล่าวว่า ตนได้ปลูกขมิ้นเป็นอาชีพเสริม นอกเหนือจากทำสวนยางพาราที่เป็นอาชีพหลัก ทั้งนี้เนื่องจากว่าพื้นที่ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม เกษตรกรส่วนใหญ่จะนิยมปลูกขมิ้นจำนวนมาก ด้วยสภาพพื้นที่เป็นที่ลาดชันแนวเชิงเขา ไม่อุ้มน้ำ ทำให้ขมิ้นมีคุณภาพ ซึ่งตนเองเริ่มปลูกขมิ้นมาตั้งแต่ ปี 2556 และในปีนี้ใช้พื้นที่ปลูกประมาณ 3 ไร่ คุณกัญญา กล่าวอีกว่า การปลูกขมิ้น ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน ดูแลง่าย ใช้ทุนน้อย แต่รายได้ค่อนข้างดี ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเริ่มปลูกตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ใช้เวลาปลูก 6 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งขายได้ โดยวิธีปลูก เพียงขุดหลุมขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ลึก 10 เซนติเมตร ระยะห่าง 1 ฟุต จากนั้นนำเหง้าขมิ้นที่แก่จัดลงปลูก และเมื่อปลูกได้ประมาณ 1 เดือน ให้ดายหญ้า ใส่ปุ๋ยบำรุง ขมิ้นจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อขมิ้นอายุได้ 4 เดือน ให้ดายหญ้า และใส่ปุ๋ยอีกครั้งหนึ่ง จนอายุครบ 6 เดือน สามารถขุดขมิ้นไปขายได้ ซึ่งพื้นที่ 1 ไร่ สามารถขายขมิ้นได้ไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท ในขณะท