ขี้เลื่อย
“ขี้เลื่อยไม้ยางพารา” เป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้เพาะเห็ด ทั้งนี้ การเลือกใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่า ไม่ใช่ขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่มาจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ เพราะขี้เลื่อยประเภทนี้ผ่านการอบฆ่าเชื้อ นำมาใช้ในการเพาะเห็ดไม่ได้ หากนำขี้เลื่อยประเภทนี้มาทำก้อนเชื้อเห็ดหยอดเชื้อลงไปแล้วเชื้อไม่เดิน เพราะไม้ยางพาราจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จะผ่านการอบยาฆ่าเชื้อรามาแล้ว หากนำมาใช้เพาะเห็ด เชื้อเห็ดก็จะไม่เดินอย่างแน่นอน เพราะเชื้อเห็ดก็เป็นเชื้อราประเภทหนึ่งนั่นเอง บางคนอยากเพาะเห็ดถุงเป็นอาชีพรอง หรือบริโภคภายในครัวเรือน แต่ “ขี้เลื่อย” ก็ไม่ได้หากันง่ายๆ แล้วจะมีวัสดุอะไรทดแทนได้บ้าง เห็ดที่เพาะในถุงได้ดี มีหลายสายพันธุ์ ตัวอย่าง เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง และเห็ดยานางิ เป็นตัวอย่าง ทั้งนี้ วัสดุเพาะที่นำมาทดแทนขี้เลื่อยได้ คือ ฟางสับ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ได้ทำการวิจัยไว้ มีอยู่หลายสูตร ในที่นี้ขอนำมาเป็นตัวอย่างเพียง 2 สูตร เท่านั้น สูตรที่ 1 ชนิดวัสดุ นํ้าหนัก (กิโลกรัม) ฟางสับ ยาว 4-6 นิ้ว 100 ขี้ว
“ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา” เป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้เพาะเห็ด ทั้งนี้การเลือกใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่า ไม่ใช่ขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่มาจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ เพราะขี้เลื่อยประเภทนี้ผ่านการอบฆ่าเชื้อนำมาใช้ในการเพาะเห็ดไม่ได้ หากนำขี้เลื่อยประเภทนี้ มาทำก้อนเชื้อเห็ดหยอดเชื้อลงไปแล้วเชื้อไม่เดิน เพราะไม้ยางพาราจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จะผ่านการอบยาฆ่าเชื้อรามาแล้ว หากนำมาใช้เพาะเห็ด เชื้อเห็ดก็จะไม่เดินอย่างแน่นอนเพราะเชื้อเห็ดก็เป็นเชื้อราประเภทหนึ่งนั่นเอง หากใครต้องการตรวจสอบคุณภาพขี้เลื่อยว่าใช้ได้หรือไม่ ขอแนะนำให้ทดลองทดสอบตามคำแนะนำของศูนย์เห็ดล้านนานคือ เอามือ ล้วงเข้าไปในขี้เลื่อย ถ้าขี้เลื่อยนั้นร้อน เหมือนมีการหมัก ถือว่า ขี้เลื่อยนั้นใช้ได้ แต่ถ้าขี้เลื่อยนั้นไม่ร้อน หรืออุ่นแดด และควรสอบถามคนขับว่า ไปขึ้นขี้เลื่อยจากที่ไหน เป็นโรงไม้ หรือโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ถ้าไม่แน่ใจ ก็จะไม่ควรรับ เพราะเสี่ยงขาดทุนได้ นอกจากนี้ ก่อนลงขี้เลื่อย ควรตรวจดูบริเวณที่จะลงขี้เลื่อยว่ามีความสะอาดพอไหม พื้นที่ตรงนั้นมีน้ำขังหรือเปล่า ควรปรับระดับการระ