ขี้เลื่อยยางพารา
“ขี้เลื่อยไม้ยางพารา” เป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้เพาะเห็ด ทั้งนี้ การเลือกใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่า ไม่ใช่ขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่มาจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ เพราะขี้เลื่อยประเภทนี้ผ่านการอบฆ่าเชื้อ นำมาใช้ในการเพาะเห็ดไม่ได้ หากนำขี้เลื่อยประเภทนี้มาทำก้อนเชื้อเห็ดหยอดเชื้อลงไปแล้วเชื้อไม่เดิน เพราะไม้ยางพาราจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จะผ่านการอบยาฆ่าเชื้อรามาแล้ว หากนำมาใช้เพาะเห็ด เชื้อเห็ดก็จะไม่เดินอย่างแน่นอน เพราะเชื้อเห็ดก็เป็นเชื้อราประเภทหนึ่งนั่นเอง บางคนอยากเพาะเห็ดถุงเป็นอาชีพรอง หรือบริโภคภายในครัวเรือน แต่ “ขี้เลื่อย” ก็ไม่ได้หากันง่ายๆ แล้วจะมีวัสดุอะไรทดแทนได้บ้าง เห็ดที่เพาะในถุงได้ดี มีหลายสายพันธุ์ ตัวอย่าง เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง และเห็ดยานางิ เป็นตัวอย่าง ทั้งนี้ วัสดุเพาะที่นำมาทดแทนขี้เลื่อยได้ คือ ฟางสับ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ได้ทำการวิจัยไว้ มีอยู่หลายสูตร ในที่นี้ขอนำมาเป็นตัวอย่างเพียง 2 สูตร เท่านั้น สูตรที่ 1 ชนิดวัสดุ นํ้าหนัก (กิโลกรัม) ฟางสับ ยาว 4-6 นิ้ว 100 ขี้ว
สงขลา – นายเปรม สุวรรณรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ประธานกลุ่มเพาะเห็ดโคนน้อยตามโครงการ “สัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เผยว่า ใช้วัสดุหลักเป็นขี้เลื่อยจากไม้ยางพารา ซึ่งดีกว่าขี้เลื่อยจากไม้อื่น สูตรการทำใช้ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม รำข้าว 8 กิโลกรัม ยิปซัม ปูนขาว ภูไมท์ ยูเรีย อย่างละ 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 200 กรัม นำน้ำมาผสมให้เข้ากัน แล้วนำน้ำที่ผสมดีเกลือกับยูเรียค่อยๆ รดลงไป คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทิ้งไว้ 1-2 วัน นำส่วนผสมที่ได้มาใส่ถุงพลาสติกอัดให้แน่น ถุงละ 1 กิโลกรัม มัดปากถุง โดยใช้จุกพลาสติก จะได้ 120 ถุง นำไปนึ่งในถังเพื่อฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 90 องศา 2 ชั่วโมง รอให้ก้อนเห็ดเย็นแล้วหยอดเชื้อเห็ด นำไปบ่มเชื้อในที่ร่ม 7 วัน เมื่อมีเส้นขาวๆ ตามก้อนให้แกะจุกปากถุงออกแล้วนำไปวางในโรงเรือน พ่นน้ำเป็นฝอยๆ ให้ชุ่มแล้วคลุมด้วยผ้าใบให้มิดชิด 10-15 วันก็เก็บขายได้ วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น ราคาขายกิโลกรัมละ 180-200 บาท ขณะนี้มีพ่อค้าแม่ค้ามาเลเซียซื้อไปขาย ขอบคุณข้อมูลจากข่าวสด