ข้าวคาร์บอนต่ำ
ในเรื่องของการส่งออกข้าวจำหน่ายตลาดต่างประเทศ ไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก เท่ากับปริมาณการส่งออกของเวียดนามที่ 7.5 ล้านตันเช่นกัน และอินเดียยังคงเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกที่ปริมาณ 16.5 ล้านตัน จึงเป็นความเสี่ยงของไทยที่จะต้องรักษาอันดับ การเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ เวียดนามยังมีโอกาสที่จะส่งออกข้าวแซงไทยที่เป็นไปได้สูง เพราะเริ่มเห็นตัวเลขการส่งออกข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้น จากปกติการส่งออกเฉลี่ยเพียง 6 ล้านตันต่อปีเท่านั้น แต่เห็นชัดเจนขึ้นจากปี 2566 เวียดนามสามารถส่งออกได้ถึง 8.1 ล้านตัน และประมาณต้นปี 2567 เวียดนามสามารถประมูลข้าวจากอินโดนีเซียได้ถึง 4 แสนตัน จากการประมูลทั้งสิ้น 5 แสนตัน ส่วนที่เหลือเป็นของปากีสถานและเมียนมา ส่วนประเทศไทยไม่ได้เพราะราคาข้าวแพงกว่า ข้าวคาร์บอนต่ำ ทางรอดของเกษตรไทย นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปรับตัวของผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันการผลิตและการค้าขายทางภาคการเกษตรข
การปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มุ่งเน้นให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงกำลังเป็นหนึ่งตัวการร้ายสำคัญที่ทำลายดินเพราะการทำเกษตรกรรมเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ทำลายดินหรือทำให้สภาพดินเลวลายลงแบบไม่รู้ตัว รวมทั้งเป็นผลเสียต่อผลผลิตที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน ยิ่งสภาพดินไม่ได้รับการฟื้นฟู สำหรับการทำเกษตรในอนาคต คงปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง อาจรวมไปถึงทำให้มนุษยชาติมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหาร โดยผลผลิตทางการเกษตรที่ได้จะมีปริมาณลดลง อันเกิดจากสภาพดินที่เสื่อมโทรมลงทุกวันจากการทำเกษตรกรรม ทำให้ในหลายประเทศทั่วโลกมีการตื่นตัวในปฏิรูปการเกษตร ทั้งในเอเชีย ละตินอเมริกา สหรัฐอเมริกา แคนาดา แอฟริกายุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เพื่อมุ่งหวังให้การทำเกษตรกรนอกจากได้ผลผลิตที่ดี แต่ยังสามารถดูแลสุขภาวะของดินไปด้วยพร้อมๆ กัน จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดลพบุรี เป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวที่นับว่ามีความสำคัญ หากมีการปลูกพื้นเชิงเดี่ยวเช่นนี้ไประยะเวลานาน นอกจากจะทำให้สภาพดินเสื่อมโทรมแล้ว ยังมีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำนาข้าวอยู่เป็นระยะ และยังส่งผลกระทบต่อสิ่