ข้าวญี่ปุ่น
ข้าวญี่ปุ่น ‘โรงสีข้าวจิราภรณ์’ ความอร่อยเกรดพรีเมียม เปี่ยมคุณภาพ รวงข้าวเหลืองอร่าม พร้อมเก็บเกี่ยวเต็มท้องทุ่งสุดลูกหูลูกตา จำนวนหลายพันไร่ในเขตพื้นที่อำเภอแม่สรวย และอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย แหล่งปลูก ‘ข้าวญี่ปุ่น’ ขึ้นชื่อของเมืองไทย ความสุขบนผืนดินที่ทำให้ คุณสนั่น สุภาวะ ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ ‘โรงสีข้าวจิราภรณ์’ ประสบความสำเร็จเป็นผู้นำด้านการผลิตข้าวญี่ปุ่นบ้านเราในปัจจุบัน ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme เริ่มต้นจาก ‘เกษตรกร’ ผันตัวสู่ ‘พนักงานบริษัท’ คุณสนั่น เล่าว่า เมื่อปี 2536 มีคนรู้จักแนะนำให้ไปทำงานกับบริษัท สยามจาปอนิก้าฟลาวร์ จำกัด ซึ่งกำลังส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวญี่ปุ่นในเขตพื้นที่อำเภอแม่สรวย และอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เพื่อนำมาผลิตเป็นแป้งข้าวเหนียวส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น “แม้จะเรียนจบช่างยนต์ แต่ก็ทำการเกษตรมาโดยตลอด ปลูกข้าว ปลูกพริก ใช้ชีวิตเกษตรกรตั้งแต่เด็ก ก่อนที่จะไปทำงานกับบริษัท สยามจาปอนิก้าฟลาวร์ จำกัด เพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวญี่ปุ่น” ‘ฟองสบู่แตก’ จุดประกายธุรกิจปลูก ‘ข้าวญี่ปุ่น’ ปี
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมอยากทราบว่า เพราะเหตุใด ญี่ปุ่นจึงสามารถปลูกข้าวได้สูงในระดับต้นๆ ของโลก ผมเคยอ่านหนังสือทำให้ทราบว่า ญี่ปุ่น เคยเป็นลูกค้านำเข้าข้าวจากไทยมาก่อน แต่ปัจจุบันเขาผลิตได้เกินความต้องการแล้ว ช่วยกรุณาอธิบายด้วยครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง พิเชษฐ์ วิวัฒน์พงษ์ Photo by Behrouz MEHRI / AFP ตอบ คุณพิเชษฐ์ วิวัฒน์พงษ์ ญี่ปุ่น เร่งพัฒนาระบบการทำนาอย่างจริงจัง หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ในธรรมชาติ ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น ผลผลิตของพืชจะสูงกว่าในเขตร้อน สาเหตุจากอุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนมีความแตกต่างกันหลายองศา ซึ่งในฤดูร้อนมีแสงแดดจ้า การสังเคราะห์แสงดำเนินไปเต็มประสิทธิภาพ การสะสมแป้งและน้ำตาลในอัตราที่สูง แต่พอตกกลางคืนอากาศเย็นลง การนำแป้งและน้ำตาลไปใช้ในกระบวนการหายใจจึงอยู่ในอัตราที่ต่ำ ส่งผลให้กระบวนการสะสมอาหารได้มากกว่าในเขตร้อนตามที่กล่าวมาแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งรัฐบาลจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรถือครองที่ดิน รายละ 1 เฮกเตอร์ หรือ 6.25 ไร่ เท่านั้น การทำนาของญี่ปุ่นจึงประณีตมากเป็นพิเศษ เนื่องจากญี่ปุ่นมีอากาศร้อนเพียงระ
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมอยากทราบว่า เพราะเหตุใด ญี่ปุ่นจึงสามารถปลูกข้าวได้สูงในระดับต้นๆ ของโลก ผมเคยอ่านหนังสือทำให้ทราบว่า ญี่ปุ่น เคยเป็นลูกค้านำเข้าข้าวจากไทยมาก่อน แต่ปัจจุบันเขาผลิตได้เกินความต้องการแล้ว ช่วยกรุณาอธิบายด้วยครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง พิเชษฐ์ วิวัฒน์พงษ์ ตอบ คุณพิเชษฐ์ วิวัฒน์พงษ์ ญี่ปุ่น เร่งพัฒนาระบบการทำนาอย่างจริงจัง หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ในธรรมชาติ ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น ผลผลิตของพืชจะสูงกว่าในเขตร้อน สาเหตุจากอุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนมีความแตกต่างกันหลายองศา ซึ่งในฤดูร้อนมีแสงแดดจ้า การสังเคราะห์แสงดำเนินไปเต็มประสิทธิภาพ การสะสมแป้งและน้ำตาลในอัตราที่สูง แต่พอตกกลางคืนอากาศเย็นลง การนำแป้งและน้ำตาลไปใช้ในขบวนการหายใจจึงอยู่ในอัตราที่ต่ำ ส่งผลให้ขบวนการสะสมอาหารได้มากกว่าในเขตร้อนตามที่กล่าวมาแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งรัฐบาลจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรถือครองที่ดิน รายละ 1 เฮกเตอร์ หรือ 6.25 ไร่ เท่านั้น การทำนาของญี่ปุ่นจึงประณีตมากเป็นพิเศษ เนื่องจากญี่ปุ่นมีอากาศร้อนเพียงระยะสั้นๆ เกษตรกรจึงเริ่มเพาะกล้าใน
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมเป็นคนชอบรับประทานข้าวญี่ปุ่นคนหนึ่ง อยากทราบว่าประเทศไทยปลูกได้หรือไม่ ถ้าปลูกได้ มีที่ไหนบ้าง และความแตกต่างระหว่างข้าวไทยกับข้าวญี่ปุ่น นอกจากเมล็ดมีรูปร่างแตกต่างกันแล้ว มีอะไรอีกบ้างที่มีความแตกต่างกัน ขอคำอธิบายด้วยครับ ขอแสดงความนับถือ สุเมธ เสนาสกุล สระบุรี ตอบ คุณสุเมธ เสนาสกุล ข้าวไทย กับ ข้าวญี่ปุ่น นักพฤกษศาสตร์ และนักวิชาการเกษตร ได้จำแนกไว้อย่างชัดเจน ดังนี้ ข้าวไทย จัดเป็นชนิดอินดิก้า (Indica Type) ส่วน ข้าวญี่ปุ่น จัดอยู่ในชนิดจาโปนิก้า (Japonica Type) มาดูในรายละเอียดกันครับ ข้าวไทย เป็นข้าวเมล็ดยาว หุงขึ้นหม้อ ลำต้นสูง ใบสีเขียวอ่อน หักล้มง่าย ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ย เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง (Photo Sensitivity) คือออกดอกในฤดูที่กลางวันมีแสงแดดน้อยกว่า 11 ชั่วโมง จึงออกดอกและเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว ตัวอย่างข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ขาวตาแห้ง เจ๊กเชย และขาวนางเนย สำหรับข้าวในสกุล กข เนื่องจากมีการปรับปรุงพันธุ์มาแล้ว จึงต่างจากชนิดอินดิกาไปบ้าง ข้าวญี่ปุ่น เป็นข้าวเมล็ดสั้น ข้าวสารหุงไม่ขึ้นหม้อ หุงสุกแล้วคล้ายข้าวเหนียว ใช้ตะเกียบคีบเป็นคำได้
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมเคยอ่านหนังสือพบว่า ประเทศญี่ปุ่นผลิตข้าวได้เพียงพอบริโภคภายในประเทศมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงได้ไม่นาน แต่มีเพื่อนๆ บอกว่า ญี่ปุ่นยังต้องมีการนำข้าวเข้าไปยังประเทศอีก ผมจึงขอเรียนถามว่าเป็นเพราะเหตุใด ขอคำอธิบายด้วยครับ ขอแสดงความนับถือ วิรัตน์ สุทรเศรษฐ์ กรุงเทพฯ ตอบ คุณวิรัตน์ สุทรเศรษฐ์ ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน มีประชากร 170 ล้านคน มีพื้นที่ขนาดเล็กกว่าประเทศไทยเกือบครึ่งหนึ่ง ที่ผ่านมาญี่ปุ่นสามารถผลิตข้าวได้พอเพียงบริโภคภายในประเทศ เฉลี่ยปีละ 11 ล้านตันข้าวกล้อง แต่ปัจจุบันปริมาณการผลิตลดลงเหลือ ประมาณ 7 ล้านตัน ด้วยชาวญี่ปุ่นหันมาบริโภคแป้งข้าวสาลีมากขึ้น โดยนำมาผลิตขนมปังและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา สาเหตุการนำเข้าข้าวของญี่ปุ่น เป็นไปตามพันธสัญญาของ WTO จำนวนประมาณ 2 แสนตันข้าวสาร ข้าวที่นำเข้านี้ญี่ปุ่นจะนำไปช่วยเหลือประเทศยากจนอื่นๆ ในทวีปแอฟริกาเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเกิดภาวะสงคราม หรือฝนแล้ง น้ำท่วม ก็ตาม ข้าวอีกจำนวนหนึ่งเป็นข้าวเหนียวคุณภาพดี เป็นการนำเข้าจากประเทศไทย ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเชื่อมั่นว่าข้าวเหนียวจ
จังหวัดในภาคเหนือของไทย เป็นแหล่งปลูกข้าวพันธุ์ดีอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งนอกเหนือจากสายพันธุ์ที่ปลูกและคิดค้นโดยคนไทยเอง กระจายการทดลองปลูกจนได้ผลผลิตเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศแล้ว เทคโนโลยีการปลูกและคิดค้นสายพันธุ์ข้าวยังคงไม่หยุดนิ่ง ไม่เฉพาะสายพันธุ์ที่เติบโตภายในประเทศเท่านั้น ยังคงรวมถึงสายพันธุ์จากต่างประเทศ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย เป็นศูนย์วิจัยข้าวแห่งแรกที่นำ “ข้าวญี่ปุ่น” เข้ามาทดลองปลูกในประเทศไทย สถาบันวิจัยข้าวเริ่มดำเนินงานเพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น ตลอดจนความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวญี่ปุ่นมาตั้งแต่ ปี 2507 โดยได้ดำเนินที่สถานีทดลองข้าวพาน จังหวัดเชียงราย ต่อมาในปี 2530 สถานีทดลองข้าวพาน ได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นจากแหล่งต่างๆ มาขยายเมล็ดพันธุ์ จากนั้นนำไปปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้น เมื่อปี 2531-2532 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นสูงที่สถานีทดลองข้าวพานและสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง เมื่อปี 2532-2533 ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ระหว่างสถานี เมื่อปี 2533-2534 หลังจากนั้นนำไปปลูกทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก ชัยนาท สกลนคร และจังหวัดหนองคาย พร้อมทั้งบันทึกผลผลิต ลักษณ
ข้าว คือ หัวใจหลักที่ทำให้คนรับประทานมีความสุข ข้าวที่อร่อย เมื่อนำมาโรยเกลือแล้วปั้นเป็นลูกกลมๆ วางไว้บนโต๊ะก็จะเป็นมื้อวิเศษของเด็กยามดึก และผู้ใหญ่ที่รีบเรงในยามเช้าได้เป็นอย่างดี วิธีหุงข้าวญีุ่่นให้อร่อย ต้องทำตามลำดับ ดังนี้ 1.ใส่ข้าวสารญี่ปุ่นลงในถ้วยใบใหญ่ ใส่น้ำพอท่วมข้าวแล้วเทออกโดยเร็ว (น้ำแรกจะเป็นการล้างสิ่งสกปรกที่ติดมากับข้าวสารออก) 2.ในกรณีที่ข้าวสารมีปริมาณไม่มากนัก ให้ใส่น้ำพอขลุกขลิก แล้วเอานิ้วมือกวาดๆ คนๆข้าวสารจนน้ำใสๆกลายเป็นสีขาวคล้ายสีของนมสดจึงเทน้ำออก 3.ในกรณีที่ข้าวมีปริมาณมากขึ้น ให้ใช้อุ้งมือ (ส่วนที่ใกล้ๆข้อมือ) กดนวดลงบนข้าวสาร และเมื่อน้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นก็เทน้ำออก 4.ล้างซ้ำๆจนสีน้ำที่ล้างค่อนข้างใส (ซึ่งต้องล้างประมาณ 5-6 ครั้ง) 5.กรองน้ำออกให้เหลือแต่ข้าวสาร แล้วตั้งพักไว้ในตะแกรง 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 6.นำข้าวสารเทลงในหม้อหุงข้าว ใส่น้ำตามปริมาณข้าวที่กำหนด กดสวิตช์หุงตามปกติ 7.เมื่อข้าวสุกแล้วให้นำทัพพีตักข้าวมาคลุกข้าวในหม้อให้ทั่วๆไอร้อนจะระเหยออกอย่างรวดเร็ว ทำให้ข้าวร่วนแวววาวน่ารับประทาน ที่มาหนังสือ อาหารญี่ปุ่นรสมือแม่ โดยสุยดา ด่านสุวรรณ์
ปัจจุบันในโลกเรา มีการบริโภคข้าวเพียง 2 ชนิด คือ ชนิดอินดิก้า (Indica Type) เป็นข้าวเมล็ดยาว อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ชนิดจาโปนิก้า (Japonica Type) เป็นข้าวเมล็ดสั้น ข้าวอินดิก้า มีเมล็ดเรียว ยาว ปลูกและบริโภคในเขตร้อนชื้น มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอัสสัม-ยูนนาน รอยต่อระหว่างจีนกับอินเดีย ลักษณะเด่นของข้าวชนิดนี้ มีใบสีเขียวซีด โค้งโน้มต่ำลง ไม่ตั้งตรง ลำต้นสูง และเป็นชนิดที่ตอบสนองต่อช่วงแสง คือจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว ที่เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน ส่วนใหญ่จัดอยู่ในชนิดอินดิก้า ส่วน ข้าวจาโปนิก้า ปลูกอยู่ในญี่ปุ่น จีนตอนเหนือ ไต้หวัน และเกาหลี ลักษณะเด่นของข้าวชนิดนี้ มีเมล็ดป้อม สั้น ค่อนข้างกลม เมื่อหุงต้มแล้วไม่มีกลิ่น เกาะตัวกันคล้ายข้าวเหนียว ลำต้นเตี้ย ใบตั้ง แตกกอดี ไม่ตอบสนองต่อช่วงแสง แต่จะตอบสนองต่ออุณหภูมิ ตัวอย่าง เมื่อนำข้าวชนิดดังกล่าวมาปลูกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เขตจตุจักร ซึ่งมีอากาศร้อนกว่าที่ญี่ปุ่น ปลูกไปได้เพียง 45 วัน ข้าวก็จะออกดอก หากต้องการปลูกให้ได้ผลดี ต้องนำไปปลูกที่ภาคเหนือของไทย ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น โดยธรรมชาติแล้ว ในภูมิภาคที่มีอ