ข้าวต้มมัด
ข้าวต้มมัด นับว่าเป็นอาหารที่มีความเรียบง่ายและอยู่คู่งานบุญตามเทศกาลต่างๆ มากมาย ทั้งงานบวช งานแต่ง งานทำบุญให้ผู้เสียชีวิต งานวันออกพรรษา และอื่นๆ การทำข้าวต้มมัดนั้นอยู่คู่บ้านและงานประเพณีท้องถิ่นมาช้านาน แต่การทำข้าวต้มมัดนั้นก็มีขั้นตอนและเคล็ดลับที่น่าสนใจ เพราะถ้าหากมองข้ามขั้นตอนเล็กๆ น้อยๆ การทำข้าวต้มมัดอาจไม่เป็นชิ้นสวยงามตามที่ตั้งใจไว้ คุณนันธ์ทา เหลาประเสริฐ ที่อยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 2 บ้านกงกลาง ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การทำข้าวต้มมัดมีวัตถุดิบและขั้นตอนการทำดังนี้ 1. ถั่วลิสง 1 กิโลกรัม 2. ข้าวสารเหนียว 2 กิโลกรัม 3. กล้วยน้ำว้า 1 หวี กล้วย 1 ลูก ปาด 2 ชิ้น แต่ถ้าลูกใหญ่ปาด 3 ชิ้น 4. นำข้าวสารกับถั่วใส่กะละมัง 5. ใส่ในใบตองที่เตรียมไว้ 2 ชิ้น ชั้นในชิ้นเล็ก ส่วนชั้นนอกชิ้นใหญ่ 6. พับมุมจีบให้สวยงาม ทำเช่นนี้ 4 ชั้น และประกบมัดด้วยตอก 2 เส้น 7. ต้มประมาณ 2 ชั่วโมง ต้มให้น้ำท่วมมัดข้าวต้ม คอยดูว่าน้ำแห้งหรือไม่ ก็ใส่น้ำลงหม้อ โดยจะเติมน้ำเพิ่มประมาณ 2 ครั้ง สังเกตใบตองจะเปลี่ยนสี ถ้าสุกใบตองจะเปลี่ยนสี และข้าวจะสุก ส่วนกล้วยจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู
ขนมไทย ถือเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่รู้จักกันดี เพราะเป็นการบ่งบอกถึงความละเอียดอ่อนประณีตในทุกกระบวนการทำ ปัจจุบัน ขนมไทยหลายชนิดมักถูกลืมไปแล้ว ด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย คนทำรุ่นเก๋าล้มหายตายจากไป หรือเป็นเพราะความยุ่งยากซับซ้อนในกระบวนการทำ จึงถูกปฏิเสธจากคนรุ่นใหม่ที่จะสืบสานต่อ ดังนั้น ดูเหมือนว่าจะหาขนมไทย (แท้) รับประทานยากเย็นเหลือเกิน แต่กระนั้นคงไม่หมดหวังเสียทีเดียว เพราะยังคงมีแต่ผู้ประกอบอาชีพทำขนมไทยที่เป็นข้าวต้มมัดรายหนึ่ง เป็นสูตรดั้งเดิม ขายอยู่กลางกรุง ที่ว่าสูตรดั้งเดิมเพราะคนทำเป็นคนร่วมสมัยตั้งแต่สงครามโลก ครั้งที่ 2 แล้วยังสืบทอดมาจากในวังเลยทีเดียว “บ้านขนมไทย คุณยายอัมภา” (THAI DESSERT) เป็นสถานที่ทำขนมไทยนานาชนิดสูตรโบราณ ทั้งข้าวต้มมัด ขนมกล้วย ขนมเทียน ขนมใส่ไส้ ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 13 โชคชัย 4 ซอย 39 ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 539-9690/(081) 401-4438 แต่สำหรับที่นี่แล้วขนมที่ทำเป็นหลักและขายดีคือ ข้าวต้มผัด หรือข้าวต้มมัด กับขนมกล้วย ส่วนขนมเทียนและอื่นๆ อาจทำเฉพาะหน้าเทศกาลเท่านั้น คุณยายอัมภา เฉลิมนัย เล่าว
คุณประภาวัลย์ วงษ์แม่น้อย หรือ คุณเม้ง อายุ 50 ปี เป็นอีกคนที่ยึดอาชีพทำข้าวต้มมัดมากว่า 10 ปี โดยเธอใช้บ้านพักชั้นเดียว เลขที่ 33/11 หมู่ที่ 3 ตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่งไม่มีชื่อร้านเป็นฐานสำหรับผลิตข้าวต้มมัดขาย คุณประภาวัลย์ เล่าว่า แม่ของเธอประกอบอาชีพมัดข้าวต้มมาตั้งแต่ปี 2529 ในตอนนั้นเธอรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยแม่ในตำแหน่งมัดข้าวต้ม จนกระทั่งปี 2543 เธอมารับช่วงอาชีพจากแม่ แล้วเริ่มทำอย่างจริงจังด้วยตัวเองเพียงลำพัง พร้อมไปกับการเรียนรู้ทักษะอีกหลายอย่างเพิ่มเติม คุณเม้ง บอกว่า ข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มผัดที่เธอทำขายทุกวันนี้เป็นการใช้ข้าวเหนียวผัดแล้วใส่กะทิ ใส่น้ำตาล ตามแบบวิธีทำโบราณ ไม่เหมือนอย่างช่วงหลังที่ใช้วิธีมูนก่อนแล้วจึงนำมาห่อ เธอยกตัวอย่างการใช้วัตถุดิบและอัตราส่วนผสมในการทำข้าวต้มมัดว่า ถ้าหากใช้ข้าวเหนียวสัก 1 กิโลกรัม ควรใช้น้ำกะทิสด 6 ขีด น้ำตาลทรายครึ่งกิโลกรัม และเกลือ 1 ถุงจิ๋ว และเพื่อให้อัตราส่วนผสมได้มาตรฐาน จึงใช้วิธีชั่งตามน้ำหนักทุกครั้ง ไม่เน้นพันธุ์กล้วยและขนาด ขอให้สุกปานกลาง แม่ค้าขายข้าวต้มมัดรายเดิมแจงถึงวัตถุดิบที่ใช้ต่อว่า ใช้กล้วยน้ำว้
ภาคใต้ นำใบกะพ้อมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ หรือประกอบพิธีตามความเชื่อของชาวใต้ โดยเฉพาะงานเดือนสิบนำมาห่อข้าวต้ม หรือนำใบกะพ้อมาทำหัตถกรรม จักสาน ใบกะพ้อ ลักษณะคล้ายฝ่ามือ เรียงเวียนสลับ รูปกลม ก้านใบรูปสามเหลี่ยม มีหนามแหลม ยอดอ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ก้านใบ เอาหนามออกผ่าเป็นตอกใช้มัดข้าวกล้า ปัจจุบัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ สำหรับการห่อข้าวต้มต้องใช้ใบอ่อน ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา จัดเผยแพร่วัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยเฉพาะการทำข้าวต้มสอดไส้ใบกะพ้อ เนื่องจากนับวันเยาวชนรุ่นใหม่ไม่ค่อยได้สนใจกับวัฒนธรรมดั้งเดิม โดย ครูรัชนี การะนัด ทำออกเผยแพร่เพื่อได้เรียนรู้ โดยเพิ่มการใส่ไส้เข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แตกต่างจากปกติที่นิยมใส่เพียงข้าวเหนียว กะทิ หรือบางครั้งอาจจะใส่ถั่ว ส่วนผสม ข้าวต้ม ส่วนผสมจะเป็นของที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม กะทิ 5 ถ้วย เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำตาลทรายครึ่งถ้วย สำหรับส่วนผสมของไส้ ทำจากเนื้อหมูหรือไก่ หั่นสี่เหลียมลูกเต๋า 1 กิโลกรัม เห็ดหอม หั่นบาง 100 กรัม กุ้งแห้ง แช่น้ำ 200 กรัม ไข่แดงเค็ม (ตัด 6 ชิ้น ต่อ 1 ฟอง) 10 ฟอง รากผักชี 3 ราก กระเทียม 10 กลีบ
ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมไทยพื้นบ้านที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก มีข้าวต้มมัด อีกชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มลูกโยน เป็นการห่อข้าวต้มด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วนข้าวต้มมัดอีกชนิด เป็นข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปราะ 4-5 เปราะ แล้วนำไปต้ม บางแห่งใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีขนมแบบเดียวกับข้าวต้มที่พบได้ในประเทศอื่นอีก เช่น ฟิลิปปินส์ เรียก อีบอส หรือซูมัน และมีขนมชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มญวน มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัดแต่ห่อใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการต้ม เมื่อจะรับประทานจะหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด เกลือและน้ำตาลทราย ทั้งข้าวต้มมัดและข้าวต้มลูกโยน มักนิยมทำเป็นขนมในเครื่องไทยทานถวายพระภิกษุในเทศกาลตักบาตรเทโวเทศกาลออกพรรษา และยังนิยมทำเป็นของแจกกันใ