ข้าวนาปรัง
เมื่อพูดถึงการปลูกข้าวให้ประสบความสำเร็จและได้กำไรงาม เกษตรกรส่วนใหญ่อาจตั้งความหวังไว้กับราคาผลผลิตเพียงอย่างเดียว แต่เชื่อหรือไม่ว่า อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้คือ “การเพิ่มประสิทธิภาพการปลูก” เพื่อให้ได้ข้าวที่น้ำหนักดีและมีคุณภาพ วันนี้เราจะพาไปพบกับ คุณเล็ก-สังวาล ไทยเจริญ ต.ดงเดือย อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย เกษตรกรหญิงแกร่ง ที่สามารถปลดหนี้ได้ด้วยการทำนา ทั้งยังสามารถขยับขยายพื้นที่นาจาก 10 ไร่ เป็น 106 ไร่ ได้ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ ควบคู่กับประสบการณ์ที่สั่งสมมากกว่า 30 ปี คุณเล็ก เผยว่า ตนเองนั้นเริ่มทำนามาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่แล้ว สมัยก่อนปลูกข้าวได้ผลผลิตประมาณ 700-900 กก./ไร่ หากปีไหนข้าวเป็นโรคมาก ก็จะได้ผลผลิตน้อยกว่านี้ แต่ปัจจุบันนั้นมีการปรับวิธีการบำรุงดูแลใหม่ทั้งหมด จนผลผลิตค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 1.2-1.3 ตัน/ไร่ โดยที่ต้นทุนไม่ต่างจากเดิม แต่ได้กำไรเพิ่มจากผลผลิตที่ดีขึ้น ความสำเร็จเหล่านี้ คุณเล็ก เริ่มจากพื้นฐานความเข้าใจใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.เข้าใจในสภาพอากาศและพื้นที่ปลูก 2.เข้าใจความต้องการของพืช และบำรุงให้ตรงตามช่วงอายุการเจริญเติบโ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว ตั้งแต่ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาที่คาดการณ์ว่า ฤดูร้อนปีนี้จะมาเร็วและนานมากกว่าทุกปี ซึ่งอาจยาวนานไปจนถึงราวเดือนพฤษภาคม 2562 โดยฤดูร้อนปีนี้จะมีอุณหภูมิร้อนกว่า ปี 2561 และร้อนมากกว่าค่าปกติราว 1-2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำในเขื่อน โดยหากพิจารณาปริมาตรน้ำใช้การได้ในเขื่อนของไทยแยกตามรายภาค ณ วันที่ 4 มีนาคม 2562 จะเห็นได้ว่า ปริมาตรน้ำใช้การได้ในเขื่อนทั้งประเทศลดลง 13.5% (YoY) โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ส่งสัญญาณชัดเจนจากการที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนในระดับที่ต่ำมาก ทำให้ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสถานการณ์น้ำที่น่าเป็นห่วง และอาจจะเข้าสู่วิกฤติมากขึ้นในเดือนเมษายนนี้ที่จะเป็นช่วงฤดูแล้งอย่างเต็มรูปแบบ หากยังไม่มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มเติม ซึ่งจากสัญญาณฤดูร้อนดังกล่าวที่มาเร็วและนานกว่าทุกปี จะส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่จะเก็บเกี่ยวเพื่อออกสู่ตลาดในช่วงนี้ให้ลดลง จนอาจกระทบต่อรายได้เกษตรกรให้ต้องเผชิญความท้าทายมา
กรมชลประทาน สนับสนุนเกษตรกรทำนาข้าวให้หันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย-เลี้ยงสัตว์ หลังราคาข้าวตกต่ำ ยึดแผนจัดรูปที่ดินบ้านตาลเสี้ยน ต.รางสาลี่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็นต้นแบบความสำเร็จ นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังในฤดูแล้ง เพื่อประหยัดน้ำต้นทุน โดยให้เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนนั้น สำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง กรมชลประทาน เล็งเห็นความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนเกษตรกรทำนาข้าวไปปลูกพืชใช้น้ำน้อย-เลี้ยงสัตว์ จึงได้วางแผนส่งเสริมให้พื้นที่จัดรูปที่ดินบ้านตาลเสี้ยน ต.รางสาลี่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็นโครงการต้นแบบ ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2558/2559 เป็นต้นมา ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เกษตรกรในโครงการได้ลดพื้นที่การทำนา โดยหันไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยกว่า เช่น พืชผักสวนครัว รวมทั้งขยายพื้นที่ปลูกดีปลี ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรราคาแพงมากขึ้น นอกจากนั้น มีการเลี้ยงไก่ไข่ เป็ดไข่ ปลานิล ปลาตะเพียน หมูหลุม กระทั่งจิ้งหรีดในเชิงพาณิชย์ “ปีที่แล้ว เป็นการเริ่มต้นปรับเปลี่ยน เพราะเกษตรกรเข้าใจข้อจำกัดของน้ำต้นทุน อีกทั้งราคาข้าวไม่เ
นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์ภัยแล้งปี 2562 จากการตรวจสอบในเขตพื้นที่ของกรมชลฯ ในหลายพื้นที่ พบว่า จะมีปริมาณน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตรเพียงพอ ขอยืนยันว่าปีนี้ประเทศไทยไม่เข้าขั้นประสบปัญหาภัยแล้ง เพราะทางกรมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการศึกษาข้อมูลการใช้น้ำรวมช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา แล้วทำการวางแผนรับมือสถานการณ์ภัยแล้งเป็นอย่างดี และคาดว่าปริมาณน้ำจะเพียงพอใช้จนถึงต้นปี 2563 นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า แต่ยังคงมีเขื่อนขนาดใหญ่ 6 แห่ง ยังต้องเฝ้าระวังน้ำแล้ง ประกอบด้วย 1.เขื่อนอุบลรัตน์ 2.เขื่อนทับเสลา 3.เขื่อนแม่มอก 4.เขื่อนกระเสียว 5.เขื่อนลำพระเพลิง และ6.เขื่อนลำนางรอง โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนแม่มอก มีการสั่งห้ามทำการเกษตรทุกชนิด เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง หรือระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561- 30 เมษายน 2562 เพื่อให้เพียงพอกับการใช้เพื่ออุปโภคบริโภคมากกว่า ส่วนในช่วงที่เกษตรกรไม่สามารถทำการเกษตรได้ ทางกรมชลฯ ได้เตรียมแผนจ้างงานโดยจะดูทักษะของเกษตรกรแต่ละราย อาทิ การขุดลอกคูคลอง และงานที่เกี่ยวกับระบบชลประทาน เป็นต้น ซึ
กรมส่งเสริมการเกษตรเตรียมวางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง พร้อมแนะเกษตรกรเลือกปลูกพืชให้ผลตอบแทนสูงกว่าข้าวนาปรัง นางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้บูรณาการกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง โดยได้จัดประชุมคณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และร่วมจัดทำข้อมูลแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง รวมทั้งนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในฤดูกาลที่จะถึงนี้ พร้อมกับเชิญชวนให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชฤดูแล้งที่ใช้น้ำน้อยที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าข้าวนาปรัง ซึ่งสอดคล้องกับโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา และโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรังปี 2562 ที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำลังดำเนินการ ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่าสถิติราคาและผลตอบแทนผลผลิตในช่วงฤดูแล้งปีที่ผ่านมา (ก.พ. – พ.ค.) พบว่าพืชใช้น้ำน้อย ได้แก่ พืชไร่ พืชผัก เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดฝักอ่อน ให้ผลตอบแทนสูงกว่าข้าวนาปรัง ดังนี้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความชื้น 14.5% (มี.ค.-พ.ค.) ราคา 8.42 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีรายได้ 8,445 บาทต่อไร่
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ชาวนาในตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เร่งสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อส่งเข้านาข้าวที่ฝืนทำการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ส่งผลให้ปริมาณน้ำ ตามคลองน้ำต่างๆ ในพื้นที่ เริ่มแห้งเหือด จนไม่เหลือน้ำอยู่ภายในลำน้ำ ขณะที่ชาวนาบางส่วนได้ทำการสูบน้ำไปเก็บไว้ภายในสระน้ำที่ขุดขึ้นเอง เพื่อกักตุนน้ำไว้ใช้ส่งให้กับนาข้าวของตน เนื่องจากในปีนี้ชาวนาทุกรายทราบดีว่าอ่างเก็บน้ำทุกแห่งมีน้ำไม่เพียงพอที่จะปล่อยให้ทำนาปรังได้เหมือนเช่นทุกๆ ปี โดยเฉพาะน้ำภายในเขื่อนพิมาย มีปริมาณน้ำต้นทุนน้อยกว่าทุกปี นายถกล แก้วมะเริง อายุ 50 ปี ชาวนาในตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย รายหนึ่งบอกว่า ตนเอง ได้ลงทุนปลูกข้าวนาปรัง ทั้งหมด 100 ไร่ เนื่องจากการทำนาปลูกข้าว ในช่วงนาปี ที่ผ่านมา ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ตนเองจึงหันมาปลูกข้าวนาปรังทดแทน หลังจะได้ผลผลิตเพิ่ม แต่ก็มาประสบกับปัญหา เริ่มจะขาดแคลนแหล่งน้ำใช้ในการเพราะปลูก โดยจากการสำรวจของทางสำนักงานเกษตรอำเภอพิมาย ล่าสุดพบว่าในพื้นที่อำเภอพิมาย มีเกษตรกรชาวนาฝืนทำการเพาะปลูกข้าวนาปรังไปแล้วไม่ต่ำกว่า 200 ไร่ ซึ่งทางสำนักงานเกษตร
วันที่ 7 มิถุนายน 60 นายเรวัต ประสงค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า พื้นที่แปลงข้าวนาปรัง ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักต่อเนื่องทุกวัน จนน้ำฝนท่วมขัง ทำให้ต้นข้าวได้รับความเสียหายรวม 9 อำเภอแล้ว ได้แก่อำเภอบางซ้าย เสนา บางบาล ผักไห่ บางไทร บางปะอิน ลาดบัวหลวง มหาราช และบ้านแพรก ในครั้งแรกมี แปลงนาจมน้ำกว่า 120,000 แสนไร่ และมีการช่วยเหลือให้รอดพ้นจากการจมน้ำไปเกือบ 1 แสนไร่ คงเหลืออีกกว่า 30,000 ไร่ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก และจากการพิจารณาอย่างละเอียด รวมถึงเอกสารครบ จึงประกาศให้พื้นที่ 3 อำเภอ เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติเพราะน้ำฝนท่วมนาข้าว ประกอบด้วย อำเภอบางซ้าย บ้านแพรก และบางไทร ส่วนที่เหลืออีก 6 อำเภอ ให้เร่งสำรวจอย่างเป็นทางการ และเสนอความเสียหาย เพื่อพิจารณาประกาศเพิ่มต่อไป ทั้งนี้เสนอให้เขื่อนเจ้าพระยา ลดการปล่อยระบายน้ำลงท้ายเขื่อน ให้น้อยกว่า 550 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำ ต่ำกว่าระดับน้ำปากคลอง เพื่อให้เปิดประตูน้ำ ให้น้ำในทุ่งนา ไหลลงแม่น้ำอย่างรวดเร็ว แต่ล่าสุดไม่สามารถทำได้ เพราะเขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำจำนวนมาก และน้ำในแม่น้ำสูงกว่าคลองกลางทุ่ง
เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 26 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงาน สถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุทัยธานี ที่เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันทางชลประทานจังหวัดอุทัยธานี ได้ประกาศแจ้งเตือนให้เกษตรกรงดการทำนาปรัง ซึ่งเป็นรอบที่2ของปีนี้ ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานเนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอ และไม่มีแผนในการช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว เช่นพื้นที่ในเขต ต.หนองเต่า ต.ทุ่งใหญ่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี และต.เนินศาลา อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ เป็นพื้นที่อยู่ในเขตชลประทานจังหวัดอุทัยธานี ที่ยังคงมีเกษตรกรบางรายลงทุนทำนาในครั้งนี้ ล่าสุดพื้นที่นาข้าวนับ 1,000 ไร่ กำลังขาดน้ำไปหล่อเลี้ยงต้นข้าว ซึ่งชลประทานอุทัยธานี ได้ผ่อนปรนยอมให้เกษตรกรทำการตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณเหนือเขื่อนวังร่มเกล้า แต่ต้องช่วยเหลือตัวเองทั้งด้านเครื่องสูบน้ำและเชื้อเพลิง รายงานระบุว่า ขณะนี้ชาวนาในพื้นที่ดังกล่าว ได้นำเครื่องสูบน้ำแบบรถไถเดินตาม มาทำการตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณเหนือเขื่อนวังร่มเกล้าที่ยังพอมีน้ำกักเก็บอยู่บ้าง เพื่อสูบน้ำให้ไหลไปตามคลองส่งน้ำทางด้านขวาในเขตพื้นที่อ.เมือง จ.อุทัยธานี และฝั่งซ้ายในเข