ข้าวพันธุ์ใหม่
‘ศิษย์เก่าคณะเกษตรฯ มน.’ พัฒนาพันธุ์ข้าวสีชมพูสำเร็จ หนึ่งเดียวที่พิษณุโลก เล็งพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว หนุ่มศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ลาออกจากงาน หันมาทำแปลงเกษตรข้าวไรท์เบอรี่ ใช้เวลา 3 ปี คัดแยกพันธุ์ข้าว จนสามารถปลูกนาข้าวสีชมพูสำเร็จ (พิ้งค์เลดี้) นับเป็นหนึ่งเดียวที่ จ.พิษณุโลก อนาคตอาจพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 7 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าโซเชียลแห่แชร์ภาพนาข้าวสีชมพูเต็มทุ่ง จึงได้ตรวจสอบพบว่านาข้าวสีชมพู อยู่ที่แปลงนา บ้านในไร่ เลขที่ 106/8 ม.11 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ของ นายจตุรงค์ ชมภูษา อายุ 31 ปี ศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ที่ได้ผันตัวเองจากพนักงานบริษัท มาเป็นเกษตรกรนาไร่แบบเต็มตัวเนื่องจากต้องการที่จะอยู่อาศัยใกล้ชิดกับครอบครัวมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว นายจตุรงค์ กล่าวว่า เริ่มเเรก เมื่อปี 2556 ตนเองได้นำเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวมาจากสุพรรณบุรี เป็นพันธุ์ข้าวไรท์เบอรี่ เพื่อนำมาปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งในช่วงของการปลูกนั้น ตนได้เห็นว่านาข้าวไรท์เบอรี่ของตน มีใบข้าวที่มีสีชมพู ตนจึงได้นำต้นข้าวสีชมพูคัดแยก
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562 นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ข้าว ครั้งที่ 2/2562 ได้มีมติรับรองข้าวพันธุ์ใหม่ จำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 81, ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 83 (หนองคาย 62), ข้าวเจ้าพันธุ์ขะสอ 62, ข้าวเจ้าพันธุ์เม็ดฝ้าย 62 และข้าวเจ้าพันธุ์หอมใบเตย 62 โดยแต่ละพันธุ์มีลักษณะเด่น ดังนี้ ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 81 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง มีเมล็ดขนาดปานกลาง มีอายุเก็บเกี่ยว 106-109 วัน (โดยวิธีปักดำ) ผลผลิตเฉลี่ยในฤดูนาปรัง 917 กิโลกรัม ต่อไร่ และฤดูนาปี 686 กิโลกรัม ต่อไร่ รวงค่อนข้างแน่น จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 275 เมล็ด มีท้องไข่น้อย มี ปริมาณอะมิโลสต่ำ 16.45 เปอร์เซ็นต์ มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับแปรรูปเป็นข้าวพองอบกรอบ เหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่นาชลประทานในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 83 (หนองคาย 62) เป็นข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวกล้องสีม่วงดำ ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและนาปรัง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 542 กิโลกรัม ต่อไร่ ศักยภาพในการให้ ผลผลิต 864 กิโลกรัม ต่อไร่ จ
ข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 เกิดจากการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ผศ.ดร. วราภรณ์ แสงทอง อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับกรมการข้าว ทำการศึกษาทั้งภายในมหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยข้าว กรมการข้าว และแปลงนาของเกษตรกร ใช้เวลานาน 13 ปี เป็นข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเป็นข้าวเหนียวหอม ลำต้นเตี้ย เหมาะสำหรับใช้รถเกี่ยวที่เกษตรกรนิยมใช้กันในปัจจุบัน ให้ผลผลิตดี เป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ผ่านการรับรองพันธุ์พร้อมขยายให้แก่เกษตรกร ประวัติ ข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 ทำการผสมพันธุ์ครั้งแรกในฤดูนาปี 2547 ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้ข้าวเจ้าหอมพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์รับผสมกับข้าวเหนียวหอมพันธุ์ กข 6 ปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก ทำการผสมกลับ 4 ครั้ง (ภาษาวิชาการใช้ คำว่า ชั่ว) จากนั้นจึงศึกษาพันธุ์โดยปลูก 4 แถว จำนวน 2 ฤดู คือ นาปี 2551 และนาปรัง 2552 จากนั้นจึงทดสอบผลผลิตภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งนาปีและนาปรัง ในปี 2553 ต่อมาในปี 2555 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำความตกลงความร่วมมือกับกรมการข้าว ทำการปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีวิจ
แนวโน้มที่รุนแรงขึ้นทุกขณะจากสภาพอากาศที่แปรปรวนทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและเกษตรกรทุกภูมิภาค โดยเฉพาะการทำนาที่ต้องอาศัยฟ้าฝนเป็นหลัก กรมการข้าว มีความเป็นห่วงพี่น้องชาวนาที่ต้องประสบกับปัญหารอบด้าน ทั้งปัญหาโรคและแมลงศัตรูข้าวระบาด ปัญหาดินฟ้าอากาศแปรปรวน ต้นทุนการผลิตสูง ที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ คุณอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ในส่วนของกรมการข้าวเองก็ได้พยายามศึกษาวิจัย พัฒนา และปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีประสิทธิภาพ โดยเมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์กรมการข้าว ร่วมกับหน่วยงานด้านข้าวที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กรมวิชาการเกษตร สมาคมชาวนาไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมโรงสีข้าวไทย และสมาคมค้าข้าวไทย ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณารับรองพันธุ์ข้าว จำนวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวเจ้า พันธุ์ กข 65, กข 67, กข 69 และข้าวเหนียว กข 22 ข้าวเจ้า สายพันธุ์ IR77954-28-36-3 เสนอเป็นพันธุ์รับรอง “กข 65” โดย คุณปิยพันธุ์ ศรีคุ้ม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ลักษณะกอตั้ง สูงประมาณ 1