ข้าวพื้นเมือง
‘ข้าว’ เป็นมากกว่าอาหารหลักที่คนไทยคุ้นเคยและบริโภคกันทุกวัน แต่เมื่อพูดถึงข้าวหลายคนอาจจะคุ้นเคยแต่เพียง ข้าวสวย ข้าวเหนียว หรือข้าวกล้อง แต่ยังไม่รู้ว่าข้าวในประเทศไทยมีความหลากหลายนับร้อยพันธุ์ ทั้งในด้านชนิด สี กลิ่น และรสชาติ ซึ่งแต่ละพันธุ์ไม่เพียงแต่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่สะท้อนถึงภูมิประเทศ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความเชื่อที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เพื่อทำความรู้จักกับพันธุ์ข้าวไทยให้มากขึ้น ดร.โอวาท ยิ่งลาภ ผู้อำนวยการกองพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว ได้ฉายภาพให้เห็นถึงความหลากหลายของข้าวไทย โดยกล่าวว่า ข้าวแต่ละพันธุ์ที่เราปลูกกันในประเทศไทย ไม่ได้มีดีแค่รสชาติ แต่ยังมีเรื่องราวและคุณค่าทางวัฒนธรรมแฝงอยู่ในทุกเมล็ด เริ่มต้นจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองซึ่งหมายถึงสายพันธุ์ข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและปลูกในท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน มีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น เช่น ข้าวเหนียวที่ใช้ในประเพณีบุญข้าวจี่ในภาคอีสาน ขณะที่ข้าวพันธุ์อื่นๆ อาจมีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นอกเหนือจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของข้าวพันธุ์พื้นเมืองแล้ว ยังมีข้
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายภูมิภาคมีการเปิดจุดจำหน่ายข้าวกันอย่างคึกคัก ทั้งส่วนราชการ ภาคเอกชน เปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านนำข้าวสารพันธุ์ดีมาวางขายส่งตรงถึงมือผู้บริโภคเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะจากราคาข้าวตกต่ำ บรรยากาศการซื้อขายเป็นไปอย่างคึกคัก ชื่นมื่น มีทั้งข้าวพันธุ์ดี ชื่อดังจากหลายภูมิภาค ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง รวมทั้งข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสซื้อข้าวชั้นดี หายาก สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่ต่างๆ ยังมีข้าวหลากหลายให้เลือกบริโภค โดยเฉพาะตลาดข้าวกล้องพื้นเมือง ได้รับความสนใจจากทั้งผู้บริโภคชาวไทยและต่างประเทศ ที่จังหวัดสตูล เป็นอีกแหล่งปลูกข้าวพื้นเมืองที่นิยมบริโภคกันในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะผู้ชื่นชอบข้าวหุงขึ้นหม้อ รสชาติมัน กินอิ่มท้อง ทำข้าวต้ม-โจ๊ก อร่อย หรือใช้ทำแป้งขนมจีน จะได้เส้นขนมจีนเหนียวหนึบ หรือใช้ทำแป้งขนมทองพับ ปัจจุบัน มีการขยายตลาดไปยังผู้บริโภคประเทศมาเลเซียด้วย โดยเฉพาะ “ข้าวอัลฮัมดุลิลลาฮุ” ผลผลิตจากชาวนาบ้านโคกโดน หมู่ที่ 12 ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ปัจจุบัน ชาวนาบ้านโคกโดน รวมตัวตั้ง “กลุ่มเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร” มีสมาชิกกลุ่ม
นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา (สศท.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” ถือเป็นข้าวพื้นเมือง ปลูกในฤดูนาปีในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง ชาวพัทลุงปลูกข้าวสังข์หยดไว้เป็นข้าวสำหรับเทศกาลพิเศษเพื่อเป็นสิริมงคล ซึ่งปัจจุบันข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง (ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง 2565) มีเนื้อที่เพาะปลูกรวม 19,655 ไร่ ผลผลิตรวม 7,976 ตัน/ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 402 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรผู้ปลูกที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 4,137 ราย มีพื้นที่ปลูกรวม 11 อำเภอ แหล่งปลูกสำคัญ 3 อำเภอแรก ได้แก่ อำเภอควนขนุน อำเภอปากพะยูน และอำเภอป่าบอน สำหรับข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา วันที่ 23 มิถุนายน 2549 ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์แรกของไทยและของโลก เป็นความภาคภูมิใจของชาวนาเมืองพัทลุง โดยปี 2565 มีเกษตรกรที่ได้รับ GI จำนวน 102 ราย พื้นที่ปลูกรวม 632 ไร่ และมีผู้ประกอบการข้าวสังข์หยดที่ได้การรับรองให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI จำนวน 6 ราย ทั้งนี้ ข้าวสังข์หยด
กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำรวจพบว่า ชาวสตูลส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันเป็นหลัก มีพื้นที่ปลูกข้าวเพียง 82,425 ไร่ ข้าวที่ผลิตได้ในท้องถิ่นมีปริมาณน้อยกว่าความต้องการของตลาด จึงต้องสั่งซื้อข้าวสารจากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาใช้บริโภคถึงปีละ 53,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,337 ล้านบาททีเดียว กรมส่งเสริมสหกรณ์ เล็งเห็นช่องว่างทางการตลาดดังกล่าว จึงได้เดินหน้าจัดทำโครงการ ขยายตลาดข้าวหอมมะลิอีสานสู่ภาคใต้ตอนล่างขึ้นมา ปรากฏว่า โครงการนี้ประสบความสำเร็จมาก สร้างยอดขายถล่มทลาย สหกรณ์หลายแห่งในพื้นที่จังหวัดสตูลเล็งเห็นโอกาสที่จะสร้างผลกำไรต่อเนื่อง ในการสั่งซื้อข้าวหอมมะลิเพื่อส่งออกไปขายที่ประเทศมาเลเซียในอนาคต ความจริง จังหวัดสตูล เป็นแหล่งผลิตข้าวพื้นเมืองหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ข้าวเล็บนก ข้าวเฉี้ยง ข้าวบางแก้ว ข้าวหอมจันทร์ ข้าวหอมเหลือง ฯลฯ แต่น่าเสียดายกระแสความนิยมบริโภคข้าวพื้นเมืองมีแนวโน้มลดลง เหลือแค่ร้อยละ 25-30 เท่านั้น หากไม่ร่วมกันอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองไว้ให้เป็นมรดกลูกหลาน ในอนาคตพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเหล่านี้ก็คงจะเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ระหว่างการเยี่ยมชมกิจการสหกรณ์ในครั้ง
คุณโรสนี ดอเลาะ เหรัญญิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกข้าวปลอดสารพิษ ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เปิดเผยว่า กลุ่มมีพื้นที่ปลูกข้าวพื้นเมืองของบุดี 300 กว่าไร่ 11 สายพันธุ์ แต่มี 2 สายพันธุ์ที่ผู้บริโภคตอบรับดีคือ พันธุ์หอมมือลอและพันธุ์เลือดปลาไหล โดยหอมมือลอ หุงแล้วมีกลิ่นหอม คล้ายข้าวหอมมะลิแต่กลิ่นจะอ่อนกว่า ส่วนเลือดปลาไหลคล้ายข้าวสังข์หยด แต่เมล็ดอวบและสั้นกว่า คุณโรสนี กล่าวว่า ในพื้นที่ปลูก 300 กว่าไร่นั้น ส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่อกินในครัวเรือน จึงต้องขยายพื้นที่การปลูกไปยังหมู่บ้านอื่น โดยตั้งเป้าขยายให้ได้ 1,000 กว่าไร่ ในเวลา 3 ปี เพราะตอนนี้ผลผลิตไม่พอกับความต้องการของตลาด พร้อมกันนี้กำลังทำเรื่องขอเครื่องหมาย GAP คาดว่าน่าจะได้เครื่องหมายนี้ปีหน้า และยังทำเรื่องไปยังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์สารอาหารต่างๆ ซึ่งจากการที่ญาติผู้ป่วยนำข้าวหอมมือลอไปบดให้ผู้ป่วยกินทางสายยางปรากฏว่าอาการฟื้นตัวดีขึ้น ส่วนข้าวเลือดปลาไหลนั้นมีวิตามินบีและแคลเซียมเยอะ อีกทั้งมีสารสีแดงช่วยชะลอความแก่ “ปีนี้ทางกลุ่มได้นำข้าวขายผ่านบริษัท ไปรษณีย์ไทยฯ ลูกค้าสามารถสั่งซ
ข้าวหอมไชยา เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่อยู่คู่ชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มานานนับร้อยปี มาถึงรุ่นหลังข้าวหอมไชยาเริ่มสูญหายไป ด้วยลักษณะพิเศษที่ต้องใช้ระยะเวลาการปลูกนานกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่นิยมปลูก จึงค่อยๆ สูญหายไป แต่ด้วยข้าวหอมไชยาเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เวลาออกรวงกลิ่นจะหอมไปทั่วทุ่ง เวลาหุงจะส่งกลิ่นหอมไปทั่วบ้าน ชาวบ้านอำเภอไชยาจึงอยากอนุรักษ์ไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลาน จึงกลับมารวมตัวกันเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา มีการคัดสายพันธุ์ใหม่และตั้งใจฟื้นฟูพันธุ์ข้าวหอมไชยาให้กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง คุณป้ายินดี เรืองฤทธิ์ ประธานอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง อยู่บ้านเลขที่ 20 บ้านขนอน ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บอกเล่าถึงความเป็นมาของการกลับมารวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยาว่า พันธุ์ข้าวหอมไชยาเป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของอำเภอไชยามานานนับร้อยปี ปลูกกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่ช่วงหลังมานี้ ข้าวหอมไชยา ได้หายไป ไม่มีคนปลูก นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายแทนชาวอำเภอไชยาที่ของดีเหล่านี้ได้หายไป ป้าและสมาชิกในกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์
จังหวัดสตูล เป็นแหล่งผลิตข้าวพื้นเมืองหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นข้าวเล็บนก ข้าวเฉี้ยง ข้าวบางแก้ว ข้าวหอมจันทร์ ข้าวหอมเหลือง ข้าวสังข์หยด ฯลฯ แต่น่าเสียดายกระแสความนิยมบริโภคข้าวพื้นเมืองมีแนวโน้มลดลง เหลือแค่ร้อยละ 25-30 เท่านั้น หากไม่ร่วมกันอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองไว้ให้เป็นมรดกลูกหลาน ในอนาคตพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเหล่านี้ก็คงจะเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ข้าวอัลฮัม บ้านเกตรี มีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่หายากอยู่ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ข้าวอัลฮัมดุลิลละฮฺ มาจากภาษามลายู แปลว่า ขอบคุณพระเจ้า ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ข้าวอัลฮัม ปลูกในพื้นที่ตำบลเกตรี มาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ที่ผ่านมา ข้าวอัลฮัม ปลูกกระจายไปถึงพื้นที่จังหวัดพัทลุงแต่ชาวนาพัทลุงกลับเรียกข้าวสายพันธุ์นี้ว่า “ข้าวขาวสตูล” ข้าวอัลฮัม ถือว่า มีลักษณะพิเศษคือ ทนต่อความเป็นกรดของดินในพื้นที่ภาคใต้ได้ดี เช่นเดียวกับ ข้าวพันธุ์ลูกแดง ข้าวขาวตายก ไข่มด ช่อมุก ดอนทราย ลูกเหลือง ข้าวแดง หมออรุณ รวงยาว สีรวง มัทแคนดุ เป็นต้น ซึ่งข้าวพื้นเมืองในกลุ่มนี้โดยทั่วไปจะมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณไร่ละ 15-40 ถัง หมู่บ้านเกตรี ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัด
สืบเนื่องจากนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ระบุว่าบทบาทของสภาเกษตรกรนั้นต้องมีทั้งในเรื่องของการผลิตการแปรรูป และการตลาด เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเพิ่มมูลค่าราคาผลผลิตได้รับผลตอบแทนสูงสุดนั้น สภาเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยนายสถาพร ศรีวันชื่น ประธานสภาเกษตรกร จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้กล่าวว่า จากการทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบลของสภาเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้มีการหารือร่วมกันทั้งภาคเกษตรกร ภาคท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน เห็นควรเปิดตลาดนัดชุมชนเมืองแม่ฮ่องสอน ที่บริเวณหน้า อบต.ผาบ่อง อ.เมือง เพื่อจำหน่ายสินค้าด้านการเกษตร ของฝาก และสินค้าชนเผ่า โดยให้เกษตรกรนำพืชผัก ผลไม้ท้องถิ่น ข้าวสาร อาหารชุมชน อาหารพื้นเมืองอาหารไทใหญ่ สินค้าของฝาก อาทิเช่น ป๊อบคร์อนไทใหญ่ ขนมไทใหญ่ สินค้าจักสาน หรือสินค้าอื่นๆมาวางจำหน่าย ซึ่งเปิดตลาดไปแล้วเมื่อวันที่25 มกราคม 2560 นอกจากการส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงสุดในรูปแบบการเปิดตลาดนัดชุมชนเมืองแม่ฮ่องสอนแล้ว ยังได้ทำการขยายตลาดในการเข้าร่วมโครงการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าโอท็อปสานสัมพันธ์สองแผ่นดินที่จังหวัดลอยก่อ รัฐคะยา