ข้าวยำ
หนูเป็นสาวใต้ลูกน้ำเค็ม สาวชนบทพื้นบ้านที่ชอบอยู่ในป่าธรรมชาติรอบๆ หมู่บ้าน แต่เด่นดังเพราะเคยมีเรื่องราวของหนูถูกนำไปเขียนไว้ในหนังสือประกอบงานสมัชชาเกษตรกรรมทางเลือก ครั้งที่ 2 ในงานมหกรรมเกษตรและอาหารปลอดสารพิษ จัดที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เกือบ 20 ปีมาแล้ว โดยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ได้ให้สมญานามว่า “ผักเหมียง…ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้” แม้ว่าได้ชื่อเป็นราชินีแห่งผักพื้นบ้าน แต่หนูก็ไม่ได้ใฝ่ฝันที่จะเข้าเป็นสาวเมืองกรุง อาจเป็นเพราะว่าชื่อของหนูเรียกเพี้ยนๆ คล้ายๆ กันแต่ละจังหวัดภาคใต้ และเวลาออกเสียงเป็นภาษาใต้ สำเนียงหนังตะลุง คนกรุงมักจะต้องถามว่า “ผักอะไรนะ?” “ชื่ออะไรนะ?” หนูรำคาญมาก เขาชอบพูดกันว่าชื่อแปลกดี แล้วยังออกเสียงยากอีก ถ้าจะเรียกชื่อหนูว่า “หนูเหมียง” ก็ฟังไม่เพราะ เรียก “ผักเหลียง” ก็ฟังแล้วบ้านน๊อกบ้านนอก คนในเมืองจึงเรียกหนูว่า “ใบเหลียง” หนูว่าน่ารักดี ความจริงหนูมีถิ่นกำเนิดในเอเชียคาบสมุทรมลายู แต่กระจายขึ้นมาอยู่ทางภาคใต้ ที่ กระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี ชุมพร และหนูก็มีหลายสายพันธุ์ ในเมืองไทยตระกูลของหนูก็เป็น Var. Tenerum เป็นพืชผักป่าธรรมชาต
ข้าวยำ เป็นอาหารที่เชื่อว่า ทุกคนน่าจะรู้จัก และเคยลิ้มลองมาแล้ว หรือบางคนเคยได้ยินชื่อ แต่ยังไม่เคยลิ้มลอง ถ้าเป็นคนใต้หรือเคยผ่านไปทางใต้ เมื่อพบอาหารชนิดนี้แล้ว เชื่อว่า ต้องรีบสั่งมาชิมทันที เพราะด้วยสีสันหน้าตาที่สวยงาม รสชาติกลมกล่อมจากเครื่องปรุงนานาชนิด จึงทำให้ ข้าวยำ กลายเป็นสัญลักษณ์อาหารปักษ์ใต้พื้นเมืองอีกเมนูหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก ข้าวยำ ทำจากข้าวที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนี่เอง แต่เพิ่มการปรุงแต่งเล็กน้อย เพื่อให้ข้าวเหล่านั้นมีสีสันและรสชาติที่น่ารับประทาน การทำข้าวยำปักษ์ใต้ให้อร่อย ต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ เริ่มแรกต้องเลือกซื้อบูดูดิบ โดยน้ำบูดูที่ดีต้องมีสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นหอมไม่เหม็นคาว เมื่อนำมาทำน้ำข้าวยำจะได้น้ำบูดุที่ดี รสไม่หวานหรือไม่เค็มเกินไป และไม่เหม็นคาว การทำข้าวยำของคนใต้จะอร่อยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำบูดู (น้ำบูดู เป็นเครื่องปรุงรสชนิดหนึ่งของอาหารใต้ มีรสเค็ม ทำมาจากเครื่องในปลาหมักกับเกลือ เนื่องจากน้ำบูดูมีรสเค็ม คนใต้จึงนำมาใส่อาหารแทนน้ำปลา) รสชาติของน้ำบูดูดิบจะมีรสเค็ม แหล่งที่มีการทำน้ำบูดูมาก คือจังหวัดยะลาและปัตตานี เวลานำมาใส่ในข้าวยำต้องเอ
ข้าวยำ เป็นอาหารที่เชื่อว่า ทุกคนน่าจะรู้จัก และเคยลิ้มลองมาแล้ว หรือบางคนเคยได้ยินชื่อ แต่ยังไม่เคยลิ้มลอง ถ้าเป็นคนใต้หรือเคยผ่านไปทางใต้ เมื่อพบอาหารชนิดนี้แล้ว เชื่อว่า ต้องรีบสั่งมาชิมทันที เพราะด้วยสีสันหน้าตาที่สวยงาม รสชาติกลมกล่อมจากเครื่องปรุงนานาชนิดจึงทำให้ ข้าวยำ กลายเป็นสัญลักษณ์อาหารปักษ์ใต้พื้นเมืองอีกเมนูหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก ข้าวยำ ทำจากข้าวที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนี่เอง แต่เพิ่มการปรุงแต่งเล็กน้อย เพื่อให้ข้าวเหล่านั้น มีสีสันและรสชาติ ที่น่ารับประทาน การทำข้าวยำปักษ์ใต้ให้อร่อย ต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ เริ่มแรกต้องเลือกซื้อบูดูดิบ โดยน้ำบูดูที่ดีต้องมีสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นหอมไม่เหม็นคาว เมื่อนำมาทำน้ำข้าวยำจะได้น้ำบูดุที่ดี รสไม่หวานหรือไม่เค็มเกินไป และไม่เหม็นคาว การทำข้าวยำของคนใต้จะอร่อยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำบูดู (น้ำบูดู เป็นเครื่องปรุงรสชนิดหนึ่งของอาหารใต้ มีรสเค็ม ทำมาจากเครื่องในปลาหมักกับเกลือ เนื่องจากน้ำบูดูมีรสเค็ม คนใต้จึงนำมาใส่อาหารแทนน้ำปลา) รสชาติของน้ำบูดูดิบจะมีรสเค็ม แหล่งที่มีการทำน้ำ บูดูมาก คือ จังหวัดยะลาและปัตตานี เวลานำมาใส่ในข้าวยำต้อ
ข้าวยำเป็นอาหารพื้นบ้านของปักษ์ใต้ที่นิยมบริโภคกันมาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการพัฒนาข้าวยำเป็นข้าวยำม้วนซูชิ ซึ่งเป็นเมนูเด็ดที่ผสมผสานระหว่างอาหารพื้นบ้านปักษ์ใต้กับกรรมวิธีการทำซูชิ รูปแบบอาหารญี่ปุ่น ซึ่งกลุ่มผลิตน้ำบูดูข้าวยำ บ้านดินลานหมู่ที่ 15 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ ได้คิดค้นสูตรนี้ขึ้นมา เพื่อให้เป็นอาหารสุขภาพที่ทานได้สะดวก และเอาใจกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบอาหารญี่ปุ่น ภายใต้แนวคิดเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยได้รับการสนับสนุนด้านกรรมวิธีจากวิทยาลัยเทคโนโลยีวชิราโปลีสงขลา และได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ตามแผนปฏิบัติการเดินหน้าสงขลา เดินหน้าประเทศไทย 2560 การทำข้าวยำม้วน ใช้สาหร่ายเป็นแผ่นห่อเช่นเดียวกับซูชิญี่ปุ่น จากนั้นใช้ข้าวที่หุงผสมกับข้าวเหนียววางลงบนสาหร่ายเกลี่ยให้บาง ๆ วางพืชผัก สมุนไพรในท้องถิ่นและเครื่องปรุงอื่นๆ ตามลำดับ ก่อนจะม้วนให้เป็นแท่งกลมๆ และตัดเป็นชิ้น แล้วราดน้ำบูดู นางแจ้ว ดำสุวรรณ ประธานกลุ่มผลิตน้ำบูดูข้าวยำ บ้านดินลาน บอกถึงจุดเด่นของข้าวยำซูชิว่า เป็นอาหารสุขภาพที่มีสารอาหารที่มีคุณค่าเหมาะกับคนทุกวัย พกพาสะดวก ตอบสน