ข้าว กข 43
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ข้าว กข 43 เป็นข้าวพันธุ์ใหม่ที่น่าสนใจ เพราะมีอายุสั้นเพียง 95 วัน ทนทานต่อโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นข้าวเจ้าที่ผสมระหว่างข้าวสุพรรณบุรี กับสุพรรณบุรี 1 มีการรับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 มีการปลูกกันมากที่จังหวัดสุพรรณบุรี คุณสมบัติพิเศษคือ ปริมาณน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ จากการลงพื้นที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ (สศท.1) เพื่อศึกษาพืชทางเลือกในพื้นที่จังหวัดลำพูน พบว่า นายสุพจน์ ป้อมชัย ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำพูน ได้นำพาเกษตรกรในชุมชนบ้านหนองสะลีก ตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จำนวน 7 ราย ปลูกข้าว กข 43 ในพื้นที่ 120 ไร่ โดยเริ่มช่วงฤดูฝนในปี 2561 ปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าว กข 43 แทนการปลูกข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 ซึ่งปลูกมาหลายปี ปรากฏว่า ข้าว กข 43 ได้รับผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ย 820 กิโลกรัม/ไร่ (คิดเป็น 459 กิโลกรัมข้าวสาร) ซึ่งผลผลิตสูงสุดสามารถผลิตข้าวเปลือกได้ถึง 1,060 กิโลกรัม รวมผลผลิตทั้งหมด 98 ตั
‘ข้าว กข 43’ เส้นทางสู่อนาคต ของเกษตรกรไทย เกิดขึ้นภายใต้โครงการแปลงใหญ่ข้าวประชารัฐ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เป็นการผสานพลังร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กรมการข้าว องค์กรชั้นนำเรื่องวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าว พลังเครือข่ายชาวนาไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกข้าว และภาคเอกชน บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จากัด (หรือ ข้าวตราฉัตร) ผู้เชี่ยวชาญช่องทางตลาด นับเป็นจุดเริ่มต้นร่วมกันผลิต ‘ข้าวดัชนีน้ำตาลปานกลางค่อนไปทางต่ำ สายพันธุ์พิเศษ ข้าว กข 43 ‘แบบครบวงจรครั้งแรก เจาะตลาดคนรุ่นใหม่ กลุ่มคนรักสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มโรงพยาบาล มุ่งหวังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาไทยให้ดียิ่งขึ้น พร้อมส่งมอบข้าวเพื่อสุขภาพ ทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค ในไตรมาส 4 ปีนี้ ซึ่งภายในงานโครงการแปลงใหญ่ข้าวประชารัฐ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี‚ ข้าว กข 43 ผสานพลังเพื่อสุขภาพ สู่อนาคต’ บริษัทสนับสนุนเครดิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กข 43 จากกรมการข้าว จำนวน 94 ตัน มอบให้กับเกษตรกรสมาชิกในโครงการกว่า 200 ราย ถือเป็นปฐมฤกษ์ครั้งสาคัญ ตั้งเป้าฤดูกาลผลิตข้าว กข 43 รุ่นนาปี 61 บนพื้นที่ครอบคลุมกว่า 5,000 ไร่ คาดเก็บเก