คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดสอนการทำว่าวไทย ในรูปแบบ “โครงการบริการชุมชนและจิตอาสาฝึกอบรมวิชาชีพว่าวไทย” โดยเปิดสอนเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2562 ณ วิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา ซึ่งได้ครูทำว่าวมือฉมัง ที่รู้จักกันในนาม “ซุปเปอร์เป็ด” หรือนายปริญญา สุขชิต อดีตนักเชียร์ชื่อดังของประเทศไทย และเป็นผู้สืบสานตำนานว่าวไทยมือฉมัง ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า สอศ.ได้น้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการสืบสาน รักษา ต่อยอด สิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนสืบไป จึงได้ประชุมหารือกับสถานศึกษาประเภทวิทยาลัยสารพัดช่างทั่วประเทศ ให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น เพื่อให้ประชาชนที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับความเป็นไทยในอดีต เช่น อาชีพ การละเล่น และกิจกรรมกีฬา อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประกอบอาชีพ หรือทำเป็นอาชีพเสริมได้ โดยวิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา ได้จัดฝึกอบรมวิชาชีพว่าวไทยขึ้น ใช้เวลา 3 วัน เปิดรับสมัครให้นักเรียน นักศึกษา ครู และประชาชนทั่วไปที่
โครงการ “Enjoy Science: Young Makers Contest” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Enjoy Science : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต” เพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ผ่านการพัฒนาการศึกษาในสาขาสะเต็ม ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมของเยาวชนสู่การเป็นกำลังคนที่มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งการจัดประกวดได้มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว และเป็นจุดกำเนิดเมกเกอร์เยาวชนรุ่นใหม่หลายพันคนจากโครงการฯ นี้ ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า “ในสถานการณ์ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมโลกกำลังมุ่งไปสู่ยุค 4.0 บุคลากรที่เป็นที่ต้องการจำนวนมากในขณะนี้ คือเยาวชนรุ่นใหม่จากอาชีวศึกษาและช่างเทคนิคที่มีทักษะเฉพาะด้านที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ศตวรรษที่ 21 ดังนั้น ภารกิจหลักของอาชีวะ คือ มุ่งหาแนวทางเพิ่มปริมาณและคุณภาพนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งโครงการ “Enjoy Science: Young Makers Contest” เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ส่งเสริมการศึกษาและมีการดำเนินการอย่า
ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า การจัดการอาชีวศึกษา เน้นการเรียนการสอนด้านทักษะวิชาชีพ ซึ่งวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรเป็นอีกหนึ่งสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา มีทักษะวิชาชีพ โดยน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร คือ การมีทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อบ้านเมือง การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง ในด้านคุณธรรม จริยธรรม การมีงานทำ มีอาชีพ การเป็นคนดีของสังคม ดังนั้น สอศ. จึงได้ส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา ทุกคนมีโอกาสทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี มีจิตอาสา มีน้ำใจ มีความเอื้ออาทร ทำงานอาสาสมัคร และงานบำเพ็ญประโยชน์ รวมถึงการอนุรักษ์ สืบสาน ส่งเสริมและพัฒนางานด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ทั้งนี้ วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ได้จัดตั้งศูนย์บริรักษ์ไทยขึ้น เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมข้อมูล ผลงานศิลปประดิษฐ์ ประณีตศิลป์ งานดอกไม้ ใบตอง เครื่องหอมไทย และเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปะ หัตถศิลป์ และวัฒนธรรมไทย โดยศูนย์บริรักษ์ไทยได้รับรางวัลเหรียญทอง ชนะเลิศ และเหรียญทอง ระดับชาติ
ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ร่วมกันกำหนดแนวทางในการสานต่อพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 9 นำองค์ความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผสมผสานกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจในยุค 4.0 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง และยั่งยืน โดยส่งเสริมให้ วิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยให้ครู นักเรียน นักศึกษา และชุมชน คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมใหม่ด้านชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะขยายผลการดำเนินงานสู่ชุมชนท้องถิ่น ได้อย่างเป็นรูปธรรม เลขาธิการกอศ. กล่าวต่อว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาด้านเกษตร พัฒนาคุณภาพชีวิตของท้องถิ่น ตลอดจนรักษาสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการมามาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งปัจจุบัน มีวิทยาลัยเกษตรและและเทคโนโลยี 4 แห่ง เป็นศูนย์ประสานงานโครงการ ฯ โดยมีสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดรวมจำนวน 1