คณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
เมื่อวันที่ 29 มกราคม นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความคืบหน้าการออกกฎกระทรวง 8 ฉบับ ว่า จากกรณีที่ เมื่อวันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้มีการทูลเกล้า พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ อย.จึงต้องเร่งดำเนินการออกกฎหมายลูกภายใน 2 เดือน โดยในจำนวน 8 ฉบับนั้น มี 4 ฉบับ ที่มีเนื้อหาคล้าย พ.ร.บ. เดิม 4 ประกอบด้วย การทำบัญชี รับ จ่าย การนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งส่วนนี้จะใช้โครงร่างเดิม แต่จะมีระยะเร่งด่วน 4 ฉบับ ที่ต้องเร่งทำ เช่น 1.การปลูก การผลิต การนำเข้า ต้องทำอย่างไรบ้าง 2.การกำหนดให้แพทย์แผนไทยประเภทใดสามารถใช้ได้หรือต้องมีคุณสมบัติใดบ้าง 3.ข้อบ่งใช้ของโรคชนิดของโรคทั้งแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบันว่าจะใช้แบบใดบ้าง และ 4.การอนุญาตให้ผู้ที่เคยถือครองก่อนที่ พ.ร.บ. จะออกต้องมาแจ้งก่อนภายใน 90 วัน พร้อมกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะสามารถครอบครองกัญชาได้ นพ.สุรโชค กล่าวอีกว่า ทั้ง 4 ฉบับนี้ จะมีการนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ โดยมี 1 ฉบับ คือเรื่องการผลิตนำเข้า เป็นกฎกระทรวงต้องเสนอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุ
อย. จับมือ กรมประมง แจงเรื่องปลานำเข้าจากจังหวัดฟุกุชิมาประเทศญี่ปุ่นมีการนำเข้าอย่างถูกต้องเป็นไปตาม ข้อกำหนดประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ขอผู้บริโภคอย่าวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัย เพราะการนำเข้าปลาจากทุกประเทศ เจ้าหน้าที่ด่านประมงมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด รวมทั้ง อย. ยังทำหน้าที่เฝ้าระวังตรวจสอบมิให้มีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในประเทศอย่างเข้มงวด แต่หากพบการปนเปื้อนที่เป็นอันตรายก็จะสั่งเรียกคืนหรือระงับการนำเข้าทันที นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง ร่วมกันแถลงข่าวว่า กรณีสื่อญี่ปุ่นรายงานข่าวว่าประเทศไทยได้นำเข้าปลาจากจังหวัดฟุกุชิมา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดปัญหาโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดเมื่อปี 2554 และปัจจุบันมีการนำเข้าเนื้อปลามาขายที่ร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมประมง ขอชี้แจงข้อมูลให้ประชาชนทราบว่า อย. ได้ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าอาหาร โดย อย. ได้ถ่ายโอนภารกิจการตรวจสอบการน