คณะวิศวกรรมศาสตร์
การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 (ME-NETT 37th) ระหว่างวันที่ 25 – 28 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมเดอะเบด เวเคชั่น ราชมังคลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 พิธีเปิดการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 ประจำปี พ.ศ.2566 (ME-NETT 37th) โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นประธานเปิดงานประชุมฯ รองศาสตราจารย์สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย กล่าวต้อนรับ และรองศาสตราจารย์จารุวัฒน์ เจริญจิต ประธานจัดงานประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 กล่าวรายงานในพิธี ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมดังกล่าวร่วมกับสมาคมวิศวกรเครื่องกลไทย โดยมีการพิธีมอบของที่ระลึกและใบประกาศผู้ให้การสนับสนุนการจัดงาน และมอบขอบที่ระลึกให้แก่ Keynote speaker โดยศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี และศาสตราจารย์ ดร.กุลเชษฐ์ เพียรทอง นายกสมาคมฯ โดยศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชระ กัญจนกาญจน์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เปิดเผยว่า การจัดการแข่งขัน Cobot Contest Thailand 2022 โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดี มทร.สุวรรณภูมิ ให้นโยบายและสนับสนุนให้คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands on) ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ได้มาตรฐาน การจัดการแข่งขันครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ร่วมกับ บริษัท ยูเอสอีโฟล-ไลน์ จำกัด และบริษัท เอบีบี (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความรู้ ความสามารถในการใช้ทักษะ เขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Cobot (Collaborative robot) อีกทั้งยังเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ก้าวไปสู่บุคลากรที่มีศักยภาพสู่ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมและเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ก้าวไกลในอนาคต สำหรับการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ รอบที่ 1 เป็นการแข่งขันการทำโปรแกรม
ศาสตราจารย์ ดร. สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี มอบหมายให้ ผศ. ขวัญหทัย ใจเปี่ยม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย พร้อมด้วยคณะร่วมนำเสนอกว่า 32 ผลงาน ในงาน TRM-Day ณ ห้องนครรังสิต บอลรูม โรงแรม โนโวเทล กรุงเทพฯ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จังหวัดปทุมธานี โดยโครงการสัมมนาวิชาการและนวัตกรรมการทำงานของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ร่วมกับสถานประกอบการ (RMUT-TRM Day) เป็นความร่วมมือของ 9 มทร. ร่วมกับ บพค. สอวช. โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) เป็นเจ้าภาพ ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย ได้ดำเนินงานร่วมกับกลุ่มชุมชน สถานประกอบการ โดยมีเป้าหมายในการสร้างระบบและกลไกอำนวยความสะดวก สำหรับผลงาน 32 ผลงาน ที่นำเสนอ ได้ผ่านการดำเนินการร่วมกับชุมชน และสถานประกอบการ โดยเป็นผลงานที่เกิดจากการร่วมมือกันของนักวิจัย มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง วิทยาเขตนครศรีธรรมราช และพื้นที่สงขลา ดำเนินโครงการตามแพลตฟอร์มบริหารจัดการทรัพยากรผู้มีศักยภาพของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อปฏิรูประบบแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ (TRM
นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี พร้อมด้วยสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ สถาบันอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง รวมถึงสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เข้าแนะแนวการศึกษาต่อแก่นักเรียนสาขาวิชาเกษตรนวัต ภายใต้การเรียนการสอนของโรงเรียนวังจันทร์วิทยา และสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ณ ห้องประชุมโรงเรียนวังจันทร์วิทยา จังหวัดระยอง เพื่อเชื่อมต่อโอกาสทางการศึกษา เตรียมความพร้อมและเห็นโอกาสแห่งอาชีพ ก่อนก้าวสู่เส้นทางในระดับอุดมศึกษาต่อไป นายกสภา มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า กิจกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่จัดขึ้นนี้เกิดจากความร่วมมือของ 4 สถาบันการศึกษาที่ได้ผนึกกำลังด้วยความตั้งใจให้กับนักเรียนสาขาวิชาเกษตรนวัตทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย นำโดย มทร.ธัญบุรี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ สถาบันอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง และสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในการจะส่งต่อโอกาสการศึกษา ให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อให้นักเรียนสามารถมองเห็นลู่ทางของตนเองเกี่ยวกับการเรียนในด้านเทคโนโลยีการเกษตร และคณะวิศวกรรมศา
ในสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด – 19 จะเห็นได้ว่ายังคงมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ วัน และสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องนำมาใช้ในชีวิตประจำวันนั่นคือ หน้ากากอนามัย ซึ่งเมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ จึงทำให้หน้ากากอนามัยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้ประชาชนสนใจ และหันมาเลือกใช้เป็นจำนวนมาก เมื่อมีความต้องการมากจึงทำให้หน้ากากอนามัยมีราคาที่สูงขึ้นและขาดตลาดไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้โดยเฉพาะโรงพยาบาลต่างๆ ที่มีความต้องการใช้หน้ากากอนามัยในการรักษาผู้ป่วย หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องนุ่งห่ม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย จึงได้เร่งผลิตหน้ากากอนามัยโดยใช้วัสดุเป็นผ้าฝ้ายและนำเทคโนโลยีสะท้อนน้ำมาปรับใช้กับหน้ากากผ้าธรรมดาๆ ให้สามารถป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและช่วยลดการซึมซับได้เป็นอย่างดี โดยการนำผ้ามาแช่สารนาโนสะท้อนน้ำ ทำการขย้ำผ้า 5 นาที และแช่อีก 10 นาที เสร็จแล้วเอาเข้าตู้อบความร้อนอุณหภูมิ 100 องศา ประมาณ 30 นาที แล้วนำมาอัดกับเครื่องรีด แล้วจึงนำไปสู่กรรมวิธีการตัดเย็บ ผศ. พันธ์ยศ และ ผศ. พรโพยม วรเชฐวราวัตร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรว
ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม ประเทศไทยเผชิญสภาพอากาศขมุกขมัว เนื่องจากสภาพอากาศนิ่ง ไม่มีกระแสลม ทำให้มีหมอกควันพิษที่เกิดจากการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เกินกว่าค่ามาตรฐาน เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน เพราะฝุ่นละออง PM 2.5 สามารถผ่านทางเดินหายใจสู่ปอดและกระแสเลือดได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคระบบทางเดินหายใจ กระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก ฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล การก่อสร้าง ภาครัฐจึงวางแผน แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นวาระแห่งชาติ เช่น ควบคุมพื้นที่ก่อสร้าง ที่ก่อให้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ลดการเผาวัชพืช ลดการใช้รถเก่าที่ก่อให้เกิดควันดำกิจกรรมการปิ้ง-ย่างอาหาร เช่น หมูกระทะ หมูปิ้ง ไก่ย่าง ปลาเผา ปลาหมึกย่าง ฯลฯ นับเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง PM 2.5 โดยวัดจากค่าอัตราการระบายฝุ่น (Emission rate) มีผลวิจัยยืนยันแล้วว่า กิจกรรมการปิ้งย่างอาหารมีการระบายมลพิษออกสู่บรรยากาศ สามารถสร้างฝุ่นละออง PM 2.5 สูงกว่ารถยนต์ถึง 2 เท่าตัว ดังนั้นร้านขายอาห
โดยทั่วๆ ไป จะเห็นว่า แมว ชอบถ่ายสิ่งปฏิกูลไว้ตามกองทราย แล้วสำหรับคนรักแมว และเลี้ยงแมวส่วนใหญ่ยังใช้ ทราย (ก่อสร้าง) ดับกลิ่นสิ่งปฏิกูล แต่ในปัจจุบันได้มีการผลิตทรายที่ใช้แทนทราย (ก่อสร้าง) สำหรับแมวโดยเฉพาะ ซึ่งทรายแมวที่นำมาทดแทน ทราย (ก่อสร้าง) ผลิตจากสารไซโตรไนต์ มีคุณสมบัติดูดซับความชื้น และกลิ่นจากสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากแมวได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการทำบรรจุภัณฑ์ “ทรายแมว” สำหรับวางไว้ให้แมวที่เลี้ยงไว้ในบ้านได้ถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปและไม่ให้มีกลิ่น หรือความอับชื้นรำคาญใจแก่ผู้เลี้ยง ทั้งนี้ ในการบรรจุ ทรายแมว ในกล่องบรรจุภัณฑ์ผู้ประกอบการมักจะประสบปัญหา ฝุ่น ที่เกิดขึ้น เป็นอุปสรรคในการบรรจุอย่างมาก ดังนั้น นักศึกษากลุ่มหนึ่งจึงนำปัญหาดังกล่าวมาช่วยกันศึกษา จนกระทั่งได้ช่วยกันประดิษฐ์ เครื่องแยกฝุ่นทรายแมวขึ้น เพื่อนำไปใช้ก่อนบรรจุ และขายให้กับผู้เลี้ยงแมวต่อไป ผลงานนี้ได้รับการเปิดเผยจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เครื่องแยกทรายแมวนี้ ใช้ลมในการแยกฝุ่นทรายแมว เพื่อลดระยะเวลาในการแยกฝุ่น ขั้นตอนการทำงานของเครื่องคือ เมื่อเททรายแมวลงไปในเค