ครัวชาวบ้าน
หลายคนอาจจะคุ้นชินกับอาหารจานด่วนหรือกินอาหารนอกบ้าน จนรู้สึกจำเจ กระทั่งในบางครั้งยังนึกไม่ออกว่าจะสั่งอาหารอะไรดี น้ำพริกปลาทู กับข้าวคู่บ้าน ที่กินไม่รู้เบื่อ เป็นเมนูที่แสนธรรมดาแต่ว่ากินได้บ่อยครั้งครับ ยิ่งในช่วงหน้าฝนด้วยแล้วผักข้างรั้วแตกผลิ ไม่ว่าจะเป็นยอดกระถิน ชะอม ตำลึง และอื่นๆ ก็ล้วนแต่เก็บมากินสดๆ ลวกกินกับน้ำพริกปลาทูได้ด้วยกันทั้งนั้น สำหรับการทำน้ำพริกปลาทูนั้นก็แสนเรียบง่าย ไม่ยุ่งยากมีขั้นตอนดังนี้ ย่างปลาทูให้สุก กะพอประมาณ 1 ถ้วย คั่ว พริก หอม กระเทียมในกระทะเพื่อใช้ปรุง แกะปลาทูเอาเฉพาะเนื้อ ตำเนื้อปลาทูกับพริก หอม กระเทียม ที่คั่วเตรียมไว้ ตำให้เข้าเนื้อ ตักใส่ถ้วยละลายด้วยน้ำอุ่น คนให้เข้ากันตามชอบ เหยาะผงชูรสนิดหน่อย แล้วเหยาะน้ำปลาอีก 1 ช้อน หั่นต้นหอมลงถ้วย เพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำพริกปลาทูรสอร่อยที่อยู่คู่ครัวเรือนมานาน และกินได้บ่อยครั้งโดยไม่รู้เบื่อ ปัจจุบัน เมนูอาหารบ้านเราได้รับความนิยมหลากหลายชนิด เช่น ส้มตำ ลาบ ผัดกะเพรา ผัดไทย ต้มข่าไก่ ฯลฯ ถ้าหากว่าวันไหนเบื่ออาหารที่ค่อนข้างมันและอาหารจานด่วนทั้งหลาย ก็หันมากินอาหารเรียบง่ายที่อยู่คู่บ้านมาช้านาน เช
เคยได้ยินคำว่า “แกงเทโพ” กันมานานมากและรู้จักคุ้นเคยแกงเทโพนี้เป็นอย่างดี แกงเทโพนี้มีมาช้านานเท่าที่จำความได้ เกิดมาพอโตขึ้นมา ท่านแม่ก็แกงเทโพให้กินแล้ว แต่เป็นแกงเทโพที่ใส่หมูสามชั้น เรียกกันติดปากว่า “แกงหมูเทโพ” เป็นแกงคั่วผักบุ้ง ใส่หมูสามชั้น มีมันของหมูสามชั้นที่ติดเนื้อมาด้วยเป็นตัวชูรส เข้ากันดีกับกะทิ น้ำมะขาม น้ำปลา เป็นแกงไทยที่มาจากภูมิปัญญาที่มาจากผักบุ้ง พริกแกง กะทิ น้ำมะขาม น้ำปลา เข้าจนกลมกล่อมชวนกิน ให้คุณค่าทางอาหารครบ แกงเทโพแต่เดิมไม่ได้ใส่หมูสามชั้น แต่ใส่เนื้อปลาเทโพ ปลาเทโพ (Black Ear Catfish) เป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด ตระกูลเดียวกับปลาสวาย แต่ตัวสั้นป้อมกว่า มีจุดดำอยู่ข้างหู หรือข้างครีบส่วนหัว ปลาเทโพชอบอาศัยอยู่ในแม่น้ำที่มีน้ำไหลขึ้น-ลงอยู่ตลอดเวลา มีมันน้อย เนื้อมีมาก มีรสชาติดี ไม่มีกลิ่นคาว ปลาเทโพชอบอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปราศจากมลพิษใดๆ แต่ก่อนมีมากในแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรี สะแกกรัง มีชุกชุม แถวอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ ที่อุทัยธานี มีเกาะหนึ่ง ชื่อ “เกาะเทโพ” เป็นเกาะน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด มีสถานภาพเป็นต
“น้องควาย” หรือ “รกควาย” หลังจากที่ควายออกลูกได้ประมาณ 30 นาที น้องควาย (รก) ก็จะหลุดออกมา เจ้าของควายต้องเฝ้าให้ดี เพราะถ้าหากไม่เฝ้า แม่ควายที่เพิ่งเหน็ดเหนื่อยจากการคลอดลูกก็จะกินจนหมดเกลี้ยง ซึ่งจากการสอบถามก็ได้รับคำตอบคล้ายกันว่า ที่แม่ควายกินรก หรือที่ภาษาอีสานเรียกว่า น้องควายนั้น ก็คงเป็นเพราะสัญชาตญาณการทำความสะอาดเลียลำตัวให้ลูก ดังนั้น ในเวลาที่ควายออกลูกจึงต้องเฝ้าเพื่อที่จะได้น้องควายมาทำอ่อม สำหรับการตั้งท้องนั้น ควายจะตั้งท้องนานประมาณหนึ่งปี มากกว่าคนที่ตั้งท้องนานเก้าเดือน บางคนนานถึง 10 เดือนก็มี ถ้าหากเป็นหมูจะตั้งท้อง 110 วัน ดังที่มีคำชาวอีสานที่กล่าวเป็นคำคล้องจองจดจำง่าย ว่า “หมูมานขา หมามานหู” หมายถึง หมูตั้งท้องนานสี่เดือน (หมูมีสี่ขา) ส่วนหมา หรือสุนัข ตั้งท้องสองเดือนเพราะมี สองหู ปัจจุบัน ราคาน้องควาย น้องวัว ทุกวันนี้จะราคาประมาณกิโลกรัมละ 300 บาท น้องควายจะมีน้ำหนักประมาณสองกิโลกรัม ใหญ่กว่าน้องวัว สำหรับน้องวัวที่เห็นขายตามข้างทางนั้นส่วนใหญ่จะนำมาจากฟาร์มเลี้ยงวัว แต่น้องควายนั้นจะมาตามบ้านที่เลี้ยงควาย ขั้นตอนการทำอ่อมน้องควาย ต้องล้างน้ำทำความสะอาดน้อ
อาหารว่าง คืออาหารที่เรากินก่อนที่จะเข้ามื้ออาหารหลัก เป็นอะไรที่น้อยๆ เบาๆ มีทั้งรสคาว และรสหวาน ชิ้นเล็กพอดีคำ นิยมกินกับเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น อาหารว่างของไทยปัจจุบันส่วนมากจะเป็นขนมปังหรือพายต่างๆ อาจเพราะได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งนั่นเอง แต่ขอบอกว่า คนไทยเราเองก็มีอาหารว่างที่เป็นตัวของตัวเองเช่นกัน ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นอาหารคาว อย่างเช่น หมูโสร่ง กระทงทอง สาคูไส้หมู เมี่ยงคำ เป็นต้น เมี่ยงคำน้ำลายสอ เมี่ยงสมอเมี่ยงปลาทู ข้าวคลุกคลุกไก่หมู น้ำพริกกลั้วทั่วโอชา เมี่ยงคำ เป็นอาหารว่างที่มีมานาน พบในบทพระราชนิพนธ์ กาพย์เห่ชมเครื่องว่าง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นิยมใช้เป็นอาหารสำหรับการสังสรรค์ ปิกนิกในครอบครัว หรือในหมู่เพื่อนฝูง วิธีการกินเมี่ยงคำให้อร่อยๆ โดยการจัดใบชะพลู หรือใบทองหลางใส่จานวางเครื่องปรุงทุกอย่างบนใบชะพลู หรือใบทองหลาง ตักน้ำเมี่ยงหยอดห่อเป็นคำๆ ทีนี้ก็ม้วนแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวหมุบๆ หมับๆ แค่นี้ก็ฟินสุดๆ แล้ว เมี่ยงคำ อาหารว่างสมุนไพร เมี่ยงคำ เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางสมุนไพรสูง เพราะมีคุณสมบัติในการบำรุงรักษาธาตุทั้ง 4 เพื่อให้สมด
ปัจจุบันมีผักพื้นบ้านหลายชนิดที่ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกเพื่อการค้า และนำมาขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต และตลาดสดในเมือง เช่น ผักหวาน ผักปลัง ยอดฟักแม้ว ยอดฟักทอง คนเมืองทั้งหลายที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับผักพื้นบ้านก็พลอยได้ลิ้มรสผักทางเลือกชนิดใหม่ๆ มากขึ้น บังเอิญที่ผู้เขียนได้มีโอกาสผ่านไปแถวๆ ทางภาคเหนือในช่วงนั้นพอดี จึงได้พบเห็นกับผักชนิดหนึ่งที่ดูแปลกและน่าสนใจ ด้วยเพราะไม่เคยเห็นและไม่เคยรู้จักมาก่อน จึงได้สอบถามแม่ค้า ทำให้รู้จักผักชนิดนี้ ที่ชื่อว่า ดอกสะแล จากคำบอกเล่าของแม่ค้า ผักชนิดนี้แม้จะยังไม่มีปลูกเป็นการค้า แต่ก็พอหาซื้อมากินกันได้ไม่ยากนัก ลักษณะทั่วไป ดอกสะแล หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า ดอกสาแล เป็นไม้เลื้อยยืนต้น พบได้ทั่วไปทางภาคเหนือ มักขึ้นตามชายป่า ตามเรือกสวนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ สะแล จะออกดอกมากช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม สำหรับผักชนิดนี้ชาวบ้านนั้นไม่ต้องปลูกไว้กินเองหรือต้องซื้อหาเหมือนผักอื่นๆ แค่เดินออกไปชายป่าก็เก็บดอกสะแลได้พอแกงแล้ว แถมยังเหลือนำมาขายให้เราได้กินอีกด้วย สะแล มีดอกเพศผู้กับเพศเมียอยู่คนละต้น ลักษณะของดอกเพศผู้ ยาว รี คล้ายก้านพริกไทยสด ชาวเมืองเรียกว่า สะแ