ควายน้ำ
“ควายน้ำ” เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ตั้งอยู่ส่วนบนสุดของของทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นทะเลแบบลากูนทำหน้าที่ในการเชื่อมลุ่มน้ำปากพนังเเละลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเข้าด้วยกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) แห่งเดียวของไทย โดยในพื้นที่นี้มีภูมิปัญญาที่สืบทอดมากว่า 200 ปี คือ “วิถีการเลี้ยงควายปลัก” ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีระบบการเลี้ยงแบบปล่อยให้ควายหากินอย่างอิสระในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ ถือเป็นการทำหน้าที่ในระบบนิเวศ ทั้งการสร้างทางน้ำ ระบบนิเวศทุ่งหญ้า ควบคุมปริมาณพืชน้ำ และช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์เพื่อเร่งการฟื้นตัวของป่าพรุ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งเก็บน้ำและแหล่งดูดซับคาร์บอนที่สำคัญของโลก นอกจากนี้ “ควายน้ำ” ยังได้ขึ้นทะเบียนว่าเป็น “มรดกโลกทางการเกษตร” อีกด้วย นายพรประเสริฐ เกื้อคราม รองประธานเกษตรกรกลุ่มควายน้ำทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า “…ทำอาชีพเลี้ยงควายมา 14 ปี แล้ว ซึ่งแต่เดิมในพื้นที่นี้มีการทำเกษตรกรรม เป็นทุ่งนา ควายส่วนใหญ่ก็เลี้ยงเพื่อทำการเกษตร แต่เมื่อสภาพพื้นที่เปลี่ยนไป ทำให้ชุมชนไม่สามารถทำการเกษตรได้ และเปลี่ยนวิถีอา
ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ที่ในช่วงฤดูน้ำหลาก ทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่งหากินของควายต้องจมอยู่ใต้ผืนน้ำเป็นเวลา 5 เดือน ใน 1 ปี ส่งผลให้ควายต้องปรับตัวอาศัยหากินด้วยการว่ายน้ำเป็นระยะทางไกล เพื่อดำน้ำลงไปกินหญ้าที่จมอยู่ใต้น้ำ บางตัวสามารถดำน้ำได้นาน จะมุดหัวลงน้ำ เท้าหลังชี้ขึ้นฟ้ากินหญ้า น้ำ ได้คราวละหลายนาที ส่วนลูกควายตัวเล็กจะดำน้ำลงไปทั้งตัว เป็นภาพที่ชาวทะเลน้อยเห็นชินตามาหลายชั่วอายุคน จนเรียกขานควายในทะเลน้อยว่า “ควายน้ำ” ถึงแม้ว่าควายเหล่านี้จะว่ายน้ำ อยู่ในน้ำ ดำน้ำกินหญ้าได้ก็ตาม แต่กรณีที่น้ำท่วมสูง ขาควายหยั่งน้ำไม่ถึง ลอยน้ำตลอด ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า หมดแรง ทำให้จมน้ำตายมาแล้วกว่า 50 ตัว และอาจจะมีทยอยตายเรื่อยๆ โดยเฉพาะลูกควายเผือกที่กำลังอยู่ในวัยกินนม หัวหน้าและเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้เข้าติดตาม ช่วยเหลือควายน้ำที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยนั่งเรือเข้าไปหลายกิโลเมตร กรณีควายน้ำหรือควายทะเลที่ได้รับผลกระทบ ทีมง
จากกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยกรรมาธิการเศรษฐกิจ พาณิชย์ อุตสาหกรรม แรงงาน และที่ปรึกษาโครงการโคเนื้อศรีวิชัยจังหวัดพัทลุง มีความเห็นว่า ควายหรือควายน้ำจังหวัดพัทลุงมีการขยายผลต่อยอด จึงได้มีโครงการส่งเสริมการผสมพันธุ์ ระหว่างควายน้ำพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง กับควายนม ประเทศปากีสถาน เพราะมีสภาพที่คล้ายคลึงกัน จึงเหมาะสมกว่าควายนมของประเทศอินเดียและประเทศอิตาลี จากการไปศึกษาดูงานมาจากประเทศดังกล่าว โครงการนี้ จะเป็นการขยายผลต่อยอดอย่างขนานใหญ่ในวงการปศุสัตว์ไทย จึงใช้คอนเน็กชั่นส่วนตัว ประสานงานและอยู่ระหว่างการเจรจากับประเทศปากีสถาน เพื่อนำควายนมมาผสมพันธุ์กับควายน้ำพัทลุง แต่หากไม่ได้ตัวควายนมก็ให้ได้น้ำเชื้อมาผสมพันธุ์ จะได้ลูกผสม ประเทศปากีสถานไม่ส่งเสริมการนำควายนมออกนอก ซึ่งเป็นการต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ดีกว่าการรอขาย หรือเชือดชำแหละขายเนื้อ เป็นต้น สำหรับเนื้อควาย กับเนื้อวัวนั้นราคาค่อนข้างจะใกล้เคียงกัน ประเด็นสำคัญการสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นอย่างมาก โดยควายนมจะมีปริมาณน้ำนมสูงกว่านมวัวกว่าเท่าตัว สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายไม่ซ้ำกับใคร การส่งเสริมสนับสนุนพั
โรคผิวหนังระบาด อ.กระแสสินธ์ พ่อค้าวัวและควาย ”โหด” นำรถบรรทุกเข้าพื้นที่น้ำท่วมซื้อราคาต่ำ ผู้ว่าฯสงขลาขอกองเรือยุทธการติดตั้งเรือผลักดันเพิ่ม วันที่ 29 ม.ค.รายงานข่าวว่าขณะนี้มีน้ำท่วมขังในหลายชุมชน ต.โรง ต.เชิงแส อ.กระแสสินธ์เป็นเวลานับเดือน ทำให้วัชพืชเน่าเปื้อย น้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน โรคผิวหนังกำลังระบาด บางบ้านทนไม่ได้ต้องอพยพย้ายไปอาศัยบ้านญาติชั่วคราว นายทิวา สังขปุญญา นายก ทต.เชิงแสกล่าวว่าสภาพน้ำท่วมโดยทั่วไป กลับเข้าสู่ภาวปกติแล้ว เหลือน้ำท่วมขังในที่ลุ่มและนาข้าวเช่นเดียวกับ ต.โรง ต้นข้าวและหญ้าเน่าเปื้อย ปัญหาที่กำลังเกิดคือประชาชนเป็นโรคผิวหนังและสัตว์เลี้ยงขาดแคลนอาหารพืชสด สิ่งที่ต้องการความช่วยเหลือนอกจากถุงยังชีพแล้ว มีเวชภัณฑ์และอาหารสัตว์ รายงานข่าวจาก ต.บ้านขาว อ.ระโนดซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการเลี้ยงสัตว์วัวและควายน้ำ กำลังประสบปัญหาขาดแคลนอาหารพืชสดอย่างรุนแรง เนื่องจากหญ้าน้ำท่วมขังเป็นเวลากว่า 1 เดือนเน่าตาย ทำให้สัตว์เลี้ยงผอมโซจากขาดแคลนอาหาร หลายตัวล้มตายเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ มีพ่อค้านำรถบรรทุกเข้าไปซื้อวัวและคว