คาร์บอน
(2 พฤษภาคม 2567) สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการความร่วมมือการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาเขตนวัตกรรม Net Zero Emission สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (SARABURI SANDBOX)” บรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission ดร.ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่าง TCMA และ สอวช. ในวันนี้ นับเป็นอีกก้าวของความร่วมมือเดินหน้าสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ (SARABURI SANDBOX LOW CARBON CITY) ที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาสนับสนุนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน Energy Transition ไปสู่การบรรลุเป้าหมาย Thailand 2050 Net Zero Cement and Concrete รวมถึงเชื่อมโยงการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการพัฒนาเขตนวัตกรรม Net Zero Emission สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (SARABURI SANDBOX) โดยโครงการแรกที่จะร่วมกันดำเนินการคือ การศึกษาการใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เมทานอล ครอบ
ขับเคลื่อน ESG ด้วย “เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน” สู่เป้าหมายสังคมไร้คาร์บอน เปลี่ยนมลพิษเป็นพลังงาน ลดโลกร้อน หลายประเทศทั่วโลก กำลังเผชิญกับอุณหภูมิสูงจากคลื่นความร้อน (Heat Wave) มีผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตหลายราย รวมทั้งอุบัติภัยต่างๆ เป็นสัญญาณเตือนถึงผลกระทบจาก “ภาวะโลกร้อน” ที่รุนแรงขึ้นทุกขณะ จากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนส่ง ภาคครัวเรือน เกษตรกรรม และการตัดไม้ทำลายป่า ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญ จึงมีการคิดค้นเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไปจนถึงการนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ส่วนวิธีการและประโยชน์ของเทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ Cr. ภาพ GAETAN BALLY, KEYSTONE/REDUX เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน ดีอย่างไร? การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากภาคอุตสาหกรรม เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นเรื่องระดับโลกที่องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ทุกประเทศเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนป