คิวอาร์โค้ด
เคทีซี – ธ.ก.ส. ลงนามในสัญญาความร่วมมือทางธุรกิจ ต่อยอดบริการรับชำระค่าสินค้าและบริการให้กับสมาชิกร้านน้องหอมจังของ ธ.ก.ส. ด้วยระบบ QR Credit Card Payment บนเครือข่ายของวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดเป็นเจ้าแรกในไทย รุกช่วยผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนการเกษตร ขยายโอกาสทางการตลาดเข้าถึงระบบการชำระที่ทันสมัย สะดวก ปลอดภัย รับวิถีชีวิตใหม่ ดีเดย์เปิดให้บริการช่วงเดือน ธันวาคม 2564 ตั้งเป้าสิ้นปีมี 2,500 ร้านค้าเข้าร่วมโครงการ นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิตในรูปแบบของ QR Code มีการเติบโตต่อเนื่อง โดยในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาของปี 2564 มียอดใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตผ่านระบบ QR Code มูลค่า 110 ล้านบาท หรือเติบโต 90% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้บริโภคคนไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสดแบบฉับพลัน ทั้งการจับจ่ายค่าสินค้าและบริการ รวมถึงการทำธุรกรรมการเงินผ่านออนไลน์ ในขณะที่ร้านค้าต่างก็ต้องปรับตัวและเปิดรับการชำระเงินที่ไร้การสัมผัสมากขึ้น “โค
นางอภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุดปฏิบัติการ ผู้บริหารสูงสุด ผลิตภัณฑ์ลูกค้ารายย่อย และการชำระเงินลูกค้ารายย่อย ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารมีแผนการจะขยายร้านค้ารายย่อยที่ให้บริการคิวอาร์โค้ดภายในปี 2560 จำนวน 200,000 ราย และปี 2561 คาดว่าจะเพิ่มอีก 500,000 ราย รวมเป็น 700,000 ราย โดยจะชูโมเดลธุรกิจยุคใหม่ให้แก่ร้านค้าเหล่านั้นด้วยการช่วยสร้างตัวตนในโลกดิจิทัล เชื่อมโลกออฟไลน์กับออนไลน์ไว้ด้วยกัน โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อพาคนซื้อมาหาถึงหน้าร้าน ซึ่งจะช่วยให้ร้านค้าขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถทำการค้าได้ตลอดเวลา ล่าสุด ได้ร่วมกับอาลีเพย์ ผู้ให้บริการรับชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของจีนและของโลก เพื่อรับชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดของอาลีเพย์เพื่อช่วยสร้างโอกาสในการค้าขายให้กับร้านค้า เพราะนักท่องเที่ยวจีนนิยมใช้แอพพลิเคชั่นอาลีเพย์เพื่อซื้อสินค้าในประเทศไทย โดยธนาคารจะเริ่มให้บริการการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดของอาลีเพย์ที่ เยาวราช แพลตตินั่ม ซึ่งถือเป็นแลนด์มาร์กสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวจีน จากนั้นจะขยายทั่วประเทศภายในสิ้นปีนี้ นางสาวพิภาวิน สดประเสริฐ ผู้จ
นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า สมอ.ได้นำนวัตกรรมการเข้าถึงข้อมูลด้านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ด้วยการเพิ่มคิวอาร์โค้ดในใบรับรองเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยให้ผู้ได้รับการรับรองนำไปแสดงบนฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลการรับรองของผลิตภัณฑ์ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน และเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์สินค้าที่ได้รับการรับรอง มผช.ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น นายณัฐพล กล่าวว่า นอกจากนี้ สมอ.ได้ปรับปรุงกระบวนการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยลดระยะเวลาดำเนินการจาก 73 วันทำการ เหลือ 33 วันทำการ เริ่มดำเนินการในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยการลดขั้นตอนนี้ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข คำนึงถึงความพร้อมและศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ยื่นคำขอ ความพร้อมของสถานประกอบการ อาทิ จะต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน และต้องมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชนเ