จมูกอิเล็กทรอนิกส์
อย่างที่ทราบกันดีว่าข้าวหอมมะลิไทย ถือเป็นหนึ่งในข้าวที่ได้รับการยอมรับอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ข้าวไทย ช่วยให้เกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก สำหรับการประกาศเดินหน้ายุทธศาสตร์ข้าวไทยปี 2563-2567 ที่ผ่าน รัฐบาลพิจารณาเห็นชอบโดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า 5 ปีนี้ ประเทศไทยต้องเป็นผู้นำการผลิตตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของโลกให้ได้ แผนยุทธศาสตร์ข้าวไทยจึงได้ตั้งเป้าว่าประเทศไทยจะต้องเป็นผู้นำการผลิต การตลาดข้าว และผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก โดยต้องพัฒนาสินค้าข้าวให้มีความหลากหลาย และตรงกับความต้องการของตลาด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรและภาคส่วนอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานจะนำมาซึ่งรายได้ และการเติบโตเชิงเศรษฐกิจรวมไปถึงการส่งออกข้าวอย่างยั่งยืน ซึ่งกลิ่นหอมในข้าวเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของข้าวหอมพันธุ์ต่างๆ และยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดราคาและคุณภาพของข้าว โดยองค์ประกอบหลักของกลิ่นหอมในข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ได้แก่ สาร 2-อะซิติล-1-ไพโรลีน (2-Acetyl-1-Pyrroline หรือ 2AP) (Buttery et al., 1983) โดยที่สาร 2AP จะพบในส่วนต่างๆ ของข้าว เช่น เมล็ดข้า
ไอเดียธุรกิจยุคดิจิทัล “จมูกอิเล็กทรอนิกส์” นวัตกรรม “ช่วยดมกลิ่น” ให้ SME ผลิตอาหารง่ายขึ้น แถมช่วยลดต้นทุน เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่อยู่รอบตัวแทบจะทุกมิติ อย่างที่ทราบดีว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นสิ่งที่เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ในการใช้ชีวิตประจำวัน และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่ชอบความรวดเร็ว คล่องตัว และช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจในหลายๆ อุตสาหกรรมมีข้อมูลที่สะท้อนภาพจากผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ในไตรมาส 3 ปี 2565 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ระบุว่า ในกลุ่มอุตสาหกรรม 5 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ซอฟต์แวร์, บริการดิจิทัล, ดิจิทัลคอนเทนต์ และโทรคมนาคม ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 48.6 จาก ระดับ 46 ในไตรมาส 2 ปี 2565 รวมถึงอานิสงส์จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้กำลังซื้อของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ส่งผลดีต่อดัชนีความเชื่อมั่นฯ ไตรมาส 3 แต่ใน ขณะเดียวกันต้นทุนยังคง