จังหวัดนครพนม
หมู่บ้านตาล ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพปริศนาสุดแปลกคือ การทำตุ๊กแกตากแห้ง ปลิงตากแห้ง และไส้เดือนตากแห้ง สร้างแรงดึงดูดให้คนไทยและต่างชาติเข้ามาศึกษาชมงานไม่ขาดสาย หลังว่างเว้นจากฤดูการทำนา ทำไร่ ชาวบ้านในหมู่บ้านตาลจะหันมาทำตุ๊กแกตากแห้ง ปลิงตากแห้ง และไส้เดือนตากแห้งเป็นรายได้เสริม จุดเริ่มต้นของอาชีพแปลกเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน ตอนแรกมีคนริเริ่มทำอาชีพนี้เพียงไม่กี่คน หลังชาวบ้านเห็นว่าอาชีพนี้สร้างรายได้ดี จึงหันมาทำอาชีพนี้เป็นรายได้เสริมกันอย่างแพร่หลาย เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ชาวบ้านจะจับปลิงมาตากแห้ง ฤดูหนาว จะทำไส้เดือนตากแห้ง โดยรับซื้อไส้เดือน 2 ชนิด คือ ไส้เดือนตัวสีแดง ลำตัวหนา และไส้เดือนลำตัวสีเขียว ตัวบางกว่าสีแดงในราคากิโลกรัมละ 28 บาท โดยไส้เดือนสด 100 กิโลกรัม เมื่อนำมาตากแห้งจะมีน้ำหนักเพียง 8-9 กิโลกรัม ขายในราคากิโลกรัมละ 500 บาท ช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายนของทุกปี เป็นฤดูการทำตุ๊กแกตากแห้ง ปัจจุบันชาวอำเภอนาหว้า กว่า 30 ครัวเรือน ผลิต “ตุ๊กแกอบแห้ง” เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน มีโรงงานรั
ปัจจุบันกระแสรักสุขภาพมาแรง ทั่วโลกต่างต้องการบริโภคพืชผักผลไม้อินทรีย์ที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ทั้งตัวผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมกันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สินค้าพืชผักผลไม้อินทรีย์สามารถขายได้ราคาดีกว่าพืชที่ปลูกด้วยเคมี ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจึงหันมาสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชผักผลไม้อินทรีย์กันมากขึ้น หัวใจการผลิตผักอินทรีย์ อยู่ที่การจัดการธาตุอาหารและศัตรูพืชที่เหมาะสม 1.การจัดการธาตุอาหาร แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการปลูกผักกวางตุ้งและหอมแบ่ง หากมีอินทรียวัตถุในดินน้อยกว่า 1.5% ต้องใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพอัตรา 2.8 ตัน ต่อไร่ ส่วนแปลงปลูกกะหล่ำปลี คะน้า และกวางตุ้ง ที่มีอินทรียวัตถุในดินต่ำ ควรทำปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศในอัตรา 2 ตัน ต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง หลังย้ายปลูก 10 และ 30 วัน 2.การจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสม ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมปุ๋ยหมักคลุกดิน หรือรองก้นหลุมพร้อมปลูก เช่น – โรคเน่า โคนเน่า ในกะหล่ำปลี กวางตุ้ง และคะน้า สามารถควบคุมได้โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา รองก้นหลุมในอัตรา 10 กรัม ต่อวัน – โรครากเน่า โคนเน่า ของหอมแบ่ง สามารถดูแลป้องกัน
รสชาติอันแสนนุ่มนวลละมุนลิ้นและกลิ่นอันหอมหวานที่แฝงไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้เองที่ทำให้ “กาแฟขี้ชะมด” กลายเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องการอย่างสูงสุดในตลาดกาแฟทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยของเรา ที่ผ่านมาภาพลักษณ์ธุรกิจกาแฟขี้ชะมดถูกนำเสนอในเชิงลบเนื่องจากฟาร์มแบบปิดเลี้ยงดูแบบทารุณกรรมสัตว์ บังคับให้อยู่ในพื้นที่แคบๆ ทานได้เพียงแค่ผลกาแฟจนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารและเจ็บป่วยล้มตายในที่สุด ทำให้ห้างสรรพสินค้าชื่อดังของอังกฤษอย่างเซลฟริดจ์สประกาศยกเลิกการจำหน่ายกาแฟขี้ชะมดที่ถูกส่งมาจากฟาร์มแบบปิด ทางสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ( WSPA ) จึงรณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อแต่กาแฟขี้ชะมดที่มาจากตามธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งเป็นนโยบายเดียวกับกาแฟขี้ชะมดแบรนด์ไทย อย่าง Blue gold ฟาร์มชะมดระบบเปิดรายใหญ่แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เลี้ยงดูชะมดในระบบนิเวศแบบเปิด ทำให้ชะมดใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ สามารถเลือกอาหารได้ด้วยตัวเอง ฟาร์ม Blue gold ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ 100 ไร่ มีชะมด 300 ตัว เลี้ยงดูในฟาร์มระบบนิเวศแบบเปิด ไม่มีการกักขัง ชะมดสามารถเดินไปไหนมาไหนก็ได้ ปืนป่ายต้นไม้ตามใจชอบ สา
บ้านหนองบัว ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม นับเป็นอีกหมู่บ้านสำคัญของ จ.นครพนม ที่มีชาวบ้านประกอบอาชีพที่ “เสี่ยงตาย” สืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ…อาชีพที่ว่านั้นคือ การเลี้ยง “ต่อหัวเสือ” เห็นราคาแล้วก็ไม่ธรรมดา ตกกิโลกรัมละ 1,500 -2,000 บาท เลยทีเดียว สำหรับฤดูกาลเลี้ยงต่อของชาวบ้าน จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงหน้าฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม หรือตรงกับช่วงฤดูกาลทำนา ชาวบ้านจะใช้เวลาว่างไปล่าหารังต่อหัวเสือ ด้วยการนำวิธีภูมิปัญญาชาวบ้าน นำเหยื่ออาหารต่อ จำพวกเนื้อสัตว์ ตั๊กแตน ไปล่อเอาแม่ต่อที่ออกหาอาหารตามทุ่งนา พร้อมทำเครื่องหมายสัญลักษณ์ด้วยเชือกฟางให้สังเกตง่าย นำไปติดกับเหยื่ออาหารต่อ พอแม่ต่อนำเหยื่อบินกลับไปรังตามธรรมชาติ ชาวบ้านจะติดตามไปจนถึงรัง ในป่า ก่อนใช้ความชำนาญย้ายรังต่อมาเก็บรักษาไว้ตามไร่นา หรือสวนท้ายหมู่บ้าน เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของและดูแลตามธรรมชาติไม่ต้องให้อาหาร ส่วนใหญ่จะใช้เวลากลางคืนทำการเคลื่อนย้าย เพราะจะได้แม่ต่อมาทั้งหมด เนื่องจากกลางวันจะออกไปหาอาหาร จนกระทั่งเวลาประมาณ 3-4 เดือน หรือช่วงใกล้เทศกาลออกพรรษา จะเป็นฤดูกาลเก็บผลผลิตเอาลูกต่อหัว
การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดนครพนม ขานรับมาตรการคุมเข้มสู้ภัยโควิด 19 ยกศูนย์เรียนรู้ยางพารานครพนม เป็นที่กักตัวชั่วคราวประชาชนที่มีความเสี่ยงจากนอกพื้นที่ 14 วัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นายปฐพงศ์ เมืองปลอด ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า กยท.จังหวัดนครพนม ได้รับการประสานจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ขอใช้สถานที่ของศูนย์เรียนรู้ยางพารานครพนม จัดตั้งเป็นหอผู้ป่วย ใช้กักตัวประชาชนที่มีความเสี่ยงจากนอกพื้นที่เพื่อสังเกตอาการ โดย กยท.จังหวัดนครพนม อนุญาตให้ใช้อาคารสัมมนาและอาคารพักรับรองตึก A, B ของศูนย์เรียนรู้ยางพารานครพนม เป็นที่รองรับประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มที่เดินทางมาจากจังหวัดที่มีรายงานการแพร่ระบาด กลุ่มที่ขนส่งสินค้าไปยังชายแดนประเทศลาวและอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเกิน 7 ชั่วโมง ก็จะต้องรายงานตัวแล้วเข้ามากักตัว 14 วัน ตามมาตรการของสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ผอ.กยท.จังหวัดนครพนม กล่าวด้วยว่า หลังจากได้รับการประสานจากทางผู้ว่าราชการจังหวัด ทาง กยท.จังหวัดนครพนม ก็มีความพร้อมที่จะให้ใช้อาคารของศูนย์เรียนรู้ยางพารานครพนม เป็นสถานที่กักตัวชั่วคราวโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้ง
(จังหวัดนครพนม) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ (Japanese Chamber of Commerce : JCC) มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่งเสริมเด็กและเยาวชนในพื้นที่ห่างไกลพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เป็นปีที่ 20 พร้อมฝึกทักษะเลี้ยงไก่ไข่เพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ โดยในวันนี้ (8 พ.ย. 62) นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว ปลัดจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียนให้กับ 5 โรงเรียนในจังหวัดนครพนม ณ โรงเรียนชุมชนบ้านหนองย่างซี้น อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปัจจุบัน มีจำนวนนักเรียน 166 คน นายนิติพัฒน์ กล่าวว่า ภาครัฐตระหนักถึงปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียนในถิ่นทุรกันดารและในพื้นที่ห่างไกล ที่ต้องการการสนับสนุน ในโอกาสนี้ขอขอบคุณที่ภาคเอกชนโดย JCC ซีพีเอฟ และมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ให้ความสำคัญและห่วงใยในสุขภาพของเ
ซีพี ออลล์ เดินหน้าหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ร่วมกับ จ.นครพนม โดยสำนักงานพัฒนาชุมชน นำร่องเปิดพื้นที่ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแลนด์มาร์คพญานาค จ.นครพนม นำสินค้าโอท็อปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมาวางจำหน่ายให้ลูกค้าได้เลือกซื้อแบบสะดวก ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้คนท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นที่รู้กันว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนของไทยมีกระจายอยู่ทุกจังหวัด และมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันไป บางชิ้นนอกจากจะเป็นของดีของเด่นประจำจังหวัดแล้ว ยังสามารถติดปีกโบยบินไปไกลถึงต่างแดน สร้างรายได้ไม่น้อยให้แก่ชุมชน จากศักยภาพเหล่านี้เอง ทำให้ “ซีพี ออลล์” เห็นโอกาสที่จะช่วยพัฒนาชุมชนและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เมื่อผนวกเข้ากับทำเลทองร้านเซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแลนด์มาร์คพญานาค ที่มีผู้คนที่ผ่านไปต้องมาเช็คอิน จึงสร้างโอกาสในการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน มีทั้งของกินของใช้ จำนวน 32 รายการ อาทิ กะละแมสูตรโบราณ กระติบข้าวเหนียว ตะกร้าหวาย ผ้าขาวม้า เสื่อกก และเสื้อภูไทด้นมือ ฯลฯ ได้จำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น นับเป็นการสร้างโอกาสในการขายสินค้าเหล่านี้ให้คนในท้องถิ่น ได้ยืนด้วยขา