จังหวัดลำปาง
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานของสหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยางประสบสุก จำกัด เเละพร้อมพบปะพูดคุยให้กำลังใจแก่สมาชิกสหกรณ์รวมถึงแนะนำแนวทางในการดำเนินงานและแก้ไขปัญหา ณ สหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยางประสบสุก จำกัด ตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เมื่อเร็วๆ นี้ ..
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเข้าติดตามความก้าวหน้าโครงการศึกษารูปแบบการปลูกกัญชาในระบบแปลงเปิด ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ว่า ช่วงเวลาปีกว่าๆ ที่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ขับเคลื่อนกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับพืชสมุนไพร “กัญชา” เช่น ปรับปรุงกฎหมาย ยกเลิกข้อห้ามต่างๆ ซึ่งตามขั้นตอนของภาคราชการต้องใช้เวลามาก ณ วันนี้เราสามารถปลดล็อกให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้นกัญชา ยกเว้นดอก ซึ่งถือว่าเราเดินมาไกลพอสมควร และขั้นตอนต่อไปคือหาวิธีการให้เกษตรกร ประชาชน ผู้ที่ประสงค์ทำเป็นการเกษตร อุตสาหกรรม ขออนุญาตปลูก ประกอบการได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว แต่ต้องขอความร่วมมือจากทุกคนว่าเราเดินมาถูกทิศทาง ได้รับรู้ว่าประโยชน์ของกัญชาคืออะไร โอกาสในการสร้างรายได้ พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ เศรษฐกิจของประเทศไทย แล้วก็รายได้ของเกษตรกรเพิ่มมากขึ้นใคร่ขอให้ใช้ตามกฎหมายทุกประการ เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย และเพื่อต้องการให้ประชาชนและเกษตรกรได้เข้าถึงพืชสมุนไพรกัญชา “หลักง่ายๆ ตอนนี้คือเกษตรกรหรือประชาชนทั่ว
ทุ่งนาเขียวขจีราวกับธรรมชาติได้ปูพรหมสีเขียวที่ปลายต้นข้าวนั้นพลิ้วไหวไปตามแรงลมอ่อนๆ เป็นที่พักสายตาและรู้สึกผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนได้พบกับหนุ่มยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Young Smart Farmer) ผู้มีวิสัยทัศน์ของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนทัศนคติของคำว่าชาวนายากจนนั้นหายไปโดยสิ้นเชิง คุณนที คล้ายสอน หนุ่มปริญญาโท วิศวกรโยธา เกษตรกรรุ่นใหม่ ยุคนิวนอร์มอล (New Normal) วัย 33 ปี ผู้ที่หันหลังกับงานประจำที่มีเงินเดือนสูง กลับมาสู่ธรรมชาติ เป็นผู้ที่มองเห็นว่าการเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนสู่ธรรมชาติ นำความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา นำมาต่อยอดพัฒนาเชิงเกษตรอินทรีย์ปลูกข้าวโบราณหอมกลิ่นใบเตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน “ผมเห็นชาวนาทั่วๆ ไปมีแต่ปัญหาเรื่องของราคาข้าวบ้าง ปุ๋ยปลอมบ้าง ผมจึงเกิดแรงบันดาลใจว่า ถ้าเราทำนาโดยไม่พึ่งสิ่งเหล่านี้ เราเกิดมาจากธรรมชาติเราก็ต้องอยู่ให้ได้แบบธรรมชาติ ผมขอสนับสนุนโครงการปลูกพืชแบบอินทรีย์ทุกชนิดครับเพื่อชีวิตที่ดีครับ ที่บ้านคุณพ่อคุณแม่ของผมมีอาชีพทำนา ถึงแม้ว่าทำงานประจำในรัฐวิสาหกิจ แต่ท่านก็สนับสนุนผมให้มาต่อยอดในเรื่องการเกษตร โดยเฉพาะข้าวอินทรีย์” คุณนที กล่า
12 พฤศจิกายน 2563 ณ หมู่บ้านเซรามิค OTOP อ.เกาะคา จ.ลำปาง นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มงานเซรามิคดั้งเดิม กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เข้าพบผู้ประกอบการในพื้นที่ จ.ลำปาง โดย วศ. ได้นำเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพเตาเผาแก๊สและเพิ่มประสิทธิภาพการเผามาพัฒนากระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถลดต้นทุนเชื้อเพลิงในการเผาได้ ร้อยละ 10-30 และลดการสูญเสียความร้อนหรือการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์เตา ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งให้ความสำคัญกับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ไปควบคู่กัน ทั้งภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการภายในประเทศ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีการตรวจติดตาม สอบถามความต้องการเพื่อที่จะนำปัญหาในแต่ละด้านไปวิเคราะห์ทดสอบในห้องปฏิบัติการ และนำมาปรับใช้แก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการต่อไป สำหรับผู้ประกอบการด้านเซรามิคที่ต้องการสอบถามข้อมูลการพัฒนาฯ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-201-7000
จากเด็กสาววัย 28 ปี พร้อมลูกน้อยวัย 10 เดือน ลุกขึ้นมาทำอาชีพเสริม ปลูกไผ่หวานช่อแฮ ตามรอยผู้ปกครองที่ทำอาชีพนี้มาก่อน คุณแพรว วิวัฒน์ชรางกูร ปัจจุบันเธอทำงานเป็นพนักงานขายประกันบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งในเมืองไทย และแนะนำเรื่องของการออมเงิน เธอทำอาชีพเสริม ปลูกหน่อไม้ไผ่หวานช่อแฮหรือไผ่เป๊าะ ขายทั้งกิ่งพันธุ์และขายหน่อไม้ในหน้าแล้ง คุณแพรว วิวัฒน์ชรางกูร มองเห็นว่าอาชีพเป็นเกษตรกรหรือการทำอาชีพเสริมที่ยั่งยืนนั้น คือการทำไร่ ทำสวน เธอจึงคิดเผื่ออนาคตไว้ว่า ถ้าเกิดมีปัญหาเรื่องงานกะทันหัน สามารถกลับตัวได้ทันเวลา เธอจึงสนใจเรื่องการปลูกหน่อไม้ไผ่หวานช่อแฮ เนื่องจากเห็นคุณแม่ทำอาชีพนี้มา 10 กว่าปี และก็ยังไปได้ด้วยดี เธอจึงศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชไร่หรือพืชสวนต่างๆ แล้ว เธอเห็นว่าการปลูกไผ่หวานช่อแฮนั้นให้ผลผลิตเร็ว และการดูแลไม่มาก เพราะเธอไม่ค่อยมีเวลา ต้องทำงานหลักอยู่แล้ว สามารถแนะนำให้คนทางบ้านดูแลแทนได้ ทำไม ถึงสนใจไผ่หวานช่อแฮ คุณแพรว ตอบคำถาม ว่าทำไมจึงปลูกไผ่หวานช่อแฮ “เพราะว่าเป็นไผ่ที่ให้ผลผลิตดีในหน้าแล้ง จึงไม่ทำให้ราคาตก และเป็นผลผลิตในช่วงที่ขาดแคลนหน่อไม้สู่ตลาด คิดว่าอ
นายพลเชษฐ์ ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ส้มเกลี้ยง เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย ประกอบด้วย วิตามิน เกลือแร่ มากกว่าส้มชนิดอื่นๆ และมีรสชาติดี ให้ผลตอบแทนสูง คุ้มค่ากับการลงทุน จึงมีการส่งเสริมให้มีการผลิตและการบริหารจัดการเชิงการค้า อีกทั้งในปัจจุบันพื้นที่ในการปลูกส้มเกลี้ยงซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดลำปาง นับว่าเป็นแหล่งปลูกส้มเกลี้ยงที่สำคัญและมีชื่อเสียงมายาวนาน ประกอบกับทางจังหวัดได้ให้ความสำคัญโดยมีแนวทางส่งเสริมสร้างการรับรู้และส่งเสริมองค์ความรู้ด้านวิชาการต่างๆ เรื่องการปลูก การดูแลรักษา การตลาด และชี้ให้เห็นความสำคัญและคุณประโยชน์การอนุรักษ์พืชประจำท้องถิ่นให้คงอยู่ เพื่อพัฒนาสู่สินค้า GI ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การเกษตร (พ.ศ. 2561-2580) ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น รวมถึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้ต้นทุนการผลิตลดลง ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต เน้นการส่งเสริมตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี แล
หลักการของสหกรณ์คือ ร่วมคิด รวมผลิต ร่วมทำ เพื่อเป้าหมายหลักคือความยั่งยืน ขนาดของสหกรณ์จะเล็กหรือใหญ่ ไม่สำคัญเท่ากับการร่วมใจ และเมื่อสมาชิกร่วมคิด ร่วมทำธุรกิจสหกรณ์ไปได้ไกล จนวันนี้สหกรณ์การเกษตรสบปราบกำลังนำผลผลิตต่อยอดมูลค่าด้วยนวัตกรรมสินค้าเกษตร เพื่อเป้าหมายคือสร้างรายได้เพิ่มให้สมาชิก นางสาวสมคิด บุญแก้ว ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรสบปราบ ตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง เล่าว่า มีสมาชิกประมาณ 4,000 คน ปัจจุบันสมาชิกสหกรณ์มีเงินฝาก เงินออมประมาณ 700 ล้านบาท เงินกู้ 350 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นผลจากการร่วมกันคิดและร่วมกันทำของสมาชิกทุกคน โดยแบ่งกันทำงานตามความถนัด ปลูกข้าว ปลูกผัก ผลไม้ ผลิตแล้วสมาชิกขายกันเอง ขายแม่ค้า และบางส่วนมาขายให้กับสหกรณ์ ซึ่งปัจจุบันได้เปิดตลาดเป็นฟาร์มเมอร์มาร์เก็ตริมถนนใหญ่ เพื่อรองรับผลผลิตสินค้าเกษตร จำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยว ยอดขายสินค้าปีที่ผ่านมาประมาณ 2-3 ล้านบาท ซึ่งผลผลิตที่นี่มีคุณภาพ เพราะปลูกจากดินภูเขาไฟ เร็วๆ นี้สหกรณ์จะโปรโมตข้าวกล้องหอมมะลิแดง และพืชผักที่นี่ว่าเป็นข้าวและผักที่มาจากพื้นที่แอ่งภูเขาไฟ และฟักทองญี่ปุ่นของสบ
ที่ตำบลบ้านเสด็จ จังหวัดลำปาง สามีภรรยามีภูมิลำเนาเดิมอยู่คนละจังหวัด แต่ไปตั้งหลักปักฐานปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้าที่จังหวัดลำปาง จากเมล็ดพันธุ์ทดลองเพาะ ปลูกด้วยตนเองอยู่หลายครั้ง จนในที่สุดประสบผลสำเร็จ และได้สร้างนวัตกรรมเกษตร นำเมล็ดพันธุ์โรบัสต้าสายพันธุ์ดีและสายพันธุ์พื้นเมือง มาเพาะพันธุ์จนได้กาแฟโรบัสต้าต้นใหม่ ที่ผิดแปลกไปจากต้นกาแฟโรบัสต้าโดยทั่วไป คุณทรงวุธ มีศิริ อายุ 49 ปี ภรรยา คุณนุชจรี รัศมี อายุ 35 ปี ตั้งบ้านเรือนอยู่เลขที่ 733 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โทร. (098) 975-7132 เจ้าของสวน “ศิริรัศมี” มาจากชื่อสกุล มีศิริ และ รัศมี เป็นมาอย่างไร จึงมาปลูกกาแฟโรบัสต้าที่ลำปาง ผู้เขียนตั้งคำถาม คุณทรงวุธ ลำดับเหตุการณ์ย้อนอดีตให้ฟังว่า ตนเองมีถิ่นกำเนิดอยู่จังหวัดชลบุรี ส่วนภรรยาเป็นชาวจังหวัดชุมพร เดิมมีอาชีพรับเหมา รายได้ดีพอมีเงินเก็บ แต่งานหนัก ยังไม่มีที่ดิน คิดอยากทำการเกษตร แต่ที่ดินในแถบนั้นถูกซื้อไปเพื่อทำอุตสาหกรรม ประกอบอาชีพนี้มา 10 ปี มีปัญหาสุขภาพเป็นกระดูกทับเส้น เดินไม่ได้ 7 เดือน ใช้เงินที่เก็บออมไว้มารักษาตัวจนแทบจะไม่เหลือ มีอยู่ปีหนึ่
“ไร่ชวนฝัน” แหล่งปลูกพืชผักผลไม้ พื้นที่กว่า 150 ไร่ ตั้งอยู่จังหวัดลำปาง ถิ่นเมืองรถม้าที่ลือชื่อมานาน ความจริง ไร่ชวนฝัน ได้ผ่านสายตาท่านผู้อ่านอย่างละเอียดมาแล้ว ว่าความเป็นมาของสวนที่เจ้าของได้เปิดเผยรายละเอียดทั้งประวัติ การศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนรางวัลที่เขาได้รับอย่างมากมาย จนจำไม่ไหว ลงในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 พืชพันธุ์หลากหลายที่เขาเริ่มบุกเบิกปลูกมา ทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลวในด้านราคาขายก็เคยประสบมาแล้ว จนเป็นที่เลื่องลือของวงการเกษตร ทั้งภาคเอกชน สถานที่ราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่างกล่าวขานและยกย่องในความสามารถของตัวเขาจนรับรางวัลมากมาย ต่างสดุดีในตัวเขาอย่างเลิศเลอ เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจแก่วงศ์ตระกูล เขากล่าวถึงชีวิตในวัยเรียนที่มุ่งเน้นอยากเรียนเกษตรที่แม่โจ้ ทั้งที่ทางครอบครัวมีฐานะค่อนข้างจะมีกิน จากย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง ไม่อยากให้มาเรียนเพราะร่างกายเขาบอบบาง ร่างเล็ก จนเพื่อนแม่โจ้ร่วมรุ่นตั้งชื่อไว้ว่า “เปี๊ยก” เป็นชื่อใหม่แทนชื่อเก่าที่พ่อแม่ตั้งไว้ว่า “ตุ๋ย” เขาเล่าให้ฟังว่า การมาเรียนแม่โจ้ต้องผ่านการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรี