ฉี่หนู
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัญหาฝนตกเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัดที่ผ่านมา ในช่วงนี้บางพื้นที่น้ำเริ่มลดลงแล้ว โรคที่ประชาชนควรระมัดระวังเป็นพิเศษ คือโรคไข้ฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรสิส เนื่องจากเชื้อชนิดนี้จะถูกขับออกมากับฉี่หนู และปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมในน้ำหรือที่ชื้นแฉะ ทำให้เชื้อสามารถไชเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่อยู่ในน้ำนานจนอ่อนนุ่ม และสามารถติดเชื้อโดยการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากฉี่หนู “จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้ฉี่หนู ในปี 2560 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 27 พฤษภาคม 2560 พบผู้ป่วย 760 ราย เสียชีวิต 20 ราย ในจำนวนนี้ผู้เสียชีวิตอยู่ในภาคใต้ถึง 13 ราย จังหวัดที่มีผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ นครศรีธรรมราช กระบี่ ศรีสะเกษ ตรัง และพัทลุง ปี 2559 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 2,295 ราย และเสียชีวิต 36 ราย ซึ่งพบว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) เป็นอาชีพเกษตรกร รองลงมาเป็นอาชีพรับจ้าง” นพ.เจษฏา กล่าว นพ.เจษฎา กล่าวต่อว่า อาการของโรคไข้ฉี่หนู คือ มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ บร
หนู เป็นศัตรูพืชที่สำคัญ ทำลายผลผลิตพืชในทุกฤดูกาล แพร่ขยายพันธุ์รวดเร็วมาก เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แพร่โรคฉี่หนู ทำให้คนเจ็บป่วยถึงตายได้ เกษตรอำเภอน้ำปาด แนะนำการป้องกันกำจัดหนู และเตือนระวังการติดเชื้อโรคฉี่หนู “นายอดุลย์ศักดิ์ ไชยราช” เกษตรอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ แนะนำว่า หนูเป็นศัตรูพืชที่สำคัญ มีมากมายหลายประเภท ได้แก่ หนูพุกใหญ่ หนูพุกเล็ก หนูนาเล็ก หนูนาใหญ่ หนูหริ่งหางสั้น หนูหริ่งหางยาว หนูท้องขาว หนูป่ามาเลย์ หนูบ้านมาเลย์ หนูฟันขาวใหญ่ หนูฟานเหลือง หนูท้องขาวสิงค์โปร หนูจี๊ด ซึ่งมักจะระบาดทำลายใน นาข้าว ไร่ถั่ว ไร่ข้าวโพด ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง สวนปาล์มน้ำมัน สวนมะพร้าว ในไร่นา ยุ้งฉาง รถบรรทุกผลผลิต คอกปศุสัตว์ บ้านเรือนฯลฯ แนะนำให้ทำการป้องกันกำจัดหนูอย่างต่อเนื่อง และกว้างขวาง หนูนอกจากจะเป็นศัตรูพืชที่สำคัญแล้ว ยังเป็นพาหะแพร่เชื้อ “โรคฉี่หนู” หรือ “โรคเลปโตสไปโรซีส (leptospirosis หรือ Wail’s disease) เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณะสุข ที่พบเจออยู่ประจำทุกปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อัตราการแพร่เชื้อจะมีมากในช่วงฤดูฝน ในสภาพที่มีน้ำท่วมขังนานๆ เช่นแปลงนาข้าว หรือสภาวะน้ำท่วมภัย