ชะคราม
ผักคราม หรือ ชะคราม มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามสถานที่ เช่น ต้นชะคราม ชักคราม (ภาคกลาง) ชั้วคราม ส่าคราม ล้าคราม หรือล่าคราม (สมุทรสาคร) ผักคราม (ภาคใต้) จัดเป็นพืชล้มลุก หรือไม้พุ่มเตี้ย ที่มักพบได้ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล ชายป่าเลน และที่น้ำเค็มขึ้นถึง เพราะทนเค็มได้ ลักษณะของกิ่งก้านใบจะชุ่มน้ำมาก ใบเป็นเส้นเล็กฝอยและแคบยาว พอง กลม แหลม คล้ายเมล็ดข้าวสาร ปลายใบมีนวลขาวจับ มีหลายสี ทั้งเขียว เขียวอมม่วง ม่วงคราม และเมื่อใบชะครามแก่ขึ้นเรื่อยๆ ความเค็มก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย (เค็มเหมือนเกลือแกงที่เราใช้ปรุงอาหารเลย) ต้นชะคราม ถือเป็นดัชนีที่ชี้วัดความเค็มของดินในบริเวณแถบๆ ชายทะเลได้ดี โดยชะครามที่ขึ้นในดินเค็มมากใบจะออกสีม่วงแดง และสำหรับต้นที่ขึ้นในดินที่เค็มน้อยหรือดินจืด ใบจะออกสีน้ำเงิน วัชพืช ชะคราม พันธุ์ไม้ชายเลนที่ขึ้นอยู่ทั่วๆ ไปตามชายทะเลได้รับอิทธิพลของการขึ้นลงของน้ำทะเล จัดอยู่ในพวกพืชชอบเกลือที่แท้จริง คือ ชะคราม และ ผักเบี้ยทะเล โดย ต้นชะคราม ขึ้นอยู่ในช่วงเวลาที่ความเค็มของพื้นดินไม่มากจนเกินไป พบในบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงแต่ไม่ต่อเนื่อง และเป็นวัชพืชขนาดเล็กที่ทนทานต่อความเค็
หมดฝนแล้วโอกาสที่จะได้กินใบชะครามอ่อนๆ พลอยหมดไปด้วย “ชะคราม” เป็นวัชพืชในดินเค็ม พบทั่วไปตามชายฝั่งทะเลที่น้ำเค็มขึ้นถึงแต่เป็นวัชพืชมากค่า ใครเคยไปแถวสมุทรสาคร-สมุทรสงคราม คงเคยได้เห็นพุ่มชะครามขึ้นอยู่แถวนาเกลือและตามป่าชายเลนเยอะเลย หน้าฝนจะแตกช่อใหม่อ่อนๆ ให้เก็บมาปรุงอาหารอิ่มหมีพีมันกันไปเลยทีเดียว ชะคราม หรือ ช้าคราม เป็นพืชทนเค็ม กิ่งก้านอวบน้ำ ใบแคบยาว พองกลม ปลายแหลมมีนวลจับขาว สีเขียวอมฟ้า ใบมีรสเค็ม ออกดอกตามซอกใบ แต่ส่วนที่นำมากินกันคือใบบริเวณยอดอ่อน ในทางวิทยาศาสตร์เราสามารถใช้ชะครามใช้เป็นดัชนีชี้วัดความเค็มของดินได้ โดยชะครามที่ขึ้นในดินเค็มจัดใบจะออกสีม่วงแดง ส่วนต้นที่ขึ้นในดินจืดใบจะออกสีน้ำเงิน และสำหรับชนิดที่มีสีเขียวสดหรือสีเขียวอมม่วงในฤดูแล้งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงอ่อนๆ เนื่องจากเป็นวัชพืชที่เจริญเติบโตได้ง่ายในดินเค็ม ใบของชะครามจึงดูดเอาความเค็มจากดินมาเก็บไว้ เมื่อใบแก่ขึ้นเรื่อยความเค็มก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เวลาเก็บชะครามมาปรุงอาหารจึงควรเลือกใช้ใบอ่อน นำมาล้างน้ำให้สะอาด ก่อนที่จะนำมากินต้องทำให้สุกก่อนโดยรูดเฉพาะใบ เหมือนรูดใบชะอม แล้วต้มคั้นน้ำทิ้
ชะคราม เป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง เป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี เมื่ออายุมากจะขึ้นเป็นพุ่ม สูงประมาณ 1 เมตร และเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจ นำมาแปรรูปเป็นอาหารและสกัดเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคของผู้ป่วยได้ อนาคตคาดว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่นำมาแปรรูปและพัฒนารูปแบบอาหารได้ แม้ว่าในปัจจุบัน ชะครามจะหาซื้อหายากในตลาดทั่วๆ ไป ที่ไม่ได้อยู่ติดกับชายทะเล แต่หาได้ง่ายในจังหวัดที่อยู่แถวชายทะเล ชะคราม กระจายพันธุ์กว้าง พบทั่วไปทั้งในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคใต้ โดยเฉพาะป่าชายเลน ป่าโกงกาง หรือพื้นที่รกร้างรอบๆ นาเกลือ อย่างเช่น จังหวัดสมุทรสงครามและสมุทรสาคร รวมไปถึงในเขตกรุงเทพฯ ที่ติดชายทะเล อย่างบางขุนเทียน จะพบเห็น ต้นชะคราม ลงไปเก็บได้ ควรจะเลือกที่สีเขียวและไม่มีดอก เพราะยังอ่อนอยู่ ถ้าแก่จะสีแดงและมีดอก ซึ่งส่วนใหญ่จะขึ้นเองโดยตามธรรมชาติในพื้นที่ดินเค็มน้ำทะเลท่วมถึง ปัจจุบันมีการปลูกเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์ได้ทั้งตอนกิ่งหรือปักชำ ประโยชน์อันล้ำค่า ของ “ชะคราม” พืชท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสงครามและสมุทรสาคร นำมาแปรรูปได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น “น้ำมันชะคราม” และ “ยากำจัดปลวกจาก