ชะมด
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องของกาแฟขี้ชะมดที่ยังไม่มีใครรู้ เกี่ยวกับความทรมานของกาแฟพรีเมียมรสชาติดี ทว่าเมื่อมีการพัฒนาและต่อยอดในเชิงพาณิชย์ กลับกลายเป็นความขมขื่นที่ไม่ใช่รสชาติของกาแฟ กาแฟขี้ชะมดมีจุดเริ่มต้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 “อินโดนีเซีย” เป็นอาณานิคมของฮอลันดา(ดัตช์) ที่เข้ามาทำไร่กาแฟ ซึ่งกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส่งกลับไปเนเธอร์แลนด์(ฮอลแลนด์) แต่กฎหนึ่งข้อของ “ดัตช์” คือห้ามทั้งคนงานในไร่กาแฟที่เป็นคนพื้นเมืองเก็บผลกาแฟมาบริโภคเอง ซึ่งพวกเขามีระบบลงโทษที่สุดเข้มงวด ทำให้คนอินโดในตอนนั้นไม่มีโอกาสได้ดื่มด่ำรสชาติกาแฟเลยสักนิด ระหว่างนั้นเองที่คนอินโดได้บังเอิญพบเมล็ดกาแฟที่ปะปนอยู่กับ “ขี้ชะมด” พวกเขาจึงทดลองเก็บขี้ชะมด มาแยกเมล็ดกาแฟออกแล้วนำมาทำความสะอาด จนสามารถนำไปคั่วได้ พวกเขาเริ่มบดเมล็ดกาแฟที่ได้มาเพื่อชงเป็นกาแฟดื่ม หากถามว่าผิดกฎหรือไม่? ตอบได้เต็มปากว่า ‘ไม่’ เพราะพวกเขามีกฎแค่ห้ามนำเมล็ดกาแฟที่เก็บจากไร่มารับประทานเอง และห้ามเก็บเมล็ดกาแฟจากต้น หรือที่ตกลงพื้น แต่กรณีของการเก็บเมล็ดกาแฟจาก “ขี้ชะมด” ถือว่าไม่ผิด และยังทำให้พวกเขาที่เป็นคนอินโดได้ดื่ม “กาแฟพรี
รสชาติอันแสนนุ่มนวลละมุนลิ้นและกลิ่นอันหอมหวานที่แฝงไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้เองที่ทำให้ “กาแฟขี้ชะมด” กลายเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องอย่างสูงสุดในตลาดกาแฟทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยของเราเช่นเดียวกัน แต่ปัจจุบันภาพลักษณ์ของธุรกิจกาแฟขี้ชะมดนี้ค่อนข้างถูกนำเสนอในเชิงลบ ทั้งในด้านของการเลี้ยงดูจากฟาร์มแบบปิด ทารุณกรรมสัตว์ บังคับให้อยู่ในพื้นที่แคบๆ ได้ทานเพียงแค่ผลกาแฟจนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารและเจ็บป่วยล้มตายในที่สุด ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ในประเทศไทย เพราะอย่างห้างสรรพสินค้าชื่อดังของอังกฤษอย่างเซลฟริดจ์สเองได้ประกาศยกเลิกการจำหน่ายกาแฟขี้ชะมดที่ถูกส่งมาจากฟาร์มแบบปิดแล้ว โดยทางสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก หรือ WSPA ได้รณรงค์เน้นย้ำถึงปัญหาดังกล่าว ด้วยการประกาศให้ผู้บริโภคเลือกซื้อแต่กาแฟขี้ชะมดที่มาจากตามธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งเป็นนโยบายที่ไปในทิศทางเดียวกับ กาแฟขี้ชะมดแบรนด์ไทยอย่าง Blue gold ฟาร์มชะมดระบบเปิดรายใหญ่แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย “ฟาร์มของผมตั้งอยู่ที่จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ 100 ไร่ มีชะมด 300 ตัว ฟาร์มของผมจะเป็นระบบนิเวศแบบเปิด ซึ่งก็คือเราจะไม่มีการก
ที่ผ่านมาผู้อ่านคงเคยได้ยิน ไขชะมด ราคาสูงมาก กิโลกรัมละ 2-4 แสนบาท ปัจจุบัน มีผู้เลี้ยงเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้ราคาไขชะมดลดลงเหลือไม่ถึง 2 แสนบาท ต่อกิโลกรัม แต่ถึงอย่างนั้น ก็ถือว่าราคาดี คุณสันติศักดิ์ ถนอมสิงห์ เกษตรกรผู้เคยเพาะเลี้ยงกุ้ง เมื่อถึงช่วงที่ประสบความสำเร็จและต้องการเปลี่ยนแนวการทำงาน โดยยึดเอาเป้าหมายเรื่องของการทำกำไรเป็นที่ตั้ง ก็หันมามองการเลี้ยงสัตว์สวยงาม เริ่มจาก “นกยูง” มาเป็น “ไก่ฟ้า” และส่งท้ายที่ “ชะมดเช็ด” ชะมดที่เลี้ยง คุณสันติศักดิ์ บอกว่าเป็นชะมดเช็ด และต้องมีใบอนุญาตอย่างถูกต้องจากกรมป่าไม้ เพราะชะมดจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยฟาร์มชะมดแห่งนี้ มีใบอนุญาตครอบครอง ใบอนุญาตขยายพันธุ์ ใบอนุญาตซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากชะมด ถือได้ว่าครบทุกขั้นตอน พื้นที่บริเวณเลี้ยง เป็นโรงเรือนขนาดใหญ่ มีความกว้างขวาง โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก คุณสันติศักดิ์ เลี้ยงชะมดเช็ดไว้ในกรง กรงละ 1 ตัว ขนาดกรงที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงชะมดเช็ด 1 ตัว เป็นขนาด 1×2 เมตร สูง 1 เมตร ภายในกรงมีกล่องไม้ขนาด 40-60 เซนติเมตร ไว้ให้หลบนอนพักผ่อน กรงนอนยกสูงจากพื้นดิน ล้อมด้วยลวดตากว้างและไม้ พื