ชาวไทยภูเขา
สหกรณ์จังหวัดลำปาง ชู “ตลาดนำการผลิต” ดันแบรนด์ “ปางม่วง โค-อ๊อฟ” ชาวไทยภูเขาสู่มาตรฐาน GAP เร่งปรับโฉมแพ็กเกจ-ยกระดับแปรรูปเป็นกาแฟดริปเอาใจคอกาแฟ เพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตรกรดันยอดขายพุ่ง 2 พันบาท/กก. พร้อมรุกขยายตลาดทางออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศ นายบรรจง ชัยขุนพล สหกรณ์จังหวัดลำปาง กล่าวว่า จากกระแสการบริโภคกาแฟ ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มความนิยมมากขึ้น จึงเป็นโอกาสดีที่สหกรณ์จังหวัดลำปางเดินหน้าต่อยอดทางการตลาดและพัฒนาคุณภาพกาแฟอาราบิก้าตกเขียว หรือ แบรนด์ “ปางม่วง โค-อ๊อฟ คอฟฟี่” ของสหกรณ์การเกษตรบ้านปางม่วง จำกัด บ้านปางม่วง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในตลาดอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกปลูกกาแฟให้ได้มาตรฐาน GAP ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรที่ได้รับการรับรองแหล่งผลิตพืช : กาแฟปลอดภัย GAP แล้ว จำนวน 46 แปลง ทั้งนี้ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนประมาณปีละ 5-6 แสนบาท/ปี เพื่อให้ใช้ในการรวบรวมผลผลิตและเชื่อมโยง ตลาด พัฒนาและยกระดับการแปรรูปกาแฟจากเดิมผลิตในรูปแบบกะลา จำหน่ายได้ในราคา 8-10 บา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Schima wallichii (DC.) Korth. ชื่อสามัญ Needle wood , Munq – Tan ชื่อวงศ์ THEACEAE ชื่ออื่นๆ พันตัน (ปักษ์ใต้) มังกะตาน (พายับ) ลำโคระ (ละโว้) คายโซ่ กาโซ่ กรรโชก จำปา พระราม พังตาล ทะโล้ ผมไม่ใช่หนุ่มเมียนมานะ อย่าอ่านแต่ชื่อที่ขึ้นต้นด้วย “มัง” แม้ว่าอาจจะพบผมได้ในประเทศพม่าบ้าง แต่ส่วนใหญ่ผมจะชอบอยู่ที่ญี่ปุ่น หรือเขตร้อนอินโดนีเซียมากกว่า ตามที่ผมบอกว่าไม่ยึดติดถิ่นที่ จนถูกหาว่าผมเป็น “ไม้ไร้ถิ่น” เพราะสามารถขึ้นได้ทุกสภาพภูมิประเทศ เรื่องที่ผมย้ำว่าไม่เป็น “หม่อง” นุ่งโสร่ง เพราะชื่อผมขึ้นต้นด้วยมัง ใครๆ จึงคิดว่าผมมาจากพม่า เนื่องจากอ่านพงศาวดารแล้วพบชื่อแบบนี้มากมาย เช่น มหาอุปราช “มังกะยอชะวา” (พม่า ออกเสียง เมงเยจอสวา) หรือ ชื่อ มังสามเกียด บุตรชายของพระเจ้านันทบุเรง ทายาทแห่งอังวะ “มังกะยินโย” ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอู (2077) “มังกะยอดิน” กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูของพม่า (2216-2241) นอกนั้นที่เราได้ยินชื่อ “พระเจ้ามังระ” และ “มังจาปะโร” ในเมืองไทยคนทั่วไปเรียกผมว่า “ทะโล้” ซึ่งทางภาคเหนือโดยเฉพาะชาวไทยภูเขาให้ความนับถือผมมาก จัดให้ผมอยู่ในพรรณไม้ศักดิ์สิทธิ์
ทุกวันนี้ ชาวไทยภูเขาที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ห่างไกล ที่การคมนาคมไม่สะดวก ก็มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาผ่านช่องทาง “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และการทำงานด้วยความเสียสละ ของ คุณครูอาสา กศน. หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “ครูดอย” ที่ตั้งใจทำงานช่วยเหลือเด็กเยาวชนและชาวบ้านที่ด้อยโอกาสให้สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมชน ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้อื่นได้ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง (ศศช.) ปี 2523 กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ในสมัยนั้น ได้จัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ศศช.) ขึ้น โดยส่งครูอาสาสมัคร กศน. หรือ ครูดอย จำนวน 1-2 คน ไปทำงานอยู่กับชาวเขาในชุมชนต่างๆ เพื่อสร้างพลเมืองที่ดีของชาติ ครูอาสาจะทำหน้าที่ให้บริการการศึกษาและพัฒนาชุมชนแก่ผู้ใหญ่ในเวลากลางคืน และสอนเด็กตั้งแต่อนุบาลถึง ป.6 ในตอนกลางวัน โครงการ ศศช. ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เป็นที่ประทับใจของคนไทยและต่า