ชุมชนต้นแบบ
การผลิตพืชผักของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนมากจะผลิตได้ดีในฤดูหนาว ช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ทำให้มีผลผลิตมากเกินความต้องการของตลาด แต่ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน เกษตรกรไม่สามารถผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดได้ เพราะในช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิสูง แดดจัด ขาดแคลนน้ำ ซ้ำยังประสบปัญหาแมลงศัตรูพืชหลายชนิดเข้าทำลาย ขณะที่ฤดูฝน อากาศมีความชื้นสูงมักประสบปัญหาการระบาดของโรคพืชหลายชนิด รสชาติของผักและคุณภาพของผลผลิตที่ได้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด คุณนฤทัย วรสถิตย์ อดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การผลิตพืชผักและผลไม้ของเกษตรกรเป็นการผลิตโดยใช้ปุ๋ยเคมีและใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้ผลผลิตมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม เป็นที่พอใจของผู้บริโภคและให้ผลผลิตสูง เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการปรับปรุงบำรุงดิน และยังขาดความรู้ในการจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชที่ปลอดภัย จากผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนระหว่างปี 2554-2556 จำนวน 36 ชนิด 3,025 ตัวอย่าง คุณนฤทัย บอกว่า พบสารเคมีตกค้างร้อยละ 25.7 และเก็บค่า MRL
วันที่ 7 สิงหาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จัดพิธีมอบรางวัล “ชุมชนต้นแบบเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยผลงานวิจัยและนวัตกรรม” ซึ่งเป็นการขยายผลความสำเร็จของการพัฒนาพื้นที่ชุมชนสังคมด้วยวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม ระหว่าง วช. และ กอ.รมน. โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ พลโท วิกร เลิศวัชรา รองเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นประธานมอบรางวัลฯ ณ เวที Highlight Stage ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 : Thailand Research Expo 2023” ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกหนึ่งในการร่วมปฏิบัติพัฒนานำองค์ความรู้และนวัต
กลุ่มธุรกิจ TCP ได้ริเริ่มโครงการโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย มุ่งเน้นพันธกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครบทุกมิติ ทั้งน้ำบนดินและน้ำใต้ดิน เพื่อสร้างความยั่งยืนและผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือเป็นองค์กร Net Water Positive หรือการใช้น้ำสุทธิเป็นบวก ลดการใช้ทรัพยากรน้ำและเติมน้ำสะอาดกลับคืนสู่แหล่งน้ำในท้องถิ่นให้ได้มากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ คุณอาจรีย์ สุวรรณกูล ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า สำหรับโครงการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง ได้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อเติมเต็มการทำงานให้ครบทุกมิติ โดยภาครัฐจะดูแลการเติมน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ คูคลองต่างๆ บทบาทของกลุ่มธุรกิจ TCP จะเข้าไปช่วยเสริมการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้นในพื้นที่ชุมชน และพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน ผ่านการทำงานอย่างใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน “จากโครงการที่เราทำมา ผลสัมฤทธิ์ที่ได้เป็นที่น่าภูมิใจ เพราะไม่เพียงแค่ทำการเกษตรได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังปลุกพลังเศรษฐกิจชุมชน สร้างโอกาส สร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน จากการที่คนในชุมชนเปลี่ยนมาปลูกพืชที่มีม
บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอุ่มแสง (เกษตรทิพย์) ต่อยอดความก้าวหน้าของศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า (SKCE) เปิดตัว “เกษตรทิพย์ฟาร์ม” ฟาร์มนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่สู่ความยั่งยืนกับ 6 โซนการเรียนรู้ บนพื้นที่ 11 ไร่ นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงการเปิดตัว “เกษตรทิพย์ฟาร์ม” ว่า จากโครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้าที่มีแนวคิดที่ต้องการให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีรายได้เพิ่มด้วยการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตเป็น “ชุมชนต้นแบบ” ทางการเกษตรที่มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ พร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ที่กลุ่มเกษตรกรหรือผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้วิถีการทำเกษตรเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยในปี 2554 สยามคูโบต้าได้เริ่มพัฒนาร่วมกับวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอุ่มแสง (เกษตรทิพย์) จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีจุดเด่นด้านการเพาะปลูกข้าวแบบอินทรีย์ 100% และได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ นายบุญมี สุระโคตร ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอุ่มแสง (เกษตรทิพย์) กล่า
ความสำเร็จของการลดปัญหาหมอกควัน และลดเผาป่า บนพื้นที่สูง เกิดจากการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืนแบบโครงการหลวง ที่เน้นให้ชุมชนสามารถมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ด้วยระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้องค์ความรู้และงานวิจัยใหม่เพื่อเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพ สร้างให้ชุมชนมีความมั่นคงด้านอาหาร มีอาชีพที่หลากหลายและมีตลาดรองรับ เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยลดปัญหาหมอกควันบนพื้นที่สูง นอกจากนี้ การขยายผลองค์ความรู้จากโครงการหลวงยังทำให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการฟื้นฟูพื้นที่ทำการเกษตร ลดพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนกลับคืนเป็นพื้นที่ป่าให้กับสังคมและประเทศ จำนวน 966 ไร่ ปัจจุบัน บ้านห้วยน้ำใส หมู่ที่ 9 ตำบลสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นตัวอย่างและแหล่งเรียนรู้ด้านพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมกับภูมิสังคมของชุมชนชาวกะเหรี่ยงในเขตพื้นที่สูงของประเทศไทยในการสร้างสังคมที่เป็นสุข ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ด้วยความร่วมมือทุกภาคส่วน และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่
กรมวิชาการเกษตรเปิดตัว “หมู่บ้านวิชาการเกษตร”ในพื้นที่ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล หวังเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัยด้านการผลิตพืชผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจสู่ชุมชน นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัญหาระดับชาติที่ทุกรัฐบาลหยิบยกมาเป็นประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และแนวทางที่นำมาในการพัฒนาตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมา คือการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แม้แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกือบทุกฉบับและในยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี(2561-2580) ก็ได้กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้อย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้เพื่อสนองนโยบายสำคัญดังกล่าวของรัฐบาล ในปี 2562 กรมวิชาการเกษตรจึงได้เปิดตัวโครงการหมู่บ้านวิชาการเกษตรขึ้น โดยโครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัยด้านการผลิตพืชผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นในพื้นที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 (สวพ.8) ประกอบด้วย 4 จังหวัดภ