ซี.พี. บังกลาเทศ เปิดโรงงาน โชว์กระบวนการผลิตอาหารสัตว์น้ำมาตรฐานโลก
เกษตรกรและตัวแทนจำหน่ายเขตภาคเหนือ สาธารณรัฐบังกลาเทศ จำนวน 25 คน เยี่ยมชม โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำโบกูร่า ของ บริษัท ซี.พี. บังกลาเทศ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอาหารปลาแห่งใหม่ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐานสากล สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมี นายชลสิทธิ์ เวทยะวานิช ผู้จัดการทั่วไป ซี.พี. บังกลาเทศ ให้การต้อนรับ ณ โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำโบกูร่า สาธารณรัฐบังกลาเทศ
LATEST NEWS
กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ แนะ 7 แนวทางดูแลรักษา “ กล้วย ” ในช่วงฤดูฝน ดังนี้คือ 1. หมั่นตรวจดูแปลงกล้วยสม่ำเสมอ 2. ระบายน้ำในสวนให้ไหลสะดวก ไม่ท่วมขัง 3. ตัดแต่งใบแห้ง ใบเป็นโรคและหน่อส่วนเกิน 4. ให้น้ำต้นกล้วยเพิ่มเติม ในช่วงฝนทิ้งช่วง 5. เฝ้าระวังโรคและแมลง หากพบให้ใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัด 6. กำจัดวัชพืชในแปลงและค้ำยันต้น 7. ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น N-P-K เกษตรกรควรใส่ใจดูแลต้นกล้วยในช่วงหน้าฝนอย่างใกล้ชิดเพราะเสี่ยงต่อการระบาดของโรคตายพรายในกล้วย สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรคตายพรายหรือโรคปานามาหรือโรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย โดยให้สังเกตลักษณะต้นกล้วยที่มีอาการของโรคตายพรายใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเท
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยเพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ โดยใช้ปุ๋ยหมักจากเศษกิ่งไม้และใบลำไยหลังการตัดแต่ง เป็นการลดต้นทุนที่เห็นผล เกษตรกรสามารถทำได้ คุณดำรงค์ จินะกาศ ประธานลำไยแปลงใหญ่แม่ทา จังหวัดลำพูน และเกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ (ศพก.) การผลิตลำไยคุณภาพ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้แนะนำเทคนิคการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยจากกิ่งและใบลำไย ที่ใช้เงินลงทุนต่ำและประหยัดแรงงาน ไม่ต้องขนย้าย รวมทั้งประหยัดการให้น้ำ ประมาณร้อยละ 50 ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง ประมาณร้อยละ 30 เก็บความชุ่มชื้นไว้ในดินได้นาน และลดปัญหาหมอกควันจากการเผากิ่งและใบลำไย เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ดี สังเกตได้จากมีไส้เดือนดินเพิ่มปริมาณมากขึ้น ดินร่วนซุย รากฝอยแตกใหม่มาก สามารถดูดกินธาตุอาหารได้ดี ทำให้ต้นลำไยสมบูรณ์แข็งแรง ในกรณีที่เกษตรกรจะทำลำไยนอกฤดู การราดสารจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย เมื่อสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวลำไย หลังเกษตรกรตัดแต่งกิ่งและจัดทรงพุ่มแล้ว ให้นำกิ่งลำไยที่ได้จากการตัดแต่ง ตัดลิดใบแล้ววางกิ่งเรียง
“สะตอ” ของดีจากชาวปักษ์ใต้ กินได้ทั้งยอดอ่อน ฝักอ่อน และเมล็ด นำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู สะตอมีรสชาติมัน อร่อย แม้มีกลิ่นฉุนแต่ไม่ทำให้ความนิยมในการกินสะตอลดน้อยลงเลย เพราะสะตอมีประโยชน์มากมาย อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีใยอาหารสูง บรรเทาอาการท้องผูก ขับลมในสำไส้ ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน บำรุงสมองและสุขภาพดวงตา สะตอมีโพแทสเซียมสูง ช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และโรคโลหิตจาง โดยทั่วไป ต้นสะตอจะเริ่มออกดอก ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป เริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ใช้ระยะเวลา 68-70 วัน ตลาดสำคัญในประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ หาดใหญ่ (สงขลา) สุไหงโกลก (นราธิวาส) นิยมขายในรูปฝักสด ฝักสะตอมีอายุการวางตลาด ประมาณ 3-4 วัน หลังจากนั้นผิวเปลือกจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ บริเวณเนื้อฝักที่หุ้มเมล็ดจะเริ่มสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มและดำในที่สุด ทำให้ราคาตก หากเก็บสะตอมาทั้งช่อ มีใบติดด้วยจะทำให้อายุการวางตลาดยาวนานไปได้อีก 2-3 วัน วิทยาลัยการอาชีพไชยา สร้างมูลค่าเพิ่ม “สะตอ” วิทยาลัยการอาชีพไชยา มีแนวคิดสร้างสรรค์นำสะตอ มาแปรรูปส
เรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การเลือกอาหารในการกินในชีวิตประวันจำวันให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการและเน้นเรื่องความปลอดภัย กลายเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ที่ทำให้หลายๆ คนหันกลับมาดูแลตนเองกันมากขึ้น เช่นเดียวกับ คุณประจักษ์ ธรรมโชติ แห่งบ้านไร่ธรรมโชติ ในพื้นที่บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 5 ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่เนรมิตผืนดินของตนเองให้มีมูลค่า เน้นวิถีอินทรีย์ ปลูกพืชมากมายหลายชนิด ทั้งผักสลัด ผักสวนครัว สับปะรด และของดีที่ดีห้ามพลาดคือ กาแฟโรบัสต้าแห่งบ้านไร่ธรรมโชติ ในพื้นที่กว่า 2 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าแรกในพื้นที่หัวหิน ด้วยรสชาติที่แตกต่าง หวานหอมละมุนลิ้น จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น หากใครได้ลิ้มลอง รับรองต้องกลับมาซ้ำอีกแน่นอน พร้อมทั้งการันตีรางวัลชนะลิศ สาขาเกษตรอินทรีย์ ประจำปี 2566 บ้านไร่ธรรมโชติ แหล่งรวมพืชเพื่อสุขภาพ หากเล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของการลงมือทำบ้านไร่ธรรมโชติ พี่ประจักษ์ เล่าให้เราฟังว่า เริ่มต้นจากการปลูกขนุนในพื้นที่ แต่แล้วก็ต้องถอนต้นขนุนทั้งหมดที่มีทิ้ง เพื่อทำการปลูกสับปะรดแทนตามการปลูกของเกษตรกรในพื้นที่รอบข้าง เ