ดินเค็ม
ทุกวันนี้เมืองไทยกำลังเผชิญปัญหาดินเสื่อมโทรม จากปัญหาดินเค็ม เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ทั้งนี้ สามารถแบ่งประเภทดินเค็มได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของพื้นที่ที่พบ คือ 1. ดินเค็มชายทะเล 2. ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินเค็มชายทะเล เกิดจากตะกอนที่แม่น้ำพัดพามาตกทับถมในทะเลบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลองแถบชายฝั่งทะเล เมื่อมาตกทับถมกันนานเข้าก็จะกินบริเวณกว้างขวางจนเกิดเป็นหาดเลน และเมื่อมีตะกอนดินทับถมมากขึ้นก็จะค่อยๆ พัฒนาเป็นแผ่นดิน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม เนื้อดิน เป็นดินเหนียวซึ่งมีลักษณะเป็นเลน มีสีเทา หรือสีน้ำเงินปนเทา การระบายน้ำเลว ดินเค็มชายทะเล ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชทั่วๆ ไปได้ เพราะดินมีความเค็มสูงมาก มีพืชธรรมชาติบางชนิดเท่านั้นที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถขึ้นได้ดีในดินพวกนี้ ได้แก่ แสม โกงกาง ลำพู ตะบูน ประสัก รวมเรียกว่า ป่าชายเลน ปรือ ป่าโกงกาง ดินเค็มชายทะเลนี้พบอยู่ตามชายฝั่งทะเลของภาคใต้ และภาคตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 3.7 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม ดินเค็มชายทะเล สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ดินเค็มโซเดียม และดินเค็มกรด ซึ่งจะกลายเป็นดินเปรี้ยวจัด หากดินนี
ดิน เป็นหัวใจหลักที่สำคัญในการปลูกพืชทุกชนิด พืชผักจะเจริญเติบโต งอกงามได้ดี ขึ้นอยู่กับดินที่นำมาปลูก หากใครกำลังประสบปัญหา “ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินจืด” อย่าเพิ่งหมดหวัง วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านรวมวิธีการแก้ไขให้ดินกลับมาอุดมสมบูรณ์ ดินเค็ม คือ ดินที่มีปริมาณเกลือละลายน้ำได้ปะปนในดินสูง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ในดินมีหินเกลือสะสม และถูกน้ำใต้ดินละลายออกมา (ภาคอีสาน) หรือพื้นที่เคยมีน้ำทะเลท่วมถึงมาก่อน ทำให้มีตะกอนทะเลสะสม (ภาคกลาง) และพื้นที่ติดทะเล หรือมีน้ำทะเลท่วมถึง ผลกระทบ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชทั่วๆ ไปได้ เพราะดินมีความเค็มสูงมาก มีพืชธรรมชาติบางชนิดเท่านั้นที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถขึ้นได้ดีในดินพวกนี้ ได้แก่ แสม โกงกาง ลำพู ตะบูน ประสัก ดินเค็มชายทะเลนี้พบอยู่ตามชายฝั่งทะเลของภาคใต้ และภาคตะวันออก วิธีแก้ปัญหา – ใช้น้ำชะล้างเกลือจากดิน การใช้น้ำสำหรับล้างดินมีทั้งแบบต่อเนื่องและแบบขังน้ำเป็นช่วงเวลา ช่วยปรับฟื้นฟูทำให้ดินชื้นอยู่เสมอ น้ำใต้ดินถูกดึงขึ้นมาที่ผิวหน้าดิน จะทำให้เกลือถูกดึงขึ้นมาตามผิวดินด้วย – ไถพรวน ทำการพรวนหน้าดินให้มีความร่วนซุย
ดินเค็ม (saline soil) คือดินที่มีเกลือที่ละลายได้ในสารละลายดินปริมาณมาก มีผลกระทบต่อการปลูกพืช เพราะเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารมีความเป็นพิษของธาตุโซเดียมและคลอไรด์ พืชที่ปลูกไม่เจริญเติบโต ลำต้นแคระแกร็น ให้ผลผลิตต่ำ ปัญหาดินเค็มพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และพื้นที่ชายทะเลของประเทศไทย ดินเค็มแต่ละประเภทมีสาเหตุการเกิดชนิดของเกลือ การแพร่กระจายขยายอาณาเขต และวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน เจอค่าความเค็มสูงกว่ามาตรฐาน ในพื้นที่การเกษตร 5 ลุ่มน้ำ ในช่วงปลายปี 2563 พบว่าหลายพื้นที่การเกษตรจำนวนมากมีค่าความเค็มสูงกว่ามาตรฐาน โดยวัดจากสถานีสูบน้ำแต่ละจุดที่รับน้ำจากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ปราจีนบุรี มีค่าความเค็มสุงสุดที่วัดได้คือ 29.66 กรัมต่อลิตร ที่สถานีบางแตนมีค่าความเค็ม 5.39 กรัมต่อลิตร ในขณะที่เกณฑ์เฝ้าระวังความเค็มสำหรับการเกษตรอยู่ที่ 2 กรัมต่อลิตรเท่านั้น ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถสูบน้ำมาใช้ทางการเกษตรได้ การรุกล้ำของน้ำเค็มในลุ่มน้ำบางปะกง ปัญหาใหญ่ของแม่น้ำบางปะกงคือ การรุกล้ำของน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้ง หลังผ่านฤดูฝนในช่วงเดือนพฤศจิกายนแล้ว น้ำทะเลจะ
ดินเค็ม (saline soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดินมากเกินไปจนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลิตผลของพืช เนื่องจากทำให้พืชเกิดอาการขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษในพืชมากเกินไป วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ จะพามาทำความรู้จักกับดินเค็มในประเทศไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ดินเค็มบกและดินเค็มชายทะเล ซึ่งดินเค็มบกมีทั้งดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือและดินเค็มภาคกลาง โดยดินเค็มแต่ละประเภทเกิดจากสาเหตุการเกิดชนิดของเกลือ ตามลักษณะสภาพพื้นที่นั้นๆ สาเหตุของดินเค็ม เกิดขึ้นได้อย่างไร ? โดยดินเค็มแต่ละประเภทมีสาเหตุการเกิด ชนิดของเกลือ การแพร่กระจาย ตามลักษณะสภาพพื้นที่ และตามลักษณะภูมิประเทศด้วย ดังนี้ ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแหล่งเกลือมาจากหินเกลือใต้ดิน น้ำใต้ดินเค็ม หรือหินทราย หินดินดานที่อมเกลืออยู่ ลักษณะอีกประการหนึ่งคือ ความเค็มจะไม่มีความสม่ำเสมอในพื้นที่เดียวกัน และความเค็มจะแตกต่างกันระหว่างชั้นความลึกของดิน สังเกตได้คือ จะเห็นขุยเกลือขึ้นตามผิวดิน และมักเป็นที่ว่างเปล่าไม่ได้ทำการเกษตร หรือมีวัชพืชทนเค็ม เช่น หนามแดง หนามปี เป็นต้น ดินเค็มภา
“ดินเค็ม” เป็นหนึ่งในภัยคุกคามพื้นที่การเกษตรพบได้ทั่วไปในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ชายทะเล ปัญหาดินเค็มเกิดจากดินที่มีเกลือที่ละลายได้ในสารละลายดินปริมาณมาก จนกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช สังเกตง่ายๆ จะเห็นคราบเกลือเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง บริเวณที่มีปัญหาดินเค็ม พืชมักมีอาการใบไหม้ ลำต้นแคระแกร็น เนื่องจากพืชจะขาดน้ำ ความเป็นพิษจากธาตุโซเดียมและคลอไรด์ และเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร ปัญหาดินเค็มนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการเกษตรแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นวัตกรรมชลาศัย ให้น้ำพืช-ป้องกันดินเค็ม นวัตกรรมชลาศัย (Aquawell and soil salinity control) เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกสำหรับใช้ป้องกันปัญหาดินเค็ม เป็นผลงานของ นายประกอบ เกิดท้วม นายสุรธัช พ่วงผจง นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ ผลงานชิ้นนี้ ได้รับรางวัลผลงานนวัตกรรม ระดับดีเด่น เหรียญทอง ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (ระดับบัณฑิตศึกษา) ในงานมหกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี 2564 ที่
ทุกวันนี้เมืองไทยกำลังเผชิญปัญหาดินเสื่อมโทรม จากปัญหาดินเค็ม เนื่องจาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งนี้ สามารถแบ่งประเภทดินเค็มได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของพื้นที่ที่พบ คือ 1. ดินเค็มชายทะเล 2. ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินเค็มชายทะเล เกิดจากตะกอนที่แม่น้ำพัดพามาตกทับถมในทะเลบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลองแถบชายฝั่งทะเล เมื่อมาตกทับถมกันนานเข้าก็จะกินบริเวณกว้างขวางจนเกิดเป็นหาดเลน และเมื่อมีตะกอนดินทับถมมากขึ้นก็จะค่อยๆ พัฒนาเป็นแผ่นดิน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม เนื้อดิน เป็นดินเหนียว ซึ่งมีลักษณะเป็นเลน มีสีเทา หรือสีน้ำเงินปนเทา การระบายน้ำเลว ดินเค็มชายทะเล ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชทั่วๆ ไปได้ เพราะดินมีความเค็มสูงมาก มีพืชธรรมชาติบางชนิดเท่านั้นที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถขึ้นได้ดีในดินพวกนี้ ได้แก่ แสม โกงกาง ลำพู ตะบูน ประสัก รวมเรียกว่า ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง ดินเค็มชายทะเลนี้พบอยู่ตามชายฝั่งทะเลของภาคใต้ และภาคตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 3.7 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม ดินเค็มชายทะเล สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ดินเค็มโซเดียม และดินเค็มกรด ซึ่งจะกลายเป็นดินเปรี้ยวจัด หากดินนี้
เกษตรกรของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีชีวิตมั่นคง รับการถ่ายทอดนำไปปฏิบัติ มีกินมีใช้ ยิ้มได้เมื่อยามมีภัย เผยดินเค็ม น้ำเปรี้ยวไม่ใช่ข้อจำกัด ปรับปรุงปลูกพืชเลี้ยงปลา ทำให้มีกินมีขายเป็นรายได้ครอบครัวแม้เกิดวิกฤติโควิด-19 ระบาด ดังเช่น นางสาวชาคริยา วิวรวงษ์ เกษตรกรที่ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เป็นหนึ่งของสมาชิกเกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส นางสาวชาคริยา กล่าวว่า เดิมนั้นทำการเกษตรด้วยการปลูกมะนาว และเลี้ยงปลาน้ำจืดแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากพื้นที่เดิมเป็นป่าพรุดินมีความเค็มปลูกพืชไม่ได้ น้ำก็เปรี้ยวเลี้ยงปลาไม่ได้ ทั้งปลาและพืชตายหมด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่มาแนะนำ การปรับปรุงดินด้วยระบบแกล้งดินตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 นอกจากนี้ยังแนะนำการแก้ไขปัญหาน้ำเปรี้ยว จึงทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากดินมาทำการเพาะปลูกได้ น้ำก็ดีขึ้นสามารถนำมาใช้รดต้นไม้และเลี้ยงปลาได้ดี จึงเริ่มปลูกมะนาวด้วยระบบวงบ่อที่สามารถกำหนดปริมาณดินที่จะปลูก รวมทั้งระบบการให้น้ำของต้นมะนาวได้
ดินเค็ม หมายถึงดินที่มีปริมาณเกลืออยู่ในดินมากเกินไป จนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช มีค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำมากกว่า 2 เดซิซีเมน ต่อเมตร (dS/m) พบว่า ในประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีศักยภาพเป็นดินเค็ม ประมาณ 14.9 ล้านไร่ ดินประภทนี้นั้นทำให้พืชที่ปลูกได้รับความเสียหาย เนื่องจากการขาดน้ำ เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร มีการสะสมของโซเดียมและคลอไรด์ที่เป็นพิษในพืชมากเกินไป ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและมีการสูญเสียอินทรียวัตถุสูง เนื่องจากมีพืชน้อยชนิดมากที่สามารถขึ้นได้ ทำให้ไม่มีเศษซากพืชที่จะสลายตัวให้อินทรียวัตถุ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ถูกทิ้งร้าง ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรไม่ได้ มีน้ำใต้ดินเค็มอยู่ใกล้ผิวดิน พบวัชพืชทนเค็ม เช่น หนามพุงดอ และหนามพรม เป็นต้น นางระเบียบ สละ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองนาววัว ต.หัวหนอง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่า เมื่อก่อนบ้านตนมีที่นากว่า 60 ไร่ ปลูกข้าวไม่ได้ผล เพราะผืนนามีแต่คราบเกลือขึ้น ประสบปัญหาดินเค็มอย่างมาก จึงยึดอาชีพต้มเกลือขายถ้วยละ 50 สตางค์ เพราะไม่สามารถปลูกพืชอะไรได้เลย จนต้องจำใจขายที่ดินให้กับนายทุนไร่ละ
หลังนัดสัมภาษณ์เด็กๆ ที่มีใจรักด้านเกษตร รวมถึงอาจารย์ผู้ดูแล ของโรงเรียนวัดเกาะแก้ว หมู่ที่ 1 บ้านเกาะแก้ว ตำบลบางตะบูนนอก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นที่เรียบร้อย การเดินทางสู่จุดหมายก็เริ่มขึ้น เมื่อถึงปลายทาง สภาพโดยรอบของโรงเรียนทำให้เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะเหตุใด โรงเรียนจึงชื่อวัดเกาะแก้ว ส่วนหนึ่งเพราะโรงเรียนตั้งอยู่บนพื้นที่ของวัด อีกส่วนหนึ่งคือตั้งอยู่บนพื้นดินที่ยื่นออกไปในท้องน้ำ จึงเรียกว่าเกาะแก้ว ที่น่าสนใจและเป็นกรณีศึกษา คือ ความพยายามของครูและนักเรียน ที่แม้จะมีพื้นที่ของโรงเรียนเพียงน้อยนิด ทั้งพื้นที่ทั้งหมดยังเป็นดินเค็ม แม้กระทั่งน้ำโดยรอบก็เป็นน้ำเค็ม แต่ก็สามารถสร้างแปลงผักสวนครัว และตั้งใจทำแปลงไม้พื้นถิ่น เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้ ในตอนแรกจะเรียกเด็กนักเรียนว่า กลุ่มยุวเกษตรกร ตามที่โรงเรียนทั่วไปเรียก แต่อาจารย์ที่โรงเรียนบอกว่า โรงเรียนไม่มีกลุ่มยุวเกษตรกร เพราะจำนวนนักเรียนไม่เพียงพอ และไม่สามารถทำการเกษตรได้หลากหลาย ที่ทำได้และเห็นเป็นรูปธรรมมีเพียงการปลูกผักสวนครัว อาจารย์พจน์ เผ่าเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเกาะแก้ว กล่าวว่า พื้นที่บ้าน