ดินเปรี้ยว
ดิน เป็นหัวใจหลักที่สำคัญในการปลูกพืชทุกชนิด พืชผักจะเจริญเติบโต งอกงามได้ดี ขึ้นอยู่กับดินที่นำมาปลูก หากใครกำลังประสบปัญหา “ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินจืด” อย่าเพิ่งหมดหวัง วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านรวมวิธีการแก้ไขให้ดินกลับมาอุดมสมบูรณ์ ดินเค็ม คือ ดินที่มีปริมาณเกลือละลายน้ำได้ปะปนในดินสูง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ในดินมีหินเกลือสะสม และถูกน้ำใต้ดินละลายออกมา (ภาคอีสาน) หรือพื้นที่เคยมีน้ำทะเลท่วมถึงมาก่อน ทำให้มีตะกอนทะเลสะสม (ภาคกลาง) และพื้นที่ติดทะเล หรือมีน้ำทะเลท่วมถึง ผลกระทบ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชทั่วๆ ไปได้ เพราะดินมีความเค็มสูงมาก มีพืชธรรมชาติบางชนิดเท่านั้นที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถขึ้นได้ดีในดินพวกนี้ ได้แก่ แสม โกงกาง ลำพู ตะบูน ประสัก ดินเค็มชายทะเลนี้พบอยู่ตามชายฝั่งทะเลของภาคใต้ และภาคตะวันออก วิธีแก้ปัญหา – ใช้น้ำชะล้างเกลือจากดิน การใช้น้ำสำหรับล้างดินมีทั้งแบบต่อเนื่องและแบบขังน้ำเป็นช่วงเวลา ช่วยปรับฟื้นฟูทำให้ดินชื้นอยู่เสมอ น้ำใต้ดินถูกดึงขึ้นมาที่ผิวหน้าดิน จะทำให้เกลือถูกดึงขึ้นมาตามผิวดินด้วย – ไถพรวน ทำการพรวนหน้าดินให้มีความร่วนซุย
ศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือโยทะกา เป็นหน่วยงานในสังกัดกองอาชีวสงเคราะห์ กรมสวัสดิการทหารเรือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ 5,000 ไร่ ครอบคลุม 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นศูนย์เกษตรกรรมทฤษฎีใหม่ของกองทัพเรือ ปัจจุบันดำเนินการปลูกพืช ปลูกข้าว เมล่อน เลี้ยงไก่ไข่ ฯลฯ และเป็นศูนย์ศึกษาเกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ชื่อว่าศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงทหารเรือโยทะกา ในยามที่ศัตรูรุกล้ำอธิปไตย เหล่าทหารต้องจับอาวุธสู้เพื่อปกป้องอธิปไตย แต่ในยามประเทศชาติสงบ ทหารบางหน่วยหันมาผลิตเสบียงเพื่อป้อนกำลังพลอีกด้วยการทำนา ทำไร่ ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำประมง เป็นต้น โดยกองทัพเรือ มีศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือ 3 แห่ง กระจายใน 3 ภูมิภาค ผลิตพืชผลทางการเกษตร เพื่อจำหน่ายในราคาสวัสดิการให้แก่ทหารและครอบครัว ทั้งข้าราชการและลูกจ้างในกองทัพเรือ ที่สำคัญยังเป็นหน่วยงานที่คอยให้คำแนะนำและส่งเสริมอาชีพด้านเกษตรให้แก่ทหารกองประจำการโดยตรงอีกด้วย เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้หลังจากที่ปลดประจำการ ในส่วนของศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือโยทะกา ที่ตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเ
เมื่อเร็วๆ นี้ รองศาสตราจารย์นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรประกาศเกียรติคุณนักวิจัยและเยาวชนไทยที่นำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทยร่วมประกวดในเวทีสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม คว้ารางวัลมาครองได้มากถึง 225 รางวัลทีเดียว ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ภารกิจของ วช. ในการส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยนำผลงานเข้าจัดแสดงและประกวดผลงานในเวทีระดับนานาชาติ เพื่อเผยแพร่ผลงานนวัตกรรมของคนไทยในเวทีระดับโลก รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ เปิดโลกทรรศน์นักวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดผลงานสู่เชิงพาณิชย์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาลที่มุ่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอนาคต ที่ผ่านมา วช. ได้นำนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยคว้ารางวัลเกียรติยศจาก 2 เวที ได้แก่ 1. เวที “The 47
ย้อนไปก่อนปี 2552 พื้นที่ 4,000 ไร่ ซึ่งอยู่ในเขต หมู่ที่ 10 บ้านควนโถ๊ะ ตำบลแหลม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช คือเป็นที่นารกร้าง มีพืช เช่น เสม็ด กระจูด และกก ขึ้นหนาแน่น ด้วยมีสาเหตุมาจากปัญหาดินแน่นทึบและเป็นดินเปรี้ยวจัด จนไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรได้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการทำมาหากินมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ เพราะการทำเกษตรโดยเฉพาะการปลูกพืชในดินเปรี้ยวจัด จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการดินเปรี้ยวจัด แต่เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการดินเปรี้ยวจัด ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้จากการปลูกพืชในดินเปรี้ยวจัดให้ผลผลิตที่ต่ำ จากสภาพปัญหาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้นำผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัด ด้วยทฤษฎีแกล้งดิน ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส มาขยายผลและปรับใช้ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ทั้งนี้ ในการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินงาน สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยหน่วย
ดิน เป็นปัจจัยพื้นฐานของการทำเกษตรกรรม แต่จากการสำรวจ พบว่าดินที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างจะมีปัญหาของสภาพดินที่แตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งปัญหาในภาพรวม นอกจากพบปัญหาการชะล้างพังทลายของดินแล้ว ยังมีปัญหาดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินพรุ ในพื้นที่ทำการเกษตร เป็นต้น ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานั้น กรมพัฒนาที่ดิน โดยสำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 12 ได้เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของกรมพัฒนาที่ดิน โดยยึดหลักตามแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนา ฟื้นฟูพื้นที่นาร้างให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเพื่อปลูกข้าวและปาล์มน้ำมัน และสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินในการทำเกษตรกรรมอื่นๆ ได้อย่างยั่นยืน นายปรีชา โพธิ์ปาน ผู้อำนวยการ สำงานพัฒนาที่ดิน เขต 12 เปิดเผยว่า สภาพพื้นที่ของภาคใต้ขนาบด้วยทะเลทั้ง 2 ฝั่ง สภาพดินในภาคใต้ส่วนใหญ่จึงเป็นดินทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ นอกจากนี้ ยังมี