ดูแลสวน
กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า พายุฤดูร้อนมักเกิดในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย เป็นพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรเฝ้าระวังและติดตามพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงนี้เข้าสู่ฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออก ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้ชาวสวนเตรียมพร้อมป้องกันบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยระยะก่อนการเกิดพายุฤดูร้อน ควรปลูกต้นไม้บังลม เช่น ไม้ไผ่ กระถินณรงค์ ช่วยลดความสูญเสียจากพายุลมแรงได้ ตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบหรือไม่ให้ผลผลิตออก สำหรับต้นไม้ผลที่มีลำต้นสูง อาจตัดทอนส่วนยอดให้ต่ำลง ใช้เชือกโยงกิ่งและต้น หรือใช้ไม้ค้ำกิ่งและค้ำต้นเพื่อช่วยพยุงต้น และเก็บผลผลิตที่แก่ออกไปบ่มหรือจำหน่ายก่อน เพื่อลดความเสียหาย และลดน้ำหนักบนกิ่งและต้นลง ระยะหลังจากเกิดพายุฤดูร้อน ควรฟื้นฟูสวน โดยตัดแต่งกิ่งฉีกหัก หรือต้นไม้ที่โค่นล้มออกทันทีที่พื้นดินในบริเวณสวนแห้ง ไม่ควรนำเครื่องจักรกลเข้าไปในสวน ขณะที่ดินยังเปียกชื้น เมื่อดินแห้งให้พรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช และใส่ปุ๋ยบำรุงต้น ขุดหรือปาดดินโคลนออกจา