ด้วงลาน
ปัจจุบัน คนในโลกมี 7,300 ล้านคน คาดว่า ปี ค.ศ. 2050 โลกจะมีประชากร 9,000 ล้านคน สถานการณ์อาหารสำหรับบริโภคอาจเข้าสู่ภาวะวิกฤต องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า แมลงและหนอนจะถูกนำมาเป็นอาหารโปรตีนที่สำคัญ ในโลกมีแมลงเป็นล้านชนิด แต่มีแมลงที่กินกันอยู่ปัจจุบัน ราว 2,000 ชนิด ปริมาณโปรตีนในแมลงบางชนิดใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ เช่น หมู และไก่ แต่บางชนิดก็มีมากกว่า หนอนบางชนิดให้ไขมันได้ดี เช่น หนอน สรุปได้ว่าคุณค่าทางอาหารที่ร่างกายต้องการมีครบถ้วนเหมือนเนื้อสัตว์ที่เราบริโภคกันอยู่ทุกวันนี้ และการผลิตแมลงเล็กๆ เหล่านี้ยังประหยัดทรัพยากรอาหารสัตว์ได้อีกมาก เพราะวัวน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ใช้อาหารถึง 8 กิโลกรัม ส่วนแมลง เช่น เนื้อจิ้งหรีดในปริมาณเท่ากัน ใช้อาหารแค่ 1.2 กิโลกรัม เท่านั้น วัฒนธรรมการกินแมลงของเรามีมานานแล้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดดเด่นที่สุดในเรื่องนี้ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง แมงกุดจี่ แมงอีนูน จิ้งโกร่ง บึ้ง เป็นอาหารยอดฮิต ในภาคเหนือแมลงก็เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอาหารเช่นกัน ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน จัดว่าเป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้
นางจรูญ ศรียงยศ เจ้าของฟาร์มเพาะด้วงลาน หมู่ที่ 5 ต.โรง อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา กล่าวว่า การเลี้ยงด้วงในต้นลาน หรือด้วงลาน จะใช้ต้นลานที่ตัดเป็นท่อน ที่ได้สั่งซื้อมาจาก จ.นครศรีธรรมราช ใช้ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำเตรียมไว้ 2 คืนมาใส่ในท่อนลาน ก่อนนำแม่พันธุ์ทั้งตัวผู้และตัวเมีย มาปล่อยปิดทับด้วยแผ่นซีเมนต์ คอยสังเกตและเปลี่ยนขุยมะพร้าว ทุก 3-4 วัน เพราะตัวด้วงจะขึ้นมากินขุยมะพร้าว และจะต้องคอยดูแลให้มีความชื้นสม่ำเสมอ เป็นเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้ด้วงโตเร็วและมีรสชาติหวานมัน อีกทั้งมีโปรตีนสูง เป็นที่ต้องการของตลาด นางจรูญศรีกล่าวว่าตนยึดเพาะด้วงลานมากว่า 5 ปี ปัจจุบันเลี้ยงด้วงลานกว่า 200 ท่อน ใช้เวลาเลี้ยงแต่ละรุ่นประมาณ 45 วัน สามารถเก็บตัวด้วงขายได้อย่างน้อยวันละ 3-4 กก. ส่งขาย ในราคา กก.ละ 170 บาท ยังขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในราคาตัวละ 2 บาท สร้างรายได้เฉลี่ยวันละ 300-500 บาท ที่มา มตอชนออนไลน์