ด้วงแรด
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิต มะพร้าวผลแก่ ปี 2568 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ พฤศจิกายน 2567) ซึ่งคาดว่า มีเนื้อที่ให้ผลทั้งประเทศ 0.828 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีเนื้อที่ 0.821 ล้านไร่ (เพิ่มขึ้น 7,368 ไร่ หรือร้อยละ 0.90) ปริมาณผลผลิตทั้งปี 633.25 ล้านผล เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ให้ผลผลิต 600.52 ล้านผล (เพิ่มขึ้น 32.731 ล้านผล หรือร้อยละ 5.45) เนื่องจากในช่วงปลายฤดูฝนของปี 2567 มีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น และหากในปี 2568 สภาพอากาศเอื้ออำนวย มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อความต้องการของมะพร้าว ทำให้ต้นมะพร้าวมีการสะสมอาหารและต้นมะพร้าวสมบูรณ์ขึ้น จะส่งผลให้การออกดอกและการติดผลต่อทะลายเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากคาดว่า ต้นมะพร้าวจะยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2567 จากการระบาดของหนอนและแมลงศัตรูมะพร้าว เช่น แมลงดำหนาม หนอนหัวดำ และด้วงแรด ทำให้ในปี 2568 ต้นมะพร้าวอาจไม่สมบูรณ์เต็มที่ การติดจั่นและจำนวนผลมะพร้าวต่อทะลายในช่วงปี 2567 ที่จะให้ผลผลิตได้ในปี 2568 ลดลง โดยเฉพาะในจังหวัดประจวบคีรีขัน
วันที่ 7 กันยายน 2565 นางแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง นำผู้สื่อข่าวลงพื้นที่แปลงปาล์มน้ำมันอายุ 8 ปี เนื้อที่ 6 ไร่ ในพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ของนายระบิล คล้ายนอง ซึ่งกำลังประสบปัญหาการเข้าทำลายของด้วงแรดกระจายทั่วทั้งแปลง แปลงปลูกปาล์มน้ำมันแห่งนี้ พบการทำลายของด้วงแรดกัดเจาะโคนทางใบต้นปาล์ม จนหักโค่นพร้อมกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน ไม่สมบูรณ์ มีด้วงแรดเข้ามาวางไข่ ทำให้ทางใบปาล์มน้ำมันเกิดโรคยอดเน่า ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันตายในที่สุด ในเบื้องต้นสำนักงานเกษตรอำเภอย่านตาขาวแนะนำให้เกษตรกรควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยใช้กับดักฟีโรโมนที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง เพื่อล่อจับตัวเต็มวัยของด้วงแรด โดยนำถังที่ติดแผ่นฟีโรโมนเหนือถังไปแขวนให้สูงจากพื้น 3 เมตรขึ้นไป กับดักฟีโรโมน จะดึงดูดให้ด้วงแรดบินชนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดซึ่งเป็นต้นกำเนิดกลิ่น ทำให้ด้วงแรดตกลงในถัง (เนื่องจากด้วงแรดไม่สามารถบินขึ้นในแนวดิ่งทันทีได้ จึงอยู่ภายในกับถังดัก) จากนั้นเกษตรกรสามารถเก็บด้วงแรด
ปัจจุบัน คนในโลกมี 7,300 ล้านคน คาดว่า ปี ค.ศ. 2050 โลกจะมีประชากร 9,000 ล้านคน สถานการณ์อาหารสำหรับบริโภคอาจเข้าสู่ภาวะวิกฤต องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า แมลงและหนอนจะถูกนำมาเป็นอาหารโปรตีนที่สำคัญ ในโลกมีแมลงเป็นล้านชนิด แต่มีแมลงที่กินกันอยู่ปัจจุบัน ราว 2,000 ชนิด ปริมาณโปรตีนในแมลงบางชนิดใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ เช่น หมู และไก่ แต่บางชนิดก็มีมากกว่า หนอนบางชนิดให้ไขมันได้ดี เช่น หนอน สรุปได้ว่าคุณค่าทางอาหารที่ร่างกายต้องการมีครบถ้วนเหมือนเนื้อสัตว์ที่เราบริโภคกันอยู่ทุกวันนี้ และการผลิตแมลงเล็กๆ เหล่านี้ยังประหยัดทรัพยากรอาหารสัตว์ได้อีกมาก เพราะวัวน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ใช้อาหารถึง 8 กิโลกรัม ส่วนแมลง เช่น เนื้อจิ้งหรีดในปริมาณเท่ากัน ใช้อาหารแค่ 1.2 กิโลกรัม เท่านั้น วัฒนธรรมการกินแมลงของเรามีมานานแล้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดดเด่นที่สุดในเรื่องนี้ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง แมงกุดจี่ แมงอีนูน จิ้งโกร่ง บึ้ง เป็นอาหารยอดฮิต ในภาคเหนือแมลงก็เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอาหารเช่นกัน ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน จัดว่าเป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้
ช่วงนี้เกิดสถานการณ์การระบาดของศัตรูมะพร้าว 5 ชนิด ได้แก่ หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง และไรสี่ขา ใน 29 จังหวัดทั้งประเทศ ในพื้นที่ภาคใต้ 12 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต กระบี่ ชุมพร สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และตรัง จังหวัดตรังมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว จำนวน 3,662.10 ไร่ ปลูกมากที่สุดคือ อำเภอกันตัง จำนวน 802.89 ไร่ อำเภอเมือง จำนวน 602.83 ไร่ คุณวสันต์ สุขสุวรรณ เกษตรจังหวัดตรัง จึงขอเตือนเกษตรกรและผู้ประกอบการ เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รีสอร์ต ทุกแห่งที่ปลูกมะพร้าวเฝ้าระวังและแก้ปัญหาการจัดการศัตรูมะพร้าวตามแนวทางอย่างยั่งยืน ศัตรูมะพร้าวที่สำคัญและลักษณะการทำลาย มีดังนี้ หนอนหัวดำ ตัวหนอนจะทำลายจากใบล่าง โดยกัดกินผิวใต้ใบและสร้างอุโมงค์ยาวคล้ายทางเดินของปลวก หากการทำลายรุนแรงทำให้มะพร้าวตาย เกษตรกรควรใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ประกอบด้วย วิธีกล ได้แก่ การตัดทางใบที่ถูกหนอนทำลายและนำมาเผาทำลาย ใช้ศัตรูธรรมชาติแตนเบียนหนอน Bracon hebetor เพื่อควบคุมระยะหนอนของหนอนหัวดำ อัตราไร่ละ 200 ตัว กระจายทั่วทั้งแปลง โดยปล่อย 12 ครั้ง แต่ละครั้งห่า
กรมวิชาการเกษตร ลุยต่อยอดงานวิจัยผลิตชีวภัณฑ์ราเขียวเมตาไรเซียม โชว์แบบใหม่อัดเม็ดพร้อมใช้ สะดวก สลายตัวได้ง่าย แถมคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่าเชื้อสด ยืดอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นานเป็นปี ยันประสิทธิภาพปราบด้วงแรดศัตรูร้ายทำลายมะพร้าวเทียบเท่าใช้เชื้อสด จดอนุสิทธิบัตรแล้ว นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ราเขียวเมตาไรเซียม เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด ปัจจุบัน สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้คัดเลือกราเขียวเมตาไรเซียมสายพันธุ์ DOA-M5 ที่มีความจำเพาะเจาะจงในการเข้าทำลายด้วงแรด ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญในมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม โดยราเขียวสามารถทำลายด้วงแรดได้ทั้งในระยะตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย โดยที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ราเขียวเมตาไรเซียมในรูปแบบเชื้อสดที่เลี้ยงในธัญพืช ซึ่งสามารถเลี้ยงขยายได้ง่าย แต่มีข้อเสียเรื่องระยะเวลาในการเก็บรักษาซึ่งไม่สามารถเก็บเชื้อไว้ได้นาน และไม่สามารถควบคุมคุณภาพของเชื้อได้ เนื่องจากการเก็บรักษาเชื้อจำเป็นต้องเก็บในที่เย็นเพื่อรักษาประสิทธิภาพของเชื้อ ดังน
กรมวิชาการเกษตรโชว์งานวิจัยใหม่ “ผลิตชีวภัณฑ์ราเขียวเมตาไรเซียมแบบอัดเม็ด ” สะดวกพร้อมใช้ปราบด้วงแรดศัตรูร้ายทำลายมะพร้าว คุณภาพดีกว่าใช้เชื้อสด แถมสลายตัวได้ง่าย อายุเก็บรักษานานข้ามปี นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ราเขียวเมตาไรเซียมเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด ปัจจุบันสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้คัดเลือกราเขียวเมตาไรเซียมสายพันธุ์ DOA-M5 ที่มีความจำเพาะเจาะจงในการเข้าทำลายด้วงแรด ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญในมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม โดยราเขียวสามารถทำลายด้วงแรดได้ทั้งในระยะตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย โดยที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ราเขียวเมตาไรเซียมในรูปแบบเชื้อสดที่เลี้ยงในธัญพืช ซึ่งสามารถเลี้ยงขยายได้ง่าย แต่มีข้อเสียเรื่องระยะเวลาในการเก็บรักษาซึ่งไม่สามารถเก็บเชื้อไว้ได้นาน และไม่สามารถควบคุมคุณภาพของเชื้อได้ เนื่องจากการเก็บรักษาเชื้อจำเป็นต้องเก็บในที่เย็นเพื่อรักษาประสิทธิภาพของเชื้อ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาและต่อยอดงานวิจัยดังกล่าว สำนักวิจัยพัฒนาการอารั
สวพ.7 หวั่นซ้ำรอยสมุย ส่งชุดเฉพาะกิจรุกสร้างการรับรู้เรื่อง “การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว” ชาวเกาะเต่า ลดความเดือดร้อนชาวสวน-ปกป้องแหล่งท่องเที่ยวระดับประเทศ หลังได้รับร้องเรียนศัตรูมะพร้าวระบาดหนัก ต้นล้มตายเป็นจำนวนมาก เร่งใช้ชีวภัณฑ์ปราบ-หนุนทำเกษตรอินทรีย์แก้ปัญหาแบบยั่งยืน นายวิรัตน์ ธรรมบำรุง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 (สวพ.7) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบัน เกาะพงัน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่มีชื่อเสียงของประเทศระดับโลก และมีมะพร้าวเป็นสินค้าอัตลักษณ์หนุนการท่องเที่ยวเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมะพร้าวเกาะพะงันได้รับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( Geographical Indication) หรือสินค้า GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าเป็นมะพร้าวมีลักษณะเด่นเฉพาะถิ่นดังนี้ “มะพร้าวใหญ่ สะโพกโต เนื้อหนา กะลาแข็ง ก้านใหญ่ ทางใบยาว เนื้อมะพร้าว 2 ชั้น น้ำมันใส ในเปลือกเหนียว เนื้อหวานมัน โดยปัจจุบันอำเภอเกาะพะงันมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว จำนวน 22,000 ไร่ ปลูกไร่ละ 20 ต้น ผลผลิตเฉลี่ย 60 ผล/ต้น ให้ผลผลิตมะพร้าวทั้งหมดประมาณ 26 ล้า
กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวเฝ้าระวังด้วงแรดมะพร้าว สามารถพบได้ทั้งในระยะที่ต้นมะพร้าวยังไม่ให้ผลผลิตและให้ผลผลิตแล้ว ให้สังเกตการเข้าทำลายของด้วงแรดมะพร้าว จะพบตัวเต็มวัยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าว โดยเจาะทำลายยอดอ่อนที่ใบยังไม่คลี่ ทำให้ใบใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายหางปลาหรือรูปพัด กรณีถูกทำลายมาก ใบใหม่แคระแกร็น รอยแผลตรงบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนที่ถูกด้วงแรดมะพร้าวกัดเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเกิดยอดเน่าจนถึงต้นตายได้ในที่สุด หากพบการเข้าทำลายของด้วงแรดมะพร้าว เกษตรกรควรใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน คือ วิธีเขตกรรม ชีววิธี และการใช้สารเคมี สำหรับวิธีเขตกรรม ให้เกษตรกรหมั่นรักษาความสะอาดและกำจัดเศษวัสดุต้นมะพร้าวบริเวณสวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ กรณีมีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย กองแกลบ ควรกำจัดออกไปจากสวนมะพร้าว กรณีต้นมะพร้าวที่ถูกตัดแล้วยังสดอยู่ ให้นำมาทำกับดักล่อให้ด้วงแรดมะพร้าวมาวางไข่ โดยให้ตัดทอนออกเป็นท่อนสั้นๆ นำมาวางเรียงรวมกันไว้ให้เปลือกมะพร้าวติดกับพื้นดิน เพราะด้วงแรดมะพร้าวจะวางไข