ตราด
ตราด เกษตรกรดีใจ ทุเรียนราคาสูงมาก พุ่งเกือบ 270 บาทต่อกิโล ทำสถิติประวัติการณ์ แนวโน้มคาดลดลงไม่ต่ำกว่า 150 บาทต่อกิโล แนะเกษตรกร ใส่ใจดูแลยกระดับคุณภาพ-คงราคาเดิม นายวินัย ขยันยิ่ง เกษตรจังหวัดตราด เปิดเผยว่า จากข้อมูลพยากรณ์ของคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืช ของภาคตะวันออก ปี 2567 ครั้งที่ 2 โดยพบว่า ปี’67 จังหวัดตราด ปลูกทุเรียนทั้งหมด 109,144 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิต 48,091 ไร่ ผลผลิต 96,903 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 8.26 เนื้อที่ยืนต้นทุเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยปรับเปลี่ยนพืชอื่นๆ จากยางพารา มังคุด เงาะ ลองกอง และพื้นที่ว่างเปล่ามาปลูกทุเรียนทดแทน เพิ่มเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีต้นทุเรียนที่ปลูกในปี 2562 เริ่มให้ผลผลิตใหม่ในปี 2567 ได้เป็นปีแรก จึงให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และดอกมีหลายรุ่นใน 1 ต้น สวนทางกลับราคาทุเรียนที่มีราคาที่สูงขึ้น โดยทุเรียนหมอนทอง ราคา 270 บาทต่อกิโลกรัม นับว่าสูงมากและไม่เคยสูงระดับนี้มาก่อน ทั้งนี้ ทุเรียนของจังหวัดตร
แทบจะเป็น Soft Power ทีเดียว เมื่อกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประกาศ 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น 77 จังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดตราด เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ ที่ “แกงเลียงกะแท่งหอยนางรม” เป็นเมนูที่คนในจังหวัดแทบไม่รู้จัก แกงเลียงกะแท่งหอยนางรม น้อยคนจะรู้จัก คุณปรารถนา มงคลธวัช วัฒนธรรมจังหวัดตราดเล่าถึง “แกงเลียงกะแท่งหอยนางรม” 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น จังหวัดตราด ที่มาจาก โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติที่หายไป The Lost Taste” เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์อาหารไทย อาหารท้องถิ่น อาหารสมุนไพร ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทยและรวบรวมความรู้ส่งต่อเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดรุ่นสู่รุ่น ต่อยอดและยกระดับอาหารท้องถิ่นตราดสู่อาหารจานเด็ด โดยผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา 5 ด้าน คือ 1. ด้านวัตถุดิบท้องถิ่น นำมาใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งที่มา 2. ด้านวิธีการปรุง เคล็ดลับ แสดงให้เห็นอัตลักษณ์ วิถีชีวิตที่มีการสืบทอดต่อกันมาเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 3. ด้านสุขภาพ โภชนาการ สมุนไพร เป็นอาหารสุขภาพ 4. ด้านการสืบ
คุณมงคล จอมพันธุ์ เกษตรจังหวัดตราด กล่าวถึง คุณเรือง ศรีนาราง เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำสวนปี 2562 ว่า คุณเรือง ศรีนาราง รู้จักนำประสบการณ์และเทคโนโลยีมาใช้ในการทำสวนทุเรียนจนกระทั่งได้ผลเป็นที่ยอมรับ เป็นต้นแบบศูนย์เรียนรู้ด้านการผลิตทุเรียนคุณภาพ ที่ลดต้นทุนผลิตปุ๋ยใช้เอง การใช้สารชีวภัณฑ์ ลดการใช้สารเคมี การบริหารจัดการน้ำ การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนเกษตรกร เป็นรองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดตราดและประธานแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำสวนระดับภาคตะวันออกปี 2561 และได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำสวน ปี 2562 จะเข้ารับพระราชทานโล่ในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในเดือนพฤษภาคมนี้ เลือกปลูกทุเรียนหมอนทอง เล็งผลผลิตทำได้ง่ายกว่าชะนี กระดุม คุณเรือง ศรีนาราง เกษตรกรวัย 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 34/2 หมู่ที่ 6 ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ประกอบอาชีพทำสวนทุเรียนเป็นอาชีพหลัก ร่วม 25 ปี เดิมมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดพิจิตร เมื่อเรียนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชี
จากลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดตราด ที่อยู่ปลายสุดแผ่นดินของประเทศไทย และมีพื้นที่ด้านหนึ่งติดฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ทำให้สภาพของอากาศ ความชื้นและสภาพดินเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชกลุ่มไม้ผล เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง เกษตรกรที่นี่จึงทำสวนไม้ผลกันมายาวนานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยมีสับปะรดตราดสีทองที่เป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของเกษตรกรจังหวัดตราด เป็นพืชที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรค่อนของสูง มีการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตตลอดปี ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ จัดเป็นสับปะรดบริโภคผลสดพันธุ์เดียวของไทย ที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ด้วยลักษณะเด่นที่รูปทรงผล สีผิวเหลืองส้ม รสชาติหวานมาก เนื้อเหลืองทองสม่ำเสมอ เนื้อแห้งกรอบและมีกลิ่นหอมกว่าสับปะรดทุกสายพันธุ์ จุดเด่นสับปะรดตราดสีทอง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสับปะรดพันธุ์นี้ จัดเป็นสับปะรดกลุ่มควีน (Queen) ลักษณะเด่นภายนอก คือ ขอบใบที่ต้นและขอบใบที่จุกผลมีหนามสั้นๆ แหลมคม ทรงโค้งสีน้ำตาลแดง ผลเป็นรูปทรงกระบอก ผิวเปลือกเมื่อแก่สุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มหรือเหลืองส้ม ตาใหญ่ ร่องตาลึก เปลือกหนาตาลึก
“เส้นทาง สุดทางบูรพา” เป็น 1 ใน 5 เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนบนฝั่ง ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตราด ดำเนินการภายใต้แนวคิดนโยบายภาครัฐ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตราด เป็นการสร้างและการกระจายรายได้สู่พื้นที่ท่องเที่ยวบนฝั่งจังหวัดตราด จากความนิยมของนักท่องเที่ยวที่มุ่งสู่เกาะต่างๆ คุณไพโรจน์ โสภาพร พัฒนาการจังหวัดตราด กล่าวว่า หลังการเตรียมพร้อมทั้ง 5 เส้นทางแล้ว ถึงขั้นตอนกิจกรรมทดสอบเส้นทาง (Press Tour) เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเพื่อเตรียมประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน เพี่อเพิ่มและกระจายรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมกับคณะเดินทางสำรวจ ทดสอบ เส้นทางชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดตราด : เส้นทางที่ 5 “สุดทางบูรพา” เมื่อกลางเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่หมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจะมีความพร้อมทางด้านการท่องเที่ยว เพราะจังหวัดตราดเป็น 1 ใน 10 เมืองรอง ได้รับการพัฒนาส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวจากหน่วยงานต่างๆ มาบ้างแล้ว และที่สำคัญชุมชนมีศักยภาพทางธรรมชาติ มีความเข้มแข็ง มีอัตลักษณ์ของตัวเองที่เป็นเสน่ห์น่าสนใจ การเข้ามา
“ท่องเที่ยวชุมชน” ภาพของการท่องเที่ยวชุมชนในระดับภูมิภาค ที่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นการท่องเที่ยวรองจากกระแสหลัก ภาพจำของนักท่องเที่ยวแม้แต่คนไทยอาจจะนึกถึงเป็นอันดับท้ายๆ ที่จะเลือกไป ด้วยคิดว่าเป็นการท่องเที่ยวที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ไม่สะดวกสบาย ไม่มีอะไรที่โดดเด่นสร้างแรงจูงใจให้กับนักท่องเที่ยวไปเที่ยวเหมือนแหล่งท่องเที่ยวในเมืองหลัก เมืองรองทั่วๆ ไป อาจจะเป็นเพราะการเข้าถึงข้อมูลด้านแหล่งท่องเที่ยวชุมชน การนำเสนออัตลักษณ์ยังไม่ชัดเจน และการตลาดไม่ได้สร้างการรับรู้ให้นักท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง และการเดินทางที่อาจจะไม่สะดวก ใช้ระยะเวลานาน ททท. ตราด ดันชุมชนเปิดตลาด กระบี่ พังงา ภูเก็ต สร้างเครือข่ายเชื่อมโยง คุณวรรณประภา สุขสมบูรณ์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด บอกว่า ตามนโยบายของรัฐบาลที่เน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อเป็นการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 1-4 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้ร่วมกับสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส จัดกิจกรรม Amazing GO Local Trat – Andaman ปลุกกระแสการท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชน โดยนำชุมชนท่องเที่ยวที่มีศักยภาพความพร้อม
หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำทัพ ครม.ชุดใหญ่ ลงพื้นที่จันทบุรีและตราด เมื่อวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2561 โดยมีภารกิจหนึ่งตรวจเยี่ยมพื้นที่เกาะช้าง ในการรับข้อเสนอโครงการเพิ่มศักยภาพพื้นที่หมู่เกาะช้าง เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงอย่างยั่งยืนนั้น ล่าสุดได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการโครงการเร่งด่วน คือ โครงการพัฒนาถนนเชื่อมรอบเกาะ และการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว รวมถึงปัญหาที่อุทยานฯทับซ้อนที่ทำกินของชาวบ้าน ล่าสุด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เสนอเส้นทางแนวสีน้ำเงิน ระยะทาง 10.4 กิโลเมตร ระดับดิน 6 กิโลเมตร ยกระดับ 4.4 กิโลเมตร โดยจุดเริ่มต้นอยู่ที่บ้านคลองกลอย ผ่านบ้านหวายแฉก และบ้านสลักเพชร ซึ่งเป็นเส้นทางที่หลีกเลี่ยงพื้นที่ป่าลุ่มน้ำชั้น 1A ทั้งนี้ให้กรมทางหลวงชนบทสำรวจออกแบบและศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนดำเนินโครงการ ถนนเชื่อมเกาะช้าง 2.5 พัน ล. “จักรกฤษณ์ สลักเพชร” นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างใต้ จ.ตราด กล่าวว่า ถนนบนเกาะช้างมีระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร แต่ยังเหล
ที่ห้องประชุมศูนย์ประสานงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จังหวัดตราด นายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยจังหวัดตราด ประกอบด้วย ผู้บริหาร อปท.ต่างๆ ในจังหวัดตราด ร่วมประชุมกว่า 30 องค์กร มีวาระสำคัญอยู่ที่การพิจารณาคำขอรับการสนับสนุนงบประมาณของ อปท.ทั้ง 26 แห่ง นายดนัย กล่าวในที่ประชุมว่า หลังจากจังหวัดตราดได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยจังหวัดตราด และมอบนโยบายให้ อปท.ของจังหวัดจัดทำแผนโครงการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย จังหวัดตราด โดยพิจารณาเป็นกลุ่มตามโครงการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย อปท.หรือ “คลัสเตอร์ (Cluster)” ซึ่ง อปท.ทั้ง 26 แห่งได้ทำโครงการเสนอให้ที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาแล้ว มีงบประมาณรวมทั้งสิ้น 603,005,635.70 บาท ด้าน นายมงคล วิภาตนาวิน รองปลัดเทศบาลเมืองตราด กล่าวว่า เทศบาลเมืองตราดได้ทำโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์รวบรวมขยะอันตราย งบประมาณ 2,177,000 บาท และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะ งบประมาณ 9,950,000 บาท ทั้งนี้ ที่ศูนย์บำบัดขยะและมูลฝอยรวม จังหวัดตราด ตั้งอยู