ตลาดมะม่วง
ตลาดสี่มุมเมือง อาณาจักรค้าส่งผลไม้ใกล้กรุงเทพฯ ขอเชิญอุดหนุนมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ จากเกษตรกรชาวสวน ครบทั้งเกรดพรีเมี่ยมส่งห้างชั้นนำ ส่งตลาดชื่อดังและส่งออกต่างประเทศ ไปจนถึงเกรดคละสำหรับคนงบน้อยที่สามารถซื้อไปทำกำไร ทั้งขายต่อหรือนำไปประกอบเมนูต่างๆ ในปีนี้ คาดว่าจะมีมะม่วงจากทั่วประเทศเข้ามาจำหน่ายมากถึงวันละ 240 ตัน หลากหลายสายพันธุ์ในราคาขายส่ง ทั้งสายพันธุ์โบราณ อาทิ แก้วลืมรัง หัวช้าง พราหมณ์ขายเมีย แขกขายตึก อกร่อง ปลาตะเพียน มันขุนศรี เริ่มต้นที่กิโลกรัมละ 4 บาท มะม่วงพรีเมี่ยมคุณภาพส่งออก อาทิ เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ มหาชนก เริ่มต้นที่กิโลกรัมละ 25 บาท มะม่วงสายพันธุ์ที่สร้างกำไรดี อาทิ แก้วขมิ้น มันเดือนเก้า ฟ้าลั่น โชคอนันต์ เริ่มต้นที่กิโลกรัมละ 8 บาท นอกจากนี้ พบโปรโมชั่นขายส่ง “มะม่วงขายดี ขายได้กำไรงาม” เพื่อพ่อค้าแม่ค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย อาทิ – ร้านใหม่-ผลไม้ รับมะม่วงเพิ่มอีก 1 กิโลกรัม ฟรี ทันที เมื่อซื้อมะม่วง 1 ลัง (25 กิโลกรัม) และลดทันที 10% เมื่อซื้อ 1 ตัน – ร้านอิงอิง รับมะม่วงเพิ่มอีก 1 กิโลกรัม ฟรี ทันที เมื่อซื้อมะม่วง 1 ลัง (25 กิโลกรัม) แล
จังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่ทางการเกษตรรวมทั้งจังหวัด 343,601 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 36 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนใหญ่ใช้ปลูกข้าว ไม้ผล และพืชผัก โดยอำเภอที่มีพื้นที่ทำการเกษตรมากที่สุดคือ อำเภอหนองเสือ ลาดหลุมแก้ว ลำลูกกา ตามลำดับ ปัจจุบันแม้กระแสความเจริญของสังคมเมืองโดยเฉพาะโครงการบ้านจัดสรรที่รุกเข้าสู่พื้นที่การเกษตรอย่างต่อเนื่อง แต่ “อำเภอลาดหลุมแก้ว” เป็นหนึ่งในทำเลทองทางการเกษตรของจังหวัดปทุมธานี ยังมีพื้นที่การเกษตรมากถึง 121,500 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าวกว่าแสนไร่ รองลงมาเป็นสวนมะม่วง 793 ไร่ พืชผัก 453 ไร่ และสวนมะพร้าว 334 ไร่ คุณมาโนช ระรวยรส นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี โทร. 081-633-6189 กล่าวว่า ปัจจุบัน อำเภอลาดหลุมแก้ว ยังคงรักษาความเป็นเกษตรธรรมชาติได้อย่างดี ที่นี่ทำการเกษตรหลากหลายชนิด ทั้งนาข้าว ไม้ผล ไร่นาสวนผสม มีสวนกล้วยไม้แปลงใหญ่ เหมาะสำหรับพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพราะอยู่ใกล้ กทม. เส้นทางคมนาคมสะดวกสบาย ปัจจุบัน กรมพัฒนาชุมชน ได้สนับสนุนให้มีโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอท็อป (OTOP) นวัตวิถี ตามโครงการ “ไทยนิยม ย
“เมื่อตลาดมะม่วงเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่คนชอบรับประทานผลไม้ มีรายได้จากลูกค้าที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งใส่ใจทุกขั้นตอนรายละเอียด ทำให้กลุ่มลูกค้ามีความพึงพอใจ และเน้นคุณภาพความเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค” คุณธิดาพร ศรีพูล แม่ค้าหน้าใส เล่าถึงงานขายมะม่วง คุณธิดาพร มีร้านจำหน่ายมะม่วง ตั้งอยู่เลขที่ 232/60 หมู่ที่ 12 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เล่าถึงแรงจูงใจ ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ เริ่มแรกมีอาชีพเป็นชาวสวน ซึ่งก็เป็นสวนมะม่วงอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ บนเนื้อที่กว่า 250 ไร่ ส่วนใหญ่จำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการราคาขายส่ง สำหรับความพิเศษของร้านขายมะม่วงที่นี่จะแตกต่างจากร้านทั่วๆ ไป เนื่องจากมะม่วงของทางร้านจะมีวางจำหน่ายตลอดทั้งปี ถึงแม้บางครั้งอาจจะไม่มีผลผลิตจากทางสวนก็ตาม แต่สามารถนำมะม่วงจากสวนที่รู้จักกัน ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเครือข่ายสัมพันธ์กัน มาจากการทำงานร่วมกันยาวนานกว่า 20-30 ปี มาวางขายที่ร้าน และสายพันธุ์หลักที่ได้วางขายส่วนใหญ่แล้วเป็นมะม่วงสายพันธุ์น้ำดอกไม้ ที่มีการแบ่งไปตามเกรด ไปจนถึงเกรดเฉพาะที่สำหรับส่งออกไปยังนอกประเทศอีกด้ว
“บางคล้า” แหล่งปลูกสุดยอดมะม่วงพันธุ์ดี ด้วยเอกลักษณ์เมือง 3 น้ำ ดันมะม่วงขายตึก-น้ำดอกไม้สีทองได้รับความนิยมสูง กลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงบางคล้าเร่งผลิตตีตลาดโมเดิร์นเทรดและตลาดออนไลน์ นายสมศักดิ์ วัลลานนท์ ประธานกลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า สภาพพื้นที่ อ.บางคล้า ซึ่งมีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่าน ในแต่ละปีจะมีน้ำทะเลหนุนเข้ามาในลุ่มน้ำ ทำให้พื้นที่มีสภาพเป็นพื้นที่น้ำกร่อย ผลผลิตมะม่วงที่ปลูกนั้นจึงมีรสชาติดี หวาน หอม อร่อย มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเกษตรกรที่นี่ปลูกมะม่วงหลากหลายพันธุ์ ได้แก่ น้ำดอกไม้สีทอง โชคอนันต์ เขียวเสวย แรด ฟ้าลั่น มันเดือนเก้า และขายตึก ซึ่งเป็นมะม่วงพื้นถิ่นของ อ.บางคล้า ที่ปลูกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ปัจจุบันตลาดมีความต้องการมะม่วงพันธุ์ขายตึกและพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองมากกว่าพันธุ์อื่น ดังนั้นทางกลุ่มฯ จึงได้ใช้หลักตลาดนำการผลิต วางแผนปรับเปลี่ยนพื้นที่ของสมาชิกมาปลูกมะม่วง 2 พันธุ์นี้แทน โดยอาศัยความได้เปรียบที่มะม่วงบางคล้าเป็นมะม่วง 3 น้ำ (น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย) ที่มีรสชาติอร่อยไม่เหมือนใครเป็นจุดขายของกลุ่มฯ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพการผล
คุณทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยหลังการสัมมนาเชิงปฏิบัติการบูรณาการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2565-2570 ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมไมด้า ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร เมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า ปัจจุบันผลไม้ไทยนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 45,613 ล้านบาท ซึ่งภาครัฐได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผลไม้เศรษฐกิจหลัก 7 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย และลิ้นจี่ เพื่อผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) จัดการสัมมนาดังกล่าวขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นรอบด้านจากทุกภาคส่วน เพื่อนำข้อมูลและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2565-2570 หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาผลไม้ไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2565-2570) ให้ครอบคลุมสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่การจัดการผลิตและผลิตไม้ผลคุณภาพสู่ผู้บร
ท่ามกลางสภาพความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นซ้ำๆ มา 2 ปีแล้ว สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตร เกิดความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรหลายครัวเรือน ในพื้นที่ของอำเภอหันคา แต่ที่น่าเป็นห่วงยิ่งคือ สวนไม้ผล เนื่องจากถ้าเสียหายแล้วคงต้องใช้เวลานาน อย่างน้อย 4-5 ปี กว่าจะให้ผลผลิต คุณกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดชัยนาท มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจเยี่ยมสวนของเกษตรกร สร้างการรับรู้ ให้คำแนะนำการดูแลรักษาในช่วงประสบภัยแล้งให้กับเกษตรกรได้รับทราบและเข้าใจ ในการนี้ สำนักงานเกษตรอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ได้เร่งรัดในการลงตรวจเยี่ยมชาวสวนต่างๆ แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อผู้อ่านจึงได้เก็บข้อมูลสวนไม้ผลที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจมาฝากผู้อ่าน นั่นคือ สวนมะม่วงที่ยืนต้นสู้แดดที่แผดเผา แวดล้อมด้วยไร่มันสำปะหลัง บริหารจัดการโดยวิศวกรช่างกลเก่าผู้ผ่านงานบริษัทออกแบบชุดควบคุมรถแทรกเตอร์เป็นเวลาหลายปี แต่ต้องออกมาทำสวนด้วยความรักคุณพ่อ ซึ่งเป็นทหารอากาศ เจ้าของสิทธิบัตรมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งเป็นผู้รักการปลูกมะม่วงและขยายพันธุ์มะม่วง แต่พลาดพลัดตกต้นมะม่วงลงมาจนเส้นเอ็นที่ขาขาด หลังออกจากงานบริษัทรถแทรกเตอ