ตลาดสินค้า
ศกอ. จ.นครราชสีมา ลุยปลูก ‘ดอกกระเจียว’ สร้างกำไรปีละ 51,472 บาท/ไร่ มุ่งขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ ผ่าน ศพก. สร้างอาชีพ-รายได้ ช่วงวิกฤตโควิด นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (สศท.5) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “ดอกกระเจียว” นับเป็นสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาเริ่มมีเกษตรกรให้ความสนใจและมีการปลูกกระเจียวกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากดอกกระเจียวเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย ได้รับความนิยมนำไปประกอบอาหารได้หลายเมนู มีรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม สรรพคุณแก้อาการท้องอืด ลดกรดในกระเพาะอาหาร จึงทำให้ดอกกระเจียวเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง จากการติดตามสถานการณ์การผลิตและตลาดสินค้าดอกกระเจียวในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยการสัมภาษณ์ นายนพนันท์ คงพุดซา เศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา ของ สศก. ที่ประสบความสำเร็จในการปลูกดอกกระเจียวเพื่อจำหน่าย บอกเล่าว่า เดิมครอบครัวตนมีอาชีพทำนาอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก จึงต้องแบกรับความเสี่ยงสูง
ผมไม่ได้ไปเที่ยวเมืองเชียงรุ่ง – สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ที่เมืองจีนมานานกว่า 20 ปีแล้ว จำได้ว่าสมัยที่ไปเมื่อปลายทศวรรษ 2530 นั้น เชียงรุ่ง ยังเป็นเมืองเล็กๆ ตึกรามบ้านช่องเก่าๆ บรรยากาศทึบทึม ถนนหนทางเต็มไปด้วยรถจักรยาน ชนิดที่ว่าแถวหน้าของเส้นหยุดรถตรงสัญญาณไฟแดงทุกแยกนั้นจะมีจักรยานจอดรอเต็มพรืดนับหลายสิบคัน เผอิญเพิ่งได้ไปมาเมื่อเดือนที่แล้ว พบด้วยความประหลาดใจว่า ทุกวันนี้ไม่มีจักรยานเลย ที่พอเห็นบ้างคือจักรยานสามล้อขนผักตามตลาดสด ติดมอเตอร์ไฟฟ้า และจักรยานเช่าขี่เล่นของเมือง (คล้ายๆ ที่ กทม.มี) ไม่น่าเชื่อแต่ก็ต้องเชื่อ ว่ารัฐบาลจีนเปลี่ยนแปลงสิบสองปันนาให้เป็นเมืองจีนที่ใหญ่โตทันสมัย รองรับนักท่องเที่ยวจีนที่ทะลักลงมาพักผ่อนหย่อนใจในเมืองไตลื้อโบราณที่มีความแปลกของสถานที่ ความต่างทางวัฒนธรรมซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อ “ทัวริสต์” ได้อย่างเบ็ดเสร็จจริงๆ กรุ๊ปทัวร์จีนกรุ๊ปไหนไม่ต้องการลงไปถึง “เชียงใหม่” ก็อาศัยเที่ยวที่สิบสองปันนาแทนๆ กันได้ ก่อนไปก็พอได้อ่านงานวิจัยของอาจารย์สายสังคมวิทยา ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่บางชิ้นอย่างคร่าวๆ ครับ เลยทำใจได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดเพ
นอกจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงมุ่งมั่นสร้างความเข้มแข็งในภาคการผลิต ด้วยการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ รู้จักแปรรูปผลผลิตสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้มีงานมีรายได้เลี้ยงชีพอย่างมั่นคง พระองค์ยังทรงเห็นความสำคัญของการมีช่องทางขายสินค้า ที่จะช่วยส่งต่อพืชผล-ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหล่านั้นไปยังผู้บริโภคในรูปแบบที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย จึงเป็นที่มาที่พระองค์ท่านได้ทรงร่วมกับเอกชนพัฒนาร้านค้าปลีกเพื่อคนไทยภายใต้ชื่อ “โกลเด้น เพลซ” (Golden Place) ดำเนินงานโดยบริษัท สุวรรณชาด จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 ให้เป็นต้นแบบการจัดการร้านค้าปลีกที่มีสินค้าคุณภาพหลากหลาย ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าดีในราคายุติธรรม ขณะที่ผู้ผลิตก็ขายสินค้าได้โดยไม่ขาดทุน ซูเปอร์มาร์เก็ตในโครงการส่วนพระองค์ สาขาแรกจึงเกิดขึ้นบนพื้นที่กว่า 400 ตารางเมตร ย่านเลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ (สาขาพระราม 9) เป็นช่องทางจำหน่ายอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค รวบรวมผลิตภัณฑ์จากโครงการตามพระราชดำริ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา สินค้าเด่น อาทิ ข้าวโพดหวานสองสี นมยูเอชที
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) เป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของชุมนุมสหกรณ์ระดับจังหวัด ซึ่งมีสมาชิกเป็นสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศ ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2495 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้สหกรณ์สมาชิกดำเนินกิจการร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามวิธีการสหกรณ์ที่ไม่หวังผลกำไร ภายใต้วิสัยทัศน์ “ชสท. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของสหกรณ์การเกษตร ที่ให้บริการแก่สมาชิกอย่างครบวงจรในด้านการส่งเสริมการผลิต จัดหาปัจจัยในการผลิต การตลาด ให้องค์ความรู้ และสวัสดิการ ตามอุดมการณ์สหกรณ์ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม” นายศิริชัย ออสุวรรณ ประธานกรรมการดำเนินการ ชสท. กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 64 ปี ชสท. ประกอบกับเป็นปีที่มีความสำคัญของขบวนการสหกรณ์ไทย ซึ่งเป็นปีครบรอบ 100 ปี สหกรณ์ไทย เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา ชสท. ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และขบวนการสหกรณ์ไทย ได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่ง ชสท. ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมในเดือนพฤษภาคม โดยนอกจากการเปิด “โครงการสร้างศูนย์เรียนรู้ 100 ป