ตลาดเมล่อน
ปัจจุบัน ถ้านึกถึงผลไม้ที่เป็นพืชตระกูลแตง ที่มีราคาค่อนข้างสูง รสชาติหวานละมุนลิ้น คงจะหนีไม่พ้นผลไม้ที่มีชื่อว่า เมล่อน (Melon) ผลไม้เศรษฐกิจชนิดใหม่ที่มีอนาคตทางการตลาดค่อนข้างไกล เมล่อน (Melon) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo L. var. cantalpensis ในวงศ์ Cucurbitaceous ตระกูลเดียวกันกับแตงไทย บางท้องที่เรียก แตงเทศ หรือ แตงหอม มีลักษณะผลค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักมาก เปลือกหนา ส่วนผิวเปลือกมีทั้งแบบเรียบ และแบบมีร่างแห หรือมีร่องยาวจากขั้วถึงท้ายผล เนื้อมีสีส้ม หรือสีเหลือง มีรสหวาน และมีกลิ่นหอม ในต่างประเทศมีแหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อเมริกากลาง และเม็กซิโก ถิ่นกำเนิดของแคนตาลูป/เมล่อน มีการกล่าวถึงหลายพื้นที่ เช่น ทวีปแอฟริกา ประเทศอินเดีย แถบกึ่งอบอุ่น และเขตร้อนทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา เริ่มพบหลักฐานบันทึกการปลูกแคนตาลูป/เมล่อน ในประเทศอียิปต์ เมื่อ 2400 ปี ก่อนคริสตกาล และมีการบันทึกการนำเข้ามาปลูกในกรุงโรม เมื่อศตวรรษที่ 1 ค.ศ. 1494 และปี ค.ศ. 1582 พบการปลูกแคนตาลูป/เมล่อน ในมลรัฐมิสซิสซิปปี้ อลาบามา และเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1609 การปลูกเมล่อนในประเทศไทย
ในระยะนี้การทำเกษตรค่อนข้างได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีผู้ที่ทำอาชีพอื่นมาสนใจทำอาชีพทางการเกษตรมากขึ้น พร้อมปรับเปลี่ยนการทำให้ดูทันสมัย พร้อมทั้งมีการทำการตลาดที่สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้า จึงทำให้สามารถทำการตลาดชนิดที่ว่าแม้ขายออนไลน์ก็มีการจัดส่งอย่างเป็นระบบสินค้าไม่เสียหาย จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยส่งเสริมการขายในเวลานี้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว คุณอรัญญา บุญมีมาพาสุข โบรกเกอร์สาวคนเก่ง ได้มีการปรับเปลี่ยนจากสาวออฟฟิศหันมาทำการเกษตรอย่างจริงจัง ชนิดที่ว่าทำแล้วต้องไม่มีตกเทรนด์ ต้องไม่ลำบาก ให้ทุกคนได้เห็นว่าการทำเกษตรนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แม้ไม่ได้เรียนเกษตรแต่ก็สามารถประสบผลสำเร็จได้เช่นกัน โดยเธอได้ทดลองปลูกเมล่อน และนำมาสร้างเป็นอาชีพในเวลาต่อมาชนิดที่ว่าขายดิบขายดีกันเลยทีเดียว คุณอรัญญา เล่าให้ฟังว่า เดิมทีครอบครัวทำเกี่ยวกับการเกษตรมาก่อนแล้ว แต่ต่อเมื่อมีโอกาสจึงได้นึกถึงการปลูกพืชแบบแนวใหม่ เพื่อที่จะช่วยให้ทุกคนได้เห็นว่าการทำเกษตรนั้นไม่ได้ยากแบบสมัยก่อน จึงได้เลือกศึกษาการปลูกเมล่อนญี่ปุ่น เพราะเป็นสินค้าที่ตลาดต้องการ จึงทำให้ได้ไปศึกษาการปลูกอย่างเป็นระบบ และ
เมล่อน (Melon) นับเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคกันมากในปัจจุบัน เพราะมีรสชาติอร่อย มีกลิ่นหอมและรสหวาน แถมยังมีสีสันที่สวยงามน่ารับประทาน นิยมนำมาบริโภคสด เป็นผลไม้หรือนำมาเป็นส่วนประกอบของหวาน เป็นต้น คุณอัจฉรา โสไกร เจ้าของสวนเมล่อนกิตติยา อยู่บ้านเลขที่ 150/5 หมู่ที่ 4 ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เธอเล่าให้ฟังว่า ทำเมล่อนมาเป็นเวลาถึง 10 ปีแล้ว แต่ไม่ได้ทำเอง เพราะมีคนสวนช่วยดูแล ก่อนหน้านั้นจำหน่ายเมล่อนตามริมถนน นอกจากนี้ ทางสวนยังส่งจำหน่ายให้กับห้างสรรพสินค้า แต่พอหลังๆ ไม่อยากทำ เพราะคนสวนที่คุณอัจฉราไว้ใจ ไม่ซื่อตรง คือเป็นหนี้แล้วนำผลผลิตไปจำหน่ายที่อื่น ซึ่งผลผลิตที่เอาไปจำหน่ายมีเป็นจำนวนมาก เลยหันมาทำเอง “ทำสวนเมล่อนเองได้เป็นเวลา 3 ปีแล้ว มีทั้งหมด 36 ไร่ 57 โรงเรือน โดยพันธุ์เมล่อนที่เราปลูกจะมีทั้งหมด 2 พันธุ์ คือ กรีนเน็ต (GreenNet) กับ พอทออเร้นจ์ (Pot Orange) เหตุผลที่ปลูก 2 พันธุ์นี้ เพราะเป็นที่ต้องการของลูกค้าหรือตลาดที่เราทำการค้าด้วย บางครั้งก็จะมีการปลูก เคที 51 บ้าง ปุ๋ยที่เราใช้ เราใช้ปุ๋ยของยารา ยาฆ่าแมลงเราไม่ค่อยใช้ จะใช้ก็ต่อเมื่อเมล่อนจะเก
ผู้สื่อข่าวรายงานจากอุดรเมล่อนฟาร์ม เลขที่ 88 หมู่ที่ 6 ตำบลผักตบ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ว่า ฟาร์มอุดรเมล่อน ได้เปิดให้ประชาชนได้เข้าไปเยี่ยมชมนานานแล้ว และได้ให้ประชาชนสลักชื่อคู่รัก หรือหัวใจต่างๆ ลงที่ลูกที่เมล่อน เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์เมล่อนถึงช่วงเก็บเกี่ยว สุก ประชาชนได้ไปรับและรับงานที่ตัวเองสั่งเอาไว้ บางคนก็มาเขียนข้อความคำว่า รัก สั่งจองไว้แต่ยังไม่ได้เมล่อนไปฝากคนรัก นางสาวปิตินุช พิศชวนชม ผู้จัดการอุดรเมล่อนฟาร์ม กล่าวว่า จากการสลักชื่อคนรัก/ทำรูปหัวใจ หรือเขียนข้อความเกี่ยวกับความรัก ได้รับการตอบรับที่ดีมาก กระทั่งลูกค้าประจำคือ ท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต โรบินสัน สาขาอุดรธานี ได้เมล่อนไม่เพียงพอ ซึ่งในปีต่อๆ ไปทางฟาร์มจะได้ปรับปรุงจำนวนให้เพียงพอ เพื่อรองรับลูกค้าให้มากกว่านี้ และที่ฟาร์มยังมีสตรอเบอรี่สดๆ ไว้จำหน่ายด้วย ขอบคุณข้อมูลจากข่าวสด