ต้นกล้าเสียบยอด
“โรคเหี่ยว” เกิดจากแบคทีเรียราลสโตเนีย โซลานาซีเอรัม (Ralstonia solanacearum) จัดเป็นเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดโรคเหี่ยวกับพืชมากกว่า 200 ชนิด ระดับความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่เชื้อเข้าทำลาย สภาพแวดล้อม และสายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย กรมวิชาการเกษตร ระบุว่า เชื้อแบคทีเรีย ต้นเหตุโรคเหี่ยวอาศัยอยู่ในดินได้นาน สามารถเข้าทำลายพืชทางราก โดยเข้าตามรอยแผลที่เกิดจากการทำลายของแมลง ไส้เดือนฝอย รอยฉีกขาดของรากหรือแผลที่เกิดในธรรมชาติ สามารถแพร่ระบาดไปกับน้ำได้ดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกจะมีการระบาดของโรครุนแรงและรวดเร็ว ขณะเดียวกัน เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อาศัยแอบแฝงอยู่ในหัวพันธุ์และอยู่ข้ามฤดูได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมและปริมาณของเชื้อโรคมากพอก็จะแสดงอาการของโรคออกมา เมื่อนำหัวพันธุ์ไปปลูกต่อ ทำให้เกิดโรคระบาดซ้ำได้อีก “กล้าเสียบยอด” นวัตกรรมสู้โรคเหี่ยวเขียว ทุกวันนี้ ประเทศไทยมีการปลูกพืชหลายชนิดที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อโรคชนิดนี้ เช่น มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะเขือยาว พริก มันฝรั่ง ขิง ขมิ้น ไพล ปทุมา ฯลฯ เนื่องจากแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเห