ต้นขมิ้น
ขมิ้นชันมีสารสำคัญสีเหลืองชื่อ เคอร์คูมิน (Curcumin, Volantile Oil) เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณ แก้ท้องอืด ขับลม ช่วยระบบย่อยอาหาร ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ ขับน้ำดี แก้ท้องเสีย รักษาแผลหลังผ่าตัด คุณรุจิรา หิรัญสาลี อดีตพยาบาลคนเก่ง อยู่บ้านเลขที่ 33/113 หมู่ที่ 2 ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แปรรูปขมิ้นจำหน่าย ได้รับความนิยมอย่างมาก คุณรุจิรา อยู่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่วัตถุดิบ แปลงปลูกขมิ้น อยู่เขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขมิ้นเขาวง มีสารสำคัญคือเคอร์คูมิน สูงเป็นพิเศษ เมื่อนำมาแปรรูปจึงมีประสิทธิภาพสูง คุณรุจิราแปรรูปขมิ้นเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ รู้จักกันดีในนามขมิ้นแปรรูปศาลาไทย ผลิตภัณฑ์กว่า 100 อย่าง “อดีตรับราชการอยู่โรงพยาบาล เริ่มทำตอนอยู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี…เราได้รับการพรีเซนต์จากพื้นที่อำเภอบ้านตาขุน ว่าขมิ้นชันที่นี่มีสารสำคัญสูง ประจวบกับชอบแพทย์แผนไทยพอดีก็เลยไปเรียนแพทย์แผนไทยมาในช่วงนั้น ก็เอาขมิ้นของกลุ่มวิสาหกิจขมิ้นชันปลอดสารพิษตัวนี้มาแปรรูปเป็นยาขมิ้น
สภาพอากาศในระยะนี้ มักมีฝนตกชุกและมีอุณหภูมิลดต่ำลง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นให้เฝ้าระวังโรคเหี่ยว ที่สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางต้นของขมิ้น อาการเริ่มแรกใบจะเหี่ยวม้วนเป็นหลอดสีเหลือง และลุกลามจากส่วนล่างขึ้นไปยังส่วนปลายยอดจนแห้งตายทั้งต้น บริเวณโคนต้นและหน่อที่แตกออกมาใหม่มีลักษณะฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำ เมื่อผ่าลำต้นตามขวางจะพบเมือกแบคทีเรียไหลซึมออกมาเป็นสีขาวขุ่น ลำต้นเน่า และหลุดออกจากเหง้าได้ง่าย อาการบนเหง้ามีลักษณะฉ่ำน้ำสีคล้ำ ต่อมาเหง้าจะเน่าในที่สุด เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นขมิ้นที่เริ่มแสดงอาการของโรคเหี่ยว ให้ขุดต้นไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อสาเหตุโรค จากนั้นให้โรยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุด เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ หากเกษตรกรจะปลูกขมิ้นในฤดูถัดไป ควรหลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้ และควรทำแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี นอกจากนี้ การป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในฤดูปลูกถัดไป เกษตรกรควรเตรียมดิน โดยไถพร