ต้นมะม่วง
ในระยะนี้เป็นช่วงที่มะม่วงเริ่มออกดอก กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนให้เกษตรกรชาวสวนมะม่วงเฝ้าระวังเพลี้ยจักจั่น ซึ่งระยะที่ทำความเสียหายมากที่สุด คือ ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอกโดยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอกทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำหวานเหนียวๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบๆ ทรงพุ่ม ทำให้ใบมะม่วงเปียก ต่อมาจะเกิดราดำปกคลุม ถ้าเกิดมีราดำปกคลุมมาก มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของมะม่วงได้ นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ขอแนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วง โดยช่วงที่มะม่วงกำลังออกดอก ให้หมั่นสำรวจสวนมะม่วงอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หากพบแมลงขนาดเล็กคล้ายจักจั่น กระโดดไป-มา เวลาเดินเข้าใกล้ต้นมะม่วง หรือพบน้ำเหนียวๆ คล้ายน้ำหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และมีราดำขึ้นปกคลุม สามารถจัดการเบื้องต้น โดยในระยะที่ดอกมะม่วงกำลังบาน การฉีดพ่นน้ำเปล่าในตอนเช้าจะช่วยให้การติดมะม่วงดีขึ้น และยังช่วยลดปัญหาช่อดอกและใบดำจากราดำด้วย ใช้กับดักแสงไฟดัก จับตัวเต็มวัยเพลี้ยจักจั่นมะม่วงที่บินมาเล่นไฟ เพื่อช่วยลดความเสียหาย นอกจากนี้ เกษตรกรค
ช่วงนี้มีสภาพอากาศร้อนชื้นและมีฝนตก กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงโชคอนันต์นอกฤดูให้เฝ้าระวังสังเกตการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นมะม่วง มักพบตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวเพศเมียวางไข่ฝังไว้ใต้เปลือกลำต้นในเวลากลางคืน เมื่อไข่ฟักตัวเป็นหนอนจะกัดกินชอนไชตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้เกิดยางไหล บางครั้งหนอนอาจควั่นเปลือกไม้จนรอบลำต้น อาจส่งผลให้ท่อน้ำและท่ออาหารถูกตัดทำลายเป็นเหตุให้ต้นมะม่วงทรุดโทรม ใบแห้ง และยืนต้นตายได้ เกษตรกรสามารถสังเกตรอยทำลายได้จากขุยไม้ที่หนอนถ่ายออกมาบริเวณเปลือกลำต้น เกษตรกรควรใช้วิธีในการป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นมะม่วงแบบผสมผสาน คือ การใช้วิธีกล และการใช้สารเคมีช่วยในการป้องกันกำจัด สำหรับการใช้วิธีกล ให้เกษตรกรหมั่นสำรวจตรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ โดยให้สังเกตรอยแผลเล็กและชื้นที่เกิดจากตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวทำขึ้นเพื่อการวางไข่ หากพบให้ทำลายไข่ของด้วงหนวดยาวทิ้งทันที กรณีพบขุยและรอยทำลายที่เปลือกไม้บริเวณลำต้น ให้ใช้มีดแกะเปลือกไม้ที่พบรอยทำลายออก และจับตัวหนอนมาทำลายทิ้งทันที จากนั้น เกษตรกรควรกำจัดแหล่งเพาะขยายพันธุ์ของด้วงหนวดยาว โดยให้ตัดต้นมะม่วงที่ถูกเข
“สวนหลวง ร.9” เขตประเวศ สวนสาธารณะที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกับมูลนิธิสวนหลวงจัดสร้าง เพื่อถวายเป็นราชสักการะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา 5 ธันวาคม 2530 ขณะนั้น พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเปิดสวนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2530 และทรงปลูกต้นมะม่วงไว้ข้างกัน จำนวน 2 ต้น อยู่บริเวณเกาะ 2 หน้าอาคารถกลพระเกียรติ หากเข้ามาทางประตู 4 ประตูดาวเรืองไม่เกิน 200 เมตร ผ่านมา 30 ปีแล้ว ตอนนี้ต้นมะม่วงทรงปลูกทั้ง 2 ต้น ยังยืนต้นแข็งแรง ชูกิ่งก้านสาขาสวยงาม อยู่บริเวณเดิม ศศิวรรณ วงศ์ศิริประเสริฐ หัวหน้าสวนหลวง ร.9 เผยว่า วันแรกจนถึงวันนี้ ทางสวนไม่ได้นำต้นอื่นมาทดแทนแต่อย่างใด ครั้งนั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกต้นมะม่วงป่า ห่างกันไม่เกิน 10 เมตร เป็นต้นมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ส่วนประวัติไม่ทราบว่าทำไมทรงเลือกปลูกต้นมะม่วง เพราะเป็นเรื่องราวเมื่อ 30 ปีก่อน อีกอย่างข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ช่วงนั้นเกษียณไปนานมากแล้ว คาดว่าเป็นไม้ใน