ถั่วลายเสือ
ถั่วลายเสือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นสายพันธุ์ที่กำลังได้รับความสนใจ มีจุดเด่นด้านรสชาติ เมล็ดใหญ่ และคุณค่าทางโภชนาการมากมายที่เอื้อประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากปลูกในพื้นที่หุบเขา มีดินอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานคุณภาพสร้างมูลค่าที่เพิ่มขึ้น “White Tiger” แบรนด์ที่นำถั่วลายเสือมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปนมสดพร้อมดื่ม นมอัดเม็ดและโยเกิร์ตพาวเดอร์ (yogurt powder) สร้างทางเลือกให้ผู้บริโภคที่ต้องการเสริมสร้างโปรตีน ตอบโจทย์อาหาร Plant-Based พร้อมกับแตกไลน์ผลิตของใช้ อาทิ น้ำมันถั่วลายเสือ หรือแม้กระทั่งผลิตภาชนะจาน ชามจากเปลือกถั่ว สร้างมูลค่าเพิ่มแทนการทำลาย คุณฐานันต์ แก้วดิษฐ์ หรือ คุณหยอง เจ้าของผลิตภัณฑ์ บอกเล่าเรื่องราวที่มาของธุรกิจว่า เป็นคนพิษณุโลก ส่วนแฟนเป็นคนแม่ฮ่องสอน ไปเจอกันที่เชียงใหม่ ชวนกันลาออกจากงานประจำแล้วเดินทางเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมด้วยการปลูกผักเมืองหนาวขายที่แม่ฮ่องสอน เสริมรายได้ด้วยการทำเสื้อยืด ช่วงเวลานั้นเข้าร่วมโครงการ Young Smart Farmer ทำให้รู้จักเพื่อนสายเกษตรมากมายหลายสาขา มีอยู่คนหนึ่งปลูกถั่
บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) หรือ SUN ผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปและผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรอื่นๆ ภายใต้ตราสินค้าของบริษัท “KC” เดินหน้าธุรกิจสร้างความมั่นคงด้านทางอาหาร (Food Security) พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ลุยงานส่งเสริมเกษตรปลูกถั่วลายเสือ ยกระดับภาคการเกษตรโดยการนำเทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร พร้อมนำทัพสินค้าเกษตรและอาหารสู่ตลาดโลก สร้างโอกาสและศักยภาพใหม่เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ธุรกิจเกษตรยั่งยืนจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) หรือ SUN เปิดเผยว่า บริษัทมีนโยบายขับเคลื่อนธุรกิจแบบครบวงจร ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์อาหาร จาก “ไร่สู่ผู้บริโภค” และตระหนักถึงการจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหวานและพืชเกษตรอื่นๆ ภายใต้การทำสัญญาส่งเสริมโดยตรง (Contract Farming) ให้เกษตรกรขายผลผลิตเข้าโรงงานโดยตรง และรับซื้อในราคาที่เป็นธรรม โดยให้ความสำคัญในพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ และส่งเสริมการใช้นวัต
“ถั่วลายเสือ” หรือ “ถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2” ได้รับการปรับปรุงและรับรองพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น ถั่วราชินี ถั่วพระราชทาน ถั่วจัมโบ้ลาย และถั่วลายเสือ โดยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานราชการตามโครงการตามพระราชดำริฯ สำหรับถั่วลายเสือ นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยจุดเด่นถั่วลายเสือของแม่ฮ่องสอน จะมีความแตกต่างจากถั่วลายเสือที่ปลูกในจังหวัดอื่น คือรสชาติและเมล็ดที่ใหญ่ เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นหุบเขา ดินอุดมสมบูรณ์ ทำให้ถั่วลายเสือเจริญเติบโตได้ดีและมีรสชาติอร่อยกว่าถั่วที่ปลูกในพื้นราบ คุณเพ็ญพิกา เตือนชะวัลย์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจเกษตรกรทางเลือก อยู่ที่ 15/1 หมู่ที่ 3 ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เล่าถึงความเป็นมาของการเริ่มต้นปลูกถั่วลายเสือสร้างรายได้เสริมว่า ก่อนที่จะมีการปลูกถั่วลายเสือเป็นอาชีพเสริม อาชีพส่วนใหญ่ของคนในชุมชนคือการปลูกพืชไร่เศรษฐกิจทั่วไป เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ งา ถั่วเหลือง แต่เนื่องด้วยที่พืชหลักค่อนข้างมีราคาผันผวนและตกต่ำลงเรื่อยๆ ส่งผลไปถึงรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายใน
การทำเกษตรกรรมของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นมีปัจจัยความพร้อมทางสภาพพื้นที่และทรัพยากรไม่เหมือนกัน จึงทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่างกัน แต่นั่นอาจไม่ใช่ปัญหาเนื่องจากชาวบ้านทุกหมู่บ้านต่างอาศัยภูมิปัญญาตกทอดนำมาปรับเข้ากับวิถีชีวิตความเป็นอยู่เพื่อใช้ประโยชน์จากเกษตรกรรมเหล่านั้นมาหล่อเลี้ยงทุกชีวิตในครัวเรือนได้อย่างสมบูรณ์ ขณะที่ความทันสมัยของเทคโนโลยีการสื่อสารและการเกษตรกรรมมีส่วนสำคัญทำให้ชาวบ้านก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพทางด้านการตลาดและจำหน่ายสินค้าเกษตรกรรมด้วยการแปรรูป ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงเป้า อย่างชาวบ้านหมู่ที่ 3 บ้านแม่สุริน ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พร้อมใจกันจัดตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่องของค่าใช้จ่ายครัวเรือน รวมทั้งยังฝึกฝนสร้างทักษะเพื่อให้นำผลผลิตทางเกษตรกรรมในชุมชนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและขนมเพื่อสุขภาพ ดึงเทคโนโลยีการสื่อสารมาสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก แล้วชักชวนนักท่องเที่ยวมาสัมผัสวิถีชีวิตแบบพื้นบ้าน คุณเพ็ญพิกา เตือนชวัลย์ หรือ คุณเพ็ญ ประธานกลุ่มแม่บ้านวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เกษตรทางเลือกบ้านแม่สุริน กล่าวว่า “แม่สุริ
ด้วยคุณประโยชน์ของถั่วคือบำรุงสมองและประสาทตา เสริมสร้างความจำ ลดความดันโลหิตสูงและป้องกันมะเร็ง รสชาติมันถูกปาก ถูกใจ แล้วถ้ายิ่งมีลวดลายก็ยิ่งได้อรรถรสในการลิ้มลอง “ถั่วลายเสือ” ตอบโจทย์นั้นได้ นายเธียรชัย แซ่จู สมาชิกกลุ่มพัฒนาสินค้าเกษตรบ้านหนอง ผาจ้ำ ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า “ถั่วลายเสือ” หรือ “ถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2” ในท้องถิ่นปลูกกันมานานเรียกกันหลายชื่อ เช่น ถั่วราชินี ถั่วพระราชทาน ถั่วจัมโบ้ลาย และถั่วลายเสือ ลักษณะเด่นคือ เมื่อแกะฝักถั่วออกเมล็ดของถั่วลายเสือจะมีเยื่อหุ้มเมล็ดคล้ายกับลายหนังเสือโคร่ง มีรูปร่างฝักสวย รูปฝักยาวมีจำนวน 2-4 เมล็ดต่อฝัก ถั่วรุ่นหนุ่มจะมีเมล็ดสีขาวและเริ่มมีลายพอใกล้ช่วงเก็บเกี่ยว ลายและสีจะชัดมากขึ้น รสชาติค่อนข้างหวาน กรอบนุ่มกว่าถั่วลิสงทั่วไป ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ระยะเวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 580 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตต่อปี 500 – 600 ถัง 1 ถัง นน. 10 กิโลกรัมฝักดิบ ต้นทุนต่อถัง 65 -70 บาท ขายเฉลี่ยราคา 120 – 200 บาท/ถัง ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตแต่ละปี โดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงไร่ โรคที่พบในพื้นท