ถุงห่อชมพู่
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โชว์ “ถุงห่อชมพู่ หวานแน่ กรอบนาน” นวัตกรรมรางวัลสิ่งประดิษฐ์แห่งชาติ ประจำปี 2560 จากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) นวัตกรรมที่ทำให้ชมพู่มีสีแดงสวยงามสม่ำเสมอ รสชาติหวานขึ้นกว่าเดิม 40 เปอร์เซ็นต์ เนื้อแน่นกรอบกว่าเดิม 2 เท่า แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพชมพู่ หนึ่งในผลไม้เศรษฐกิจส่งออกสำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศที่ส่งออกไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศจีนที่เป็นคู่ค้าหลัก นวัตกรรมดังกล่าวจะทำให้ไม่มีการตีกลับจากต่างชาติ และเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันกับชมพู่ของไต้หวันได้ในอนาคต โดยต้นทุนการผลิตถุงนวัตกรรมดังกล่าวเพียงถุงละ 2 บาท และสามารถใช้ซ้ำได้ถึง 10 ปี ช่วยลดต้นทุนของเกษตรกรในระยะยาวได้กว่า 5-6 เท่า สามารถขายผลผลิตที่มีคุณภาพในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิมถึง 2-3 เท่า ทั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เตรียมแผนต่อยอดนวัตกรรมดังกล่าวสู่เชิงพาณิชย์ และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ภาคการเกษตรและภาคประชาชนเร็วๆ นี้ ลงพื้นที่แล้วเจอปัญหา ใช้วิทยาศาสตร์บูรณาการ รศ.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.
นิทรรศการโครงการ “รางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่” ประจำปี 2560 ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2560 ที่จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2560 ณ Event Hall 102-104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ มีผลงานนวัตกรรมที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก ทั้งสิ่งประดิษฐ์ด้านเกษตร อาหาร พลังงาน และอุตสาหกรรมเกษตร เป็นต้น หนึ่งในนวัตกรรมรางวัลสิ่งประดิษฐ์แห่งชาติ ประจำปี 2560 จากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่อยากนำมาบอกเล่าในฉบับนี้ คือ “ถุงห่อชมพู่ หวานแน่ กรอบนาน” ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ที่ช่วยให้ผลชมพู่มีสีแดงสวยงามสม่ำเสมอ รสชาติหวานขึ้นกว่าเดิม 40 เปอร์เซ็นต์ เนื้อแน่นกรอบกว่าเดิม 2 เท่า แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพชมพู่ทับทิมจันท์ หนึ่งในผลไม้เศรษฐกิจส่งออกสำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศที่ส่งออกไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศจีนที่เป็นคู่ค้าหลัก นวัตกรรมดังกล่าวจะทำให้สินค้าไม่มีการตีกลับจากผู้ค้าต่างชาติ และเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันกับชมพู่ของไต้หวันได้ในอนาคต นวัตกรรม “ถุงห่อชมพู่ หวานแน่ กรอบนาน” มีต้นทุนการผลิตเพียง ถุงละ 2 บาท และสามารถใช้ซ้ำได้นานถึง 1