ถ่าน
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมเดินทางไปต่างจังหวัดหลายแห่ง พบมีเกษตรกรเผาถ่านไม้เป็นอาชีพเสริม ทั้งที่จังหวัดชัยนาทและภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดเลย ที่มีการโค่นต้นมะขามหวาน แล้วนำมาเผาถ่าน ผมสอบถามชาวบ้านได้รับคำตอบว่าเป็นที่ต้องการของตลาด และสงสัยว่า เพราะเหตุใดเกษตรกรจึงนิยมตัดโค่นต้นมะขามหวานนำมาเผาถ่าน ขอคำแนะนำด้วยครับ ขอแสดงความนับถืออย่างสูง ประสพสุข ค้านิยม ลพบุรี ตอบ คุณประสพสุข ค้านิยม จังหวัดชัยนาท เป็นแหล่งผลิตถ่านไม้ไผ่เป็นอาชีพเสริม หลายอำเภอ โดยเฉพาะอำเภอวัดสิงห์ ด้วยที่นี่มีป่าไผ่ธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ข้อดีของถ่านไม้ไผ่ เป็นถ่านไม้ที่ให้ความร้อนสูงและไม่มีควัน เหมาะสำหรับไปใช้ในกระบวนการตีเหล็กทำมีดพร้า หรือจอบ เสียม ส่วนที่ จังหวัดเลย ซึ่งเคยเป็นแหล่งปลูกมะขามหวานเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ โดยครอบคลุมพื้นที่มากถึง 49,881 ไร่ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน เกษตรกรชาวสวนมะขามหวานมีการตัดฟันโค่นต้นมะขามหวานที่ปลูกไว้ในสวน แม้ให้ผลผลิตแล้วก็ตาม เนื่องจากมีปัญหาหลายประการ คือมะขามหวานเป็นพืชที่ดูแลรักษายาก ต้องฉีดสารเคมีป้องกันโรคและแมลงศัตรูหลายครั้ง การเก็บเกี่ยวผลผลิตสิ้นเปลื
หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าผลไม้ที่ร่วงตกลงมาก่อนเวลาเก็บเกี่ยว เกษตรกรบางส่วนได้นำเอาไปทำถ่านผลไม้ ซึ่งเจ้าตัวถ่านผลไม้เหล่านี้คือ นวัตกรรมบวกกับภูมิปัญญาในการพัฒนาจากผลไม้ที่ต้องเก็บทิ้งนำมาผ่าน กระบวนการเผาเพื่อให้มันสามารถคงรูปและกลายเป็นถ่านเพื่อใช้ดูดซับกลิ่น ซึ่งผลไม้ที่ดูดซับกลิ่นได้ดีที่สุดจากการทดลองนำไปวางตกเป็นของ “ทุเรียน” เพราะถ่านจากทุเรียนมีเนื้อผิวที่พรุนมากกว่าถ่านผลไม้ชนิดอื่น จึงสามารถดูดซับกลิ่นได้มาก ลำดับรองลงมาเป็นของ น้อยหน่า มังคุด และมะม่วงนั่นเอง อย่างที่บอก “ถ่านทุเรียน” เป็นผลไม้ที่ดูดกลิ่นได้ดีที่สุด โดยทั่วไปแล้ว ทุเรียน มังคุด น้อยหน่า และมะม่วง เมื่อนำมาเผา จะได้ถ่านผลไม้ที่มีลักษณะสีดำสนิท น้ำหนักเบา รูปร่างคงเดิมและขนาดลดลงเล็กน้อย ซึ่งผลไม้เมื่อนำมาเผาแล้วจะมีรูปร่างเปลี่ยนไปบ้าง แต่จะมีผลไม้บางชนิดที่สามารถคงรูปได้ดีที่สุดอย่าง น้อยหน่า รองลงมาเป็น มังคุด ทุเรียน และมะม่วง ตามลำดับ ปัจจุบันนวัตกรรมถ่านผลไม้ดับกลิ่นกลายเป็นสินค้า OTOP ที่ขายเป็นของฝากจากฝีมือของเกษตรกรในแต่ละชุมชน หากใครสนใจอยากนำไปวางไว้ดับกลิ่นที่นอกจากมันจะช่วยขจัดกลิ่นแล้ว ยังสวยงามเอา
เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ที่ปลูกทุเรียน มังคุด มะม่วง น้อยหน่า มะเฟือง กล้วย มะพร้าว ข้าวโพด มะกรูด สับปะรด ส้มโอ ฯลฯ ในบางครั้งอาจเจอปัญหาภัยธรรมชาติ โรคแมลงรบกวนทำให้ผลไม้ร่วงหล่นจากต้นก่อนการเก็บเกี่ยว ทำให้สูญเสียรายได้ไปอย่างน่าเสียดาย ความจริงผลไม้เหล่านั้นสามารถนำมากลับมาสร้างรายได้ใหม่ในรูปของ “ ถ่านผลไม้ดูดกลิ่น ” ที่มีรูปทรงเด่นสะดุดตา น่าใช้งานมากกว่าถ่านไม้ทั่วไป และช่วยดูดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้อย่างดีเยี่ยม ไอเดียนี้สามารถทำได้ง่าย ขายคล่อง สร้างผลกำไรงามอีกต่างหาก เพราะถ่านผลไม้ดูดกลิ่น มีราคาขายส่งต่อชิ้นตั้งแต่ 10-40 บาท ตามขนาดรูปทรงและชนิดผลไม้ ดังนั้น เกษตรกรที่ประสบปัญหาผลผลิตร่วงหล่นก่อนการเก็บเกี่ยว หรือมีผลไม้เหลือจากการขาย หรือประสบปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ สามารถนำผลไม้เหล่านี้ กลับมาสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปถ่านผลไม้ดูดกลิ่นได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นประเภท เปลือกทุเรียน ฝักบัว กาบมะพร้าว กาบตาล ฯลฯ มาเผาเป็นถ่านได้เช่นกัน ถ่านผลไม้เหล่านี้ ได้รับการยอมรับจากตลาดว่า สามารถดูดกลิ่นได้ดีกว่าถ่านที่ทำมาจากไม้ทั่วไป หลายชุมชนได้นำไอ
เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวน รายได้กับรายจ่ายไม่สมดุลมักส่งผลกระทบกับวิถีการยังชีพต่อครัวเรือน การคิดใหม่ทำใหม่ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังด้วยการรวมกลุ่มเข้าร่วมโครงการ “แปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลวังม่วง” เพื่อทำกิจกรรมและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมพัฒนาการผลิต รวมถึงการนำเหง้ามันสำปะหลังมาเผาในเตาเผาถ่านชีวมวลไร้มลพิษ ผลิตเป็นถ่านไม้ได้ผลิตภัณฑ์ขายดี ทำให้มีรายได้เพิ่ม วันนี้จึงนำเรื่อง “สู้วิกฤตเศรษฐกิจที่แปรปรวน ผลิตถ่านไม้จากเหง้ามันสำปะหลังขาย ทำให้วิถีมั่นคง” มาบอกเล่าสู่กัน คุณเสาวนิตย์ พรหมโชติ เกษตรอำเภอวังม่วง เล่าให้ฟังว่า ได้ส่งเสริมเกษตรกรรวมกลุ่มปลูกมันสำปะหลังในโครงการแปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลวังม่วง มีสมาชิก 76 ราย พื้นที่ดำเนินการ 2,392 ไร่ พร้อมกับสนับสนุนให้เกษตรกรจัดระบบปลูกพืชแบบเหลื่อมฤดูเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวในช่วงฝนตกชุกและลดความเสียหายจากการเน่าเสียของผลผลิต ให้จัดระบบปลูกพืชแบบหมุนเวียนเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน และลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของต้นมันสำปะหลัง รวมทั้งให้นำเหง้ามันสำปะหลังมาเผาในเตาเผาถ่านชีวมวลไร้มลพิษ ก็จะได้น้ำส้มควันไม้เพ
อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 19,878 ไร่ ผลผลิตที่ได้ 15,902,400 กิโลกรัม ซึ่งหลังการเก็บเกี่ยวและกะเทาะเปลือก/เมล็ด จะมีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคือซังและเปลือกข้าวโพด 3,339,504 กิโลกรัม ต่อปี เกษตรกรส่วนมากจะเผาทำลายซังและเปลือกข้าวโพด ทำให้เกิดสภาวะหมอกควัน อากาศเป็นมลพิษ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมการหยุดการเผาในพื้นที่การเกษตร โดยทางสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงดาวและเทศบาลตำบลปิงโค้ง ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลปิงโค้งดำเนินการนำซังข้าวโพดมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่ง จากเศษวัสดุที่เหลือใช้ ไร้ราคา นำมาสร้างรายได้กว่า 1 ล้านบาท ขั้นตอนการผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด นำซังข้าวโพด เผาในเตาเผาถ่านแบบไร้ควัน ที่ทำจากถังน้ำมัน 200 ลิตร โดยบรรจุซังข้าวโพด 35-40 กิโลกรัม ต่อการเผาแต่ละครั้ง และใช้เวลาเผาประมาณ 1 ชั่วโมง จะได้ถ่านขี้แมว 20% (ประมาณ 8 กิโลกรัม) นำถ่านขี้แมวเข้าเครื่องตีป่นโม่ให้ละเอียดเป็นผง นำผงถ่านเข้าเครื่องผสม อัตราส่วน ผงถ่าน : แป้งมัน : น้ำ (10 กิโลกรัม : 1 กิโลกรัม : 7 กิโลกรัม) นำส่วนผสมเข้าเครื่องอัดแท
ถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด ของวิสาหกิจชุมชนตำบลปิงโค้ง ไฟแฮง ติดเมิน คุ้มเกิ๋นราคา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 19,878 ไร่ ผลผลิตที่ได้ 15,902,400 กิโลกรัม ซึ่งหลังการเก็บเกี่ยวและกะเทาะเปลือก/เมล็ด จะมีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคือซังและเปลือกข้าวโพด 3,339,504 กิโลกรัม ต่อปี เกษตรกรส่วนมากจะเผาทำลายซังและเปลือกข้าวโพด ทำให้เกิดสภาวะหมอกควัน อากาศเป็นมลพิษ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมการหยุดการเผาในพื้นที่การเกษตร โดยทางสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงดาวและเทศบาลตำบลปิงโค้ง ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลปิงโค้งดำเนินการนำซังข้าวโพดมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่ง จากเศษวัสดุที่เหลือใช้ ไร้ราคา นำมาสร้างรายได้กว่า 1 ล้านบาท ขั้นตอนการผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด นำซังข้าวโพด เผาในเตาเผาถ่านแบบไร้ควัน ที่ทำจากถังน้ำมัน 200 ลิตร โดยบรรจุซังข้าวโพด 35-40 กิโลกรัม ต่อการเผาแต่ละครั้ง และใช้เวลาเผาประมาณ 1 ชั่วโมง จะได้ถ่านขี้แมว 20% (ประมาณ 8 กิโลกรัม) นำถ่านขี้แมวเข้าเครื่องตีป่นโม่ให้ละเอียดเป็นผง นำผงถ่านเข้าเครื่องผสม อัตราส่วน ผงถ่าน
แม้ว่าปัจจุบันนี้ ความนิยมในการใช้ถ่านสำหรับเป็นเชื้อเพลิงจะน้อยลงเนื่องจากมีเชื้อเพลิงอย่างอื่นมาทดแทนในครัวเรือน ทั้งไฟฟ้า แก๊ส และน้ำมัน หากแต่ในบางท้องที่ หรือบางครัวเรือนหรือบางกิจการก็ยังต้องอาศัยถ่านในการหุงต้มกันอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากว่า สมัยนี้ถ่านที่ได้จากฟืนไม้ไม่ได้หาได้ง่ายๆ ดังนั้น จึงมีผู้คิดค้นวัตถุดิบอื่นๆ มาใช้ทำถ่านทดแทนไม้ ซึ่งวัตถุดิบชนิดนั้นต้องเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย มีราคาไม่แพง สามารถให้ถ่านที่มีคุณภาพได้ดีเทียบเท่าถ่านจากไม้ฟืน และวัตถุดิบชนิดนั้นก็คือ มะพร้าว นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ผศ.ดร. ศิริชัย ต่อสกุล ผศ. กุณฑล ทองศรี และ อ.จงกล สุภารัตน์ นักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้คิดค้น ถ่านอัดแท่งจากมะพร้าวขึ้น ซึ่งถ่านอัดแท่งที่คิดขึ้นได้จะเป็นอย่างไร เจ้าของผลงานเปิดเผยว่า ถ่านอัดแท่งที่คิดขึ้นเป็นการนำเอากากมะพร้าวที่เผาแล้วกับกะลามะพร้าวที่เผาและบดละเอียดแล้วมาผสม นำเอาเข้าเครื่องอัดแท่งออกมาเป็นถ่านอัดแท่ง ทั้งนี้ เจ้าของผลงานยังได้เปิดเผยถึงวิธีการทำอีกด้วยว่า ก่อนอื่นต้องเตรียมในส่วนของกากมะพร้
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 จังหวัดนครพนมในช่วงนี้ สภาพอากาศเริ่มหนาวเย็นจนอุณหภูมิลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดเช้านี้วัดอุณหภูมิลดลงเฉลี่ยต่ำสุดที่ประมาณ 19 -20 องศาเซลเซียส ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มได้สัมผัสกับอากาศหนาวเย็น โดยทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประกาศเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ หมั่นดูแลสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วย จากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเริ่มหนาวเย็น พร้อมระดมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบ ช่วยเหลือนำผ้าห่มออกไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน เตรียมพร้อมรับมีปัญหาภัยหนาว ขณะเดียวกัน ในช่วงนี้พบว่าตามตลาดการค้าชายแดน จุดผ่อนปรนไทยลาว ไม่เพียงธุรกิจการขายเครื่องนุ่งห่มกันหนาวที่มีประชาชนแห่มาเลือกซื้อ แต่ยังคึกคักไปด้วยพ่อค้าแม่ค้า ชาวไทยได้มีการสั่งอนำเข้าถ่านก่อไฟ เพื่อมาสต็อกจำหน่ายหน้าหนาว ภายหลังสภาพอากาศเริ่มหนาวเย็น ทำให้ตลาดไทยมีความต้องการถ่านจำนวนมาก ส่งผลดีต่อการค้าชายแดน มีเงินสะพัดวันละหลายแสนบาท เนื่องจากราคาซื้อขายถ่านก่อไฟ จากลาวจะมีราคาถูกกว่าไทยเท่าตัว ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าชาวลาว จะบรรทุกใส่เรือหางยาวข้ามมาขาย ในราคากระสอบละ ประม