ถ่านดูดกลิ่นจากผลไม้
หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าผลไม้ที่ร่วงตกลงมาก่อนเวลาเก็บเกี่ยว เกษตรกรบางส่วนได้นำเอาไปทำถ่านผลไม้ ซึ่งเจ้าตัวถ่านผลไม้เหล่านี้คือ นวัตกรรมบวกกับภูมิปัญญาในการพัฒนาจากผลไม้ที่ต้องเก็บทิ้งนำมาผ่าน กระบวนการเผาเพื่อให้มันสามารถคงรูปและกลายเป็นถ่านเพื่อใช้ดูดซับกลิ่น ซึ่งผลไม้ที่ดูดซับกลิ่นได้ดีที่สุดจากการทดลองนำไปวางตกเป็นของ “ทุเรียน” เพราะถ่านจากทุเรียนมีเนื้อผิวที่พรุนมากกว่าถ่านผลไม้ชนิดอื่น จึงสามารถดูดซับกลิ่นได้มาก ลำดับรองลงมาเป็นของ น้อยหน่า มังคุด และมะม่วงนั่นเอง อย่างที่บอก “ถ่านทุเรียน” เป็นผลไม้ที่ดูดกลิ่นได้ดีที่สุด โดยทั่วไปแล้ว ทุเรียน มังคุด น้อยหน่า และมะม่วง เมื่อนำมาเผา จะได้ถ่านผลไม้ที่มีลักษณะสีดำสนิท น้ำหนักเบา รูปร่างคงเดิมและขนาดลดลงเล็กน้อย ซึ่งผลไม้เมื่อนำมาเผาแล้วจะมีรูปร่างเปลี่ยนไปบ้าง แต่จะมีผลไม้บางชนิดที่สามารถคงรูปได้ดีที่สุดอย่าง น้อยหน่า รองลงมาเป็น มังคุด ทุเรียน และมะม่วง ตามลำดับ ปัจจุบันนวัตกรรมถ่านผลไม้ดับกลิ่นกลายเป็นสินค้า OTOP ที่ขายเป็นของฝากจากฝีมือของเกษตรกรในแต่ละชุมชน หากใครสนใจอยากนำไปวางไว้ดับกลิ่นที่นอกจากมันจะช่วยขจัดกลิ่นแล้ว ยังสวยงามเอา
เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ที่ปลูกทุเรียน มังคุด มะม่วง น้อยหน่า มะเฟือง กล้วย มะพร้าว ข้าวโพด มะกรูด สับปะรด ส้มโอ ฯลฯ ในบางครั้งอาจเจอปัญหาภัยธรรมชาติ โรคแมลงรบกวนทำให้ผลไม้ร่วงหล่นจากต้นก่อนการเก็บเกี่ยว ทำให้สูญเสียรายได้ไปอย่างน่าเสียดาย ความจริงผลไม้เหล่านั้นสามารถนำมากลับมาสร้างรายได้ใหม่ในรูปของ “ ถ่านผลไม้ดูดกลิ่น ” ที่มีรูปทรงเด่นสะดุดตา น่าใช้งานมากกว่าถ่านไม้ทั่วไป และช่วยดูดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้อย่างดีเยี่ยม ไอเดียนี้สามารถทำได้ง่าย ขายคล่อง สร้างผลกำไรงามอีกต่างหาก เพราะถ่านผลไม้ดูดกลิ่น มีราคาขายส่งต่อชิ้นตั้งแต่ 10-40 บาท ตามขนาดรูปทรงและชนิดผลไม้ ดังนั้น เกษตรกรที่ประสบปัญหาผลผลิตร่วงหล่นก่อนการเก็บเกี่ยว หรือมีผลไม้เหลือจากการขาย หรือประสบปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ สามารถนำผลไม้เหล่านี้ กลับมาสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปถ่านผลไม้ดูดกลิ่นได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นประเภท เปลือกทุเรียน ฝักบัว กาบมะพร้าว กาบตาล ฯลฯ มาเผาเป็นถ่านได้เช่นกัน ถ่านผลไม้เหล่านี้ ได้รับการยอมรับจากตลาดว่า สามารถดูดกลิ่นได้ดีกว่าถ่านที่ทำมาจากไม้ทั่วไป หลายชุมชนได้นำไอ