ทอผ้า
ปัจจุบัน ผ้าทอมือขนแกะ ของกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านดง หมู่ที่ 5 บ้านห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถทำรายได้ให้กับชาวบ้านในกลุ่มได้มากเป็นกอบเป็นกำ เทียบเท่ากิจกรรมทางการเกษตรที่เป็นอาชีพหลัก มีพ่อบ้านเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม มีแม่บ้านและลูกบ้านเป็นผู้ช่วย และรายได้ในส่วนนี้ยังใช้เวลาไม่มาก หากเทียบกับกิจกรรมทางการหาเลี้ยงชีพอื่น คุณพิมพ์ ขยันใหญ่ยิ่ง ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านดง เล่าว่า เพราะสามีคือ คุณวิทุน ขยันใหญ่ยิ่ง มีโอกาสได้รับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเสด็จฯ มาเยี่ยมชาวเขาในอดีต และสามีมีโอกาสได้ถวายงาน โดยเข้าไปเป็นอาสาด้านการรักษาพยาบาล แล้วนำมาเผยแพร่ในหมู่บ้าน ซึ่งโอกาสนี้ ทำให้ตนเองได้เรียนรู้งานไปพร้อมๆ กับสามี และเรียนรู้เรื่องการทอผ้าและการรวมกลุ่มของแม่บ้านในชุมชน ในรูปแบบของศูนย์ศิลปาชีพ จากนั้นจึงนำมาเผยแพร่ให้กับแม่บ้านในหมู่บ้านเดียวกัน เริ่มแรกของการก่อตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านดง เมื่อคุณพิมพ์ เรียนรู้จากภายนอกนำมาเผยแพร่ให้กับแม่บ้านในหมู่บ้านแล้ว การรวมกลุ่มก็เกิดขึ้น โดยใช้ชื่อ กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านดง มาตั้งแต่แรก เ
นายปรีชา กิตติสัตยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พร้อมด้วยคณะ ลงพื้นที่ติดตามผลดำเนินงานของกลุ่มสมาชิกกองทุน กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ บ้านห้วยทราย ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู นายปรีชา กิตติสัตยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมไทยจะเปิดกว้างต่อบทบาทสตรีในด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงมีการยอมรับในความเท่าเทียมกันระหว่างชาย – หญิง มากขึ้น รัฐบาลจึงสนับสนุนให้จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ และส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรีในทุกด้าน โดยมอบหมายให้ สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (สกส.) กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักขับเคลื่อนภารกิจ “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นกองทุนเพื่อให้สตรีได้เข้าถึงแหล่งทุนหรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ วงเงินสูงสุดโครงการละ 200,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี นำไปประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือพัฒนาอาชีพ โดยเริ่มต้นจากการรวมกลุ่มของสตรี บริหารจัดการด้วยสตรี สตรีมีความสุข และสตรีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับ จ.หนองบัวลำภู มีสมาชิกกองทุนในประเภทบุคคลธรรมดา จำนวน 121,834
บ้านห้วยต้ม เป็นหมู่บ้านในเขตการปกครองของตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ปัจจุบันบ้านห้วยต้มเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าปาเก่อญอ (กระเหรี่ยง) ชนเผ่าปาเก่อญอในชุมชนส่วนใหญ่นั้นจะประกอบอาชีพทางการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว แต่ไม่นิยมการเลี้ยงสัตว์ เพราะประชากรส่วนใหญ่จะไม่บริโภคเนื้อสัตว์ นอกจากอาชีพเกษตร ชนเผ่าปาเก่อญอมีอาชีพเสริมคือการทอผ้าฝ้าย การทำเครื่องเงิน การขุดศิลาแลง และ การจักสานไม้ไผ่ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูและคอยให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือพร้อมกับช่วยส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชน คือ ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดลำพูน ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงจังหวัดลำพูน เป็นหน่วยงานรัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่รับผิดชอบวิจัย และทดสอบปลูกพืชที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรพร้อมกับถ่ายทอดความรู้โดยการส่งเสริมอาชีพตลอดจนคอยเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำและเป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกร คุณพินิจ เชาว์ตระกูลเทียน อดีตหัวหน้าศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดลำพูน เล่าว่า ชนเผ่าปาเก่อญอเป็นชุมชนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน สภาพความเป็นอยู่จะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่
จากการคัดเลือกเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรดีเด่น ปี 2559 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา กลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่น ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งกล้วย หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา กลุ่มนี้ จัดตั้งเมื่อ วันที่ 10 มีนาคม 2520 สมาชิกเริ่มจัดตั้ง 22 คน สมาชิกปัจจุบัน 30 คน อาชีพหลักของสมาชิก คือการทำนา ทำสวนยางพารา ปลูกถั่วลิสง อาชีพเสริมของสมาชิกประกอบด้วยการทอผ้า ถักโครเชต์ เลี้ยงไก่ เลี้ยงจิ้งหรีด ปลูกพืชแซมสวนยาง ปลูกพืชผักสวนครัว ประธานกลุ่มชื่อ คุณเปลี่ยน ดีจิตร ที่ทำการกลุ่ม เลขที่ 89 หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา โทรศัพท์ (086) 197-2919 มีการส่งกลุ่มนี้เข้าคัดเลือกในระดับภาคเหนือตอนบนก็ได้รับการคัดเลือกรางวัลชนะเลิศ เมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมการคัดเลือกสถาบันเกษตรกรระดับประเทศได้มาประเมินผลงานของกลุ่ม เพื่อคัดเลือกผลงานเข้ารับรางวัลกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่นระดับชาติต่อไป กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นองค์กรเกษตรกรหนึ่งในความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นการรวมตัวของสตรีในภาคการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งรับและถ