ทุเรียนน้ำแร่
สวนเอกอำไพ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 132 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านค่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เริ่มสร้างสวนเมื่อราวปี 2546 โดย คุณเอกภพ และ คุณอำไพ วิญญาภาพ สองสามีภรรยา ซึ่งได้รับที่ดินจาก คุณพ่อองอาจ วิญญาภาพ นำมาพัฒนาปรับปรุงเป็นพื้นที่สวนผลไม้ ที่มีการบริหารจัดการสวนเป็นแปลงไม้ผลต่างๆ รวมถึงมีการขุดสระเก็บน้ำ เพื่อให้มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรกรรมจันทบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรลำปาง และสาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้หรือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน (เรียนรุ่นเดียวกันสาขาเดียวกันกับผู้เขียน) โดยได้พัฒนาปรับปรุงจากเดิมที่เป็นสวนส้ม นำบางส่วนมาปลูกมะนาว ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง และทุเรียนโดยคัดเลือกไม้ผลสายพันธุ์ที่สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในจังหวัดลำปาง บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ จนได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบันสวนเอกอำไพ ดำเนินกิจการโดยใช้แนวคิดท่องเที่ยวเชิงเกษตร ส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดลำปางและใกล้เคียง ส
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงยิ่ง เป็นอย่างไรกันบ้างหนอกับสภาพฟ้าฝนในช่วงนี้ เห็นว่าหลายๆ พื้นที่ต้องประสบภัยกันมากบ้างน้อยบ้างกันหลายพื้นที่เลย ผมเองแม้อยู่กรุงเทพฯ ก็ไม่เว้น คุณน้ำแวะมาเยือนให้เย็นฉ่ำสำราญเบิกบานใจถึงในบ้านเลยทีเดียว ก็ต้องปรับตัวปรับใจให้อยู่ในสภาพเช่นนี้ให้ได้ครับ ธรรมชาติคือสิ่งที่เราคาดไม่ถึงเสมอ อยู่กรุงเทพฯ เจอฝนกระหน่ำ ก็เลยเดินทางขึ้นเหนือไปหาพี่น้องเกษตรกรสักนิดดีกว่า นัดแนะกับสามทหารเสือแห่งพบพระ อันประกอบไปด้วย ผู้ใหญ่ไพเราะ ปานทิม, ผู้ใหญ่ชะลอ เอี่ยมสะอาด และ ผู้ใหญ่สงัด วินนันท์ ผู้นำหมู่บ้านและเกษตรกรที่เดินหน้าทำสวนเกษตรผสมผสาน ในสวนที่ไม่ได้ปลูกเพียงชนิดเดียวแต่มีหลากหลายพันธุ์ไม้ อะโวกาโดเป็นไม้ผลหลักที่สร้างรายได้ต่อต้นเป็นเงินหลักหมื่นถึงหลายหมื่นบาท โกโก้ที่ปลูกแซมไว้ กล้วยหอม มะละกอ กาแฟ บุกไข่ กระทั่งพืชผักสวนครัวต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงทุเรียน ซึ่งที่พบพระปลูกทุเรียนที่ได้ผลผลิตแล้วหลายพันต้น มีเรื่องกระซิบมาว่า พ่อค้าบางคนมาเหมาทุเรียนพบพระไปขายในช่วงที่ผลผลิตทางสวนเขาเองยังไม่มี อ้าว! ยังไงครับเนี่ย เราก็เลยบุกไปสวนผู้ใหญ่สงั
“กาแฟอาราบิก้า” ต้นแรกอยู่ที่ ดอยมูเซอ จังหวัดตาก นี่คือ ข้อมูลแรกที่เราได้รับ หลังจากเตรียมตัวเดินทางสำรวจเส้นทาง เพื่อนำคณะผู้สนใจศึกษาดูงานด้านการเกษตร กับสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย จากนั้นเป้าหมายแรกของการเดินทางคือ การตามหา “กาแฟต้นแรก” จากพิกัดที่เราอยู่ปลายทาง บอกว่า ระยะทางกว่า 400 กิโลเมตร จึงจะถึงเป้าหมาย นั่นหมายความว่า การเดินทางครั้งนี้ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง และก็ไปตามนั่น เพราะการเดินทางจากกรุงเทพฯ สู่กำแพงเพชร ใช้เวลากว่า 5 ชั่วโมง และจากถนนทางแยกขึ้นไปยังดอยมูเซออีก 1 ชั่วโมง บนเส้นทางลาดชันและคดเคี้ยว ในที่สุดเราก็มาถึงศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก (ดอยมูเซอ) และเยี่ยมชมแปลงทดลองวิจัยพืชเศรษฐกิจอีกหลากหลายชนิดที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่เกษตรกรเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็น อะโวกาโด แมคคาเดเมียนัท หรือ วานิลลา ที่ว่ากันว่าตอนนี้มีพื้นที่ปลูกใหญ่ที่สุดของหน่วยงานราชการ โดยการเดินทางครั้งนี้ได้พาหนะคู่ใจในการเดินทางอย่าง “ฟอร์ด เอเวอร์เรส เอสยูวี ” พันธุ์แกร่งเพื่องานเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก (ดอยมูเซอ) สังกัดกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งอยู่ร