ทุเรียนปราจีน
ทุเรียนปราจีน ชื่อนี้มีแต่ความอร่อย ทุเรียนปราจีนได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) มีจำนวน 7 สายพันธุ์ แบ่งเป็นทุเรียนพันธุ์การค้า ได้แก่ ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง และมีกลุ่มทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองอีก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ กบชายน้ำ ชมพูศรี และพันธุ์กำปั่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้กับทุเรียนปราจีน ที่ปลูกในพื้นที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ และอำเภอนาดีเท่านั้น เนื่องจากทำเลดังกล่าวมีสภาพดินเหมาะสมสำหรับเพาะปลูกทุเรียน เพราะสภาพดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินชั้นล่างเป็นหินผุและศิลาแลง ทำให้การระบายน้ำสะดวก น้ำไม่ขังในเนื้อดิน การกระจายตัวของธาตุอาหารทั่วถึง ลักษณะภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์เหมาะสมพอดีกัน เกษตรกรชาวสวนทุเรียนส่วนใหญ่ในจังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ปลูกทุเรียนไม่มาก ใช้แรงงานคนในครอบครัวเป็นหลัก มีการดูแลจัดการสวนในลักษณะเกษตรอินทรีย์ ไม่ค่อยใช้สารเคมี และแปลงผลิตส่วนใหญ่ผ่านการรับรองการผลิตตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (GAP) จา
ใครสายทุเรียนกันบ้าง? เทคโนโลยีชาวบ้านพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับสวนทุเรียนที่สามารถเดินเข้าไปเลือกได้ถึงสวน แถมผลไม้หลายหลากให้เลือกสรรแบบจัดเต็ม งานนี้ไม่ต้องไปถึงจันทบุรี มาแค่ปราจีนบุรีก็มีทุเรียนเนื้อแน่น หอม อร่อย ให้กินแล้ว “สวนทุเรียนยิ่งโอฬาร” ฉายาของสวนแห่งนี้ก็คือ สวนทุเรียนที่อุดมไปด้วยผลไม้หลายหลากชนิด หลายหลากแบบเลือกจิ้มกันถึงในสวน และเจ้าของสวนก็เข้าไปช่วยคัดให้ผู้บริโภคเองกับมือ! คุณเฉลา โพธิ์โต อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งดินสอ (อบต.) อำเภอนาดี เจ้าของสวนทุเรียนยิ่งโอฬาร บอกเล่าเรื่องราวจุดเริ่มต้นที่ทำสวนนี้ขึ้นมา ว่า เกิดเนื่องจากโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระองค์ทรงสร้างอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา ขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่มีน้ำใช้สอยอย่างเพียงพอ อีกทั้งพื้นที่ของตำบลแก่งดินสอ ยังเหมาะในการทำเกษตรกรรม จึงคิดลงมือทำบวกกับการที่คุณเฉลามองเห็นลู่ทางในการทำอาชีพใหม่ และคิดว่าควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในพื้นที่ เหตุผลของการเลือกทุเรียนมาปลูก คุณเฉลาบอกว่า ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นของขึ้นชื่อ
ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เขต 8-9 เป็นประธานในการประชุมติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามแผน การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 1 ถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต 8-9 เป็นประธานในการประชุมติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามแผน การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 1 ถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ โดยใช้ Application Zoom จากห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ในการนี้ นายวินัย ลักษณะวิลาศ เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วย นางพิมพา ดวงประชา หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ นายอรุณ เหมือนตา หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นายปรีชา สายแสง หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช และทีมงาน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อนำเสนอสรุปรายงานภาพรวมผลการดำเนินงานตามประเด็นการตรวจติดตาม ในหัวข้อส
“จิตร์นิยม” เป็นสวนออร์แกนิกที่ส่งต่อกันมาเป็นเวลายาวนานถึง 4 รุ่น และได้เป็นสวนออร์แกนิกดีเด่นระดับประเทศจากกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2556 มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรุ่นอาเหล่ากงบุกเบิกทำเป็นสวนเกษตรอินทรีย์เป็นที่แรกของอำเภอศรีมหาโพธิ จนถึงปัจจุบันที่สวนก็ยังยืนหยัดที่จะทำเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงมีการขยับขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมพื้นที่ 20 ไร่ จนถึงปัจจุบันขยายพื้นที่ไปถึง 500 ไร่ นับได้ว่าเป็นอีกสวนเกษตรผสมผสานแบบอินทรีย์ที่มากคุณค่า มากเรื่องราว และน่าค้นหาเป็นอย่างมาก คุณปิยะพัทธ์ อุดมสิน หรือ คุณซีวิล อยู่บ้านเลขที่ 29/1 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรง ในวัย 24 ปี กลับมาสืบทอดกิจการทำสวนของที่บ้าน ในรุ่นที่ 4 อาศัยความเป็นคนรุ่นใหม่มาพัฒนาสวนที่บ้านให้เจริญก้าวหน้าสืบต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ด้วยการประยุกต์เอาความคิดของคนรุ่นใหม่มาผสมกับประสบการณ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จะไม่ยึดฝั่งใดฝั่งหนึ่งเป็นที่ตั้ง แต่จะพยายามบาลานซ์ทั้งสองฝั่งให้เข้ากันระหว่างเทคโนโลยีของคนรุ่นใหม่กับปร
คุณธัญญรัตน์ ชาญยงค์ อยู่บ้านเลขที่ 127 หมู่ที่ 2 ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ได้ทำสวนทุเรียนปลูกอยู่รอบบริเวณบ้านรวมกับพันธุ์ไม้อื่นๆ เมื่อถึงหน้าฤดูกาลทุเรียนออกผลก็จะดูแลอย่างดี ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีรสชาติดี ผลผลิตได้คุณภาพ เป็นที่ต้องการของลูกค้า และเมื่อทุเรียนหมดฤดูกาลไปก็จะได้ผลผลิตจากไม้อื่นทำรายได้แทน เธอจึงมีรายได้จากพืชหลากหลายชนิดทำรายได้ตลอดทั้งปี คุณธัญญรัตน์ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เธอจำความได้ ตั้งแต่สมัยเด็กครอบครัวของเธอก็มีสวนไม้ผลอยู่รอบบริเวณบ้าน โดยเน้นเป็นทุเรียนพันธุ์โบราณเป็นหลัก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ทุเรียนเหล่านั้นตายไปจนหมดสวน ครอบครัวของเธอจึงได้หาต้นทุเรียนใหม่ๆ เข้ามาปลูกเพิ่มในพื้นที่บริเวณที่ตายไป พร้อมทั้งปลูกไม้ชนิดอื่นๆ เข้ามาแซมเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มีหลากหลายมากขึ้น “พื้นที่รอบบ้านมีเนื้อที่อยู่ประมาณ 12 ไร่ จะปลูกทุเรียนอยู่ที่ 500 ต้น โดยทำเป็นสวนแบบผสมผสาน แต่ทุเรียนเป็นผลผลิตหลักของสวน ซึ่งผลผลิตทุเรียนทำเงินรายปี พืชผักพลูกินใบเป็นรายได้รายวันและรายเดือน จึงทำให้ในแต่ละปีถึงไม่มีผลผลิตจากทุเรียน เราก็ยังมีผลผลิตชนิด
น.ส.วันเพ็ญ นิโครวนจำรัส รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ปี 2562 กรมฯ มีแผนที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ในต่างประเทศจำนวน 5 สินค้า ที่ประเทศจีน 2 สินค้า ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี และทุเรียนปราจีน และที่มาเลเซีย 3 สินค้า ได้แก่ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง และส้มโอทับทิมสยามปากพนัง เพราะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาดจีนและมาเลเซีย จากการที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย และได้ทดลองบริโภคสินค้าเหล่านี้ ทำให้รู้จักสินค้ามากขึ้น จึงต้องไปจดทะเบียนคุ้มครองไว้ก่อน เพื่อช่วยส่งเสริมสินค้าจีไอที่จะไปจำหน่ายในอนาคตและป้องกันปัญหาการละเมิดที่อาจจะเกิดขึ้น “อย่างมะพร้าวน้ำหอมราชบุรี ดังถึงขนาด มีล้งชาวจีนมารับซื้อถึงแหล่งผลิต และมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้าข้าว ที่นำไปจดในมาเลเซีย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้น จึงต้องหาทางจดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าข้าวที่เป็น GI ของไทย และยังเป็นไปตามนโยบายของน.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ต้องการให้กรมฯ จด
ทุเรียนปราจีน (Durian Prachin) หมายถีง ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุมและพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆ ที่มีเนื้อแห้ง หนา เส้นใยน้อย หวานมัน ซึ่งปลูกในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอนาดี ของจังหวัดปราจีนบุรี นายประยงค์ ภูดินทราย เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันการทำเกษตรทางด้านไม้ผลของเกษตรกรในจังหวัดปราจีนบุรีนั้น ได้มีการรวมกันเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ เพื่อช่วยในการต่อรองในเรื่องของราคาสินค้าในการทำตลาดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ทุเรียนปราจีนบุรียังได้เป็นทุเรียนปราจีน GI ที่เป็นสินค้าเฉพาะในจังหวัดปราจีนบุรี “เหตุบ่งชี้ที่ทุเรียนปราจีนGI เกิดจากลักษณะหลายๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกัน จึงทำให้ผลไม้ปราจีนบุรีมีคุณภาพดี เนื่องจากดินและปริมาณน้ำฝนมีปริมาณเหมาะสม อีกทั้งเกษตรกรดูแลแบบประณีต จึงทำให้ผลผลิตที่ออกมาสามารถสร้างราคาและมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จึงทำให้มีผลบ่งชี้เป็นเอกลักษณ์เป็นสินค้า GI” นายประยงค์ กล่าว ทั้งนี้ในด้านของการทำตลาดนั้น นายประยงค์ กล่าวว่า ทางเกษตรกรได้มีการทำตลาดโดยให้ลูกค้าได้มีส่วน
“ทุเรียนปราจีน” ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) อย่างเป็นทางการ มีผลตั้งแต่ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งการทำสวนทุเรียนของเกษตรกรในพื้นที่ ไม่ได้เน้นการทำสวนแบบจำนวนมาก โดยเกษตรกรแต่ละรายจะมีสวนทุเรียนที่สามารถดูแลกันเองได้ภายในครอบครัว จึงทำให้ผลผลิตที่ได้แต่ละปีมีการดูแลอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งมีการใส่ใจในเรื่องของการผลิตให้ได้มาตรฐาน จีเอพี (GAP) ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด คุณธัญญรัตน์ ชาญยงค์ อยู่บ้านเลขที่ 127/1 หมู่ที่ 2 ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ได้ทำสวนทุเรียนปลูกอยู่รอบบริเวณบ้านรวมกับพันธุ์ไม้อื่นๆ เมื่อถึงหน้าฤดูกาลทุเรียนออกผลก็จะดูแลอย่างดี ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีรสชาติดี ผลผลิตได้คุณภาพเป็นที่ต้องการของลูกค้า และเมื่อทุเรียนหมดฤดูกาลไปก็จะได้ผลผลิตจากไม้อื่นทำรายได้แทน เธอจึงมีรายได้จากพืชหลากหลายชนิดทำรายได้ตลอดทั้งปี คุณธัญญรัตน์ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เธอจำความได้ตั้งแต่สมัยเด็ก ครอบครัวของเธอก็มีสวนไม้ผลอยู่รอบบริเวณบ้าน โดยเน้นเป็นทุเรียนพันธุ์โบราณเป็นหลัก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่